การวิเคราะห์ผลจากการทดสอบและการออกแบบหม้อแปลงจำหน่าย เพื่อปรับปรุงให้มีความสามารถทนกระแสลัดวงจร

Main Article Content

บุญเลิศ สื่อเฉย
ธันวา บัวสุวรรณ
อดิศักดิ์ มนต์ประภัสสร

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้นำเสนอการวิเคราะห์และการประเมินผลของการออกแบบหม้อแปลงจำหน่ายเพื่อให้มีความสามารถทนกระแสลัดวงจรได้ตามที่มาตรฐานกำหนดของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA)  โดยนำผลการทดสอบของหม้อแปลงจำหน่าย ขนาด  250 kVA 3 ph 50 Hz 22000-400/230 V Dyn11 ขณะจ่ายโหลดที่พิกัดตามมาตรฐานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมาทำการคำนวณและวิเคราะห์หาอุณหภูมิของขดลวดขณะจ่ายโหลดที่พิกัด, อุณหภูมิสุดท้ายของขดลวดหลังจากการลัดวงจร, กระแสลัดวงจร, เวลาในการลัดวงจร และวิเคราะห์แรงขณะลัดวงจร   โดยผลที่ได้นี้จะถูกนำมาใช้เป็นข้อมูลอ้างอิง สำหรับการออกแบบหม้อแปลงจำหน่ายครั้งต่อไป ทำให้ผู้ออกแบบสามารถค้นหาจุดบกพร่องในการออกแบบและการเลือกใช้วัตถุดิบในการผลิต เช่น ขนาดของลวดตัวนำ, ความหนาของฉนวนและคุณสมบัติของแกนเหล็กที่ใช้นำมาใช้ในการผลิตได้อย่างเหมาะสม อันจะทำให้หม้อแปลงที่ได้ทำการวิเคราะห์ออกแบบมีประสิทธิภาพที่ดีมากยิ่งขึ้น สามารถทนกระแสลัดวงจรได้ตามที่มาตรฐานกำหนด ผลจากการประเมินวิเคราะห์และข้อมูลต่างๆ ที่ได้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลทที่จำเป็นใช้ในการวิเคราะห์ออกแบบหม้อแปลงต่อไปในอนาคตได้เป็นอย่างดี

Article Details

How to Cite
สื่อเฉย บ., บัวสุวรรณ ธ., & มนต์ประภัสสร อ. (2019). การวิเคราะห์ผลจากการทดสอบและการออกแบบหม้อแปลงจำหน่าย เพื่อปรับปรุงให้มีความสามารถทนกระแสลัดวงจร. วารสารสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์, 5(1), 32–40. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/saujournalst/article/view/200821
บท
บทความวิจัย

References

[1] Provincial Electricity Authority Thailand (PEA), Three-Phase Transformer for 22 kV and 33 kV Distribution Systems with Ability to Withstand Short Circuit, Specification No. RTRN-035/2558, 2015.

[2] IEC 60076-2, Power Transformer Part 2 : Temperature Rise, 2011.

[3] ANSI/IEEE C57.91, IEEE Guide for Loading Mineral Oil-Immersed Overhead and Pad Mounted Distribution Transformer Rated 500 kVA and Less with 65 oC or 55 oC Average Winding Rise, 1995.

[4] IEC 354, Loading Guide for Oil-Immersed Power Transformer, 2006.

[5] B. Suechoey, N. Chotiwanaporn, P. Jayasak, and C. Chompoo-inwai, “Proposition of Individual Guide for Distribution Transformer Design to Withstand Short Circuit Condition”, The 20th ICEE International Conference on Electrical Engineering, Jeju, Korea, 2014.

[6] B. Suechoey, W. Tangsrianukul, M. Leelajinda, and C. Chompoo-inwai, “Novel Techniques for Improving Short Circuit Withstand Capability of Distribution Transformer Considering Short Circuit Force and Winding Temperature”, The 21th ICEE International Conference on Electrical Engineering, The University of Hong Kong, Hong Kong, 2015.

[7] IEC 60076-5, Power Transformer Part 5: Ability to Withstand Short Circuit, 2006.

[8]ANSI/IEEE C57.12.00, American National Standard IEEE Standard General Requirements for Liquid-Immersed Distribution, Power, and Regulating Transformers, 2010.

[9] Bharat Heavy Electrical Ltd., Transformer, Tata McGrew-Hill Publishing Co. Ltd., New Delhi, 2nd Edition, 2003.