การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิง เรื่องการเขียนผังงานโปรแกรม
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิง เรื่องการเขียนผังงาน โปรแกรม ให้มีประสิทธิภาพของบทเรียนตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน และ หลังเรียนของผู้เรียนที่เรียนจากบทเรียนอีเลิร์นนิง เรื่องการเขียนผังงานโปรแกรม 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของ ผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนอีเลิร์นนิง เรื่องการเขียนผังงานโปรแกรม ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองคือ นักศึกษาวิชาเอกวิทยาการคอมพิวเตอร์ชั้นปีที่ 1 ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ที่เรียนวิชาการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์และอัลกอริทึม รหัสวิชา 4121103 จำนวน 30 คน ได้มาโดยวิธีสุ่มแบบเจาะจง โดยทดลองเป็นรายบุคคลในปีการศึกษา 2549 เครื่องมือที่ใช้ในการ ทดลองคือ 1) บทเรียนอีเลิร์นนิง เรื่องการเขียนผังงานโปรแกรม ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น 2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียน 3) แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนอีเลิร์นนิง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อย ละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test (Dependent Samples)
ผลการทดลอง พบว่า บทเรียนอีเลิร์นนิง เรื่องการเขียนผังงานโปรแกรมที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 80.33 / 82.50 ซึ่งสอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ผู้เรียนที่เรียนด้วยบทเรียนอีเลิร์นนิง มีคะแนน เฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผู้เรียนมีความคิดเห็น เกี่ยวกับบทเรียนอีเลิร์นนิง อยู่ในระดับเห็นด้วยมาก
Abstract
This research aimed to 1) development the e-Learning lesson for program writing flowchart according to the standard criterion of 80/80, 2) study the learning achievement, and 3) study learners’ opinion about the use of the e-Learning lesson for program writing flowchart.
The sample of the study consisted of 30 students in Computer Science of Sakon Nakhon Rajabhat University who had studied in subject Computer Programming and Algorithm (code 4121103), selected by using purposive sampling technique. These learners were experimented individually in 2006 academic year. The instruments used in the research were 1)e-Learning lesson for programming flowchart developed by the researcher, 2) the learning achievement test, and 3)the expert’s e-Learning assessment device. The collected data were subsequently analyzed by using percentage, mean, standard deviation and t-test (dependent samples).
The findings of this study showed that the e-Learning lesson for programming flowchart system had the effectiveness of 80.33/82.50 which met the effectiveness standard of 80/80. The learner’s achievement indicated the posttest mean score was higher than the pretest mean score at the .05 level of significance. In addition, students had opinion on the developed e-Learning lesson for programming flowchart system at the high level.