การพัฒนาเนื้อเซรามิกชนิดไฮ-อะลูมิน่า สำหรับอุตสาหกรรมไส้กรองน้ำ
DOI:
https://doi.org/10.14456/lsej.2022.18คำสำคัญ:
ไส้กรองน้ำเซรามิก, ไฮอะลูมินา, การดูดซึมน้ำบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อทดลองเนื้อเซรามิกชนิดไฮ-อะลูมินา ที่เหมาะสำหรับผลิตไส้กรองน้ำ 2) เพื่อทดลองผลิตไส้กรองน้ำจากเนื้อเซรามิกชนิดไฮ-อะลูมินาให้ได้ตามมาตรฐาน
โดยมีวิธีดำเนินการวิจัย 2 ขั้นตอนได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ทดลองเนื้อเซรามิก กลุ่มตัวอย่างคือส่วนผสมของดินขาว อะลูมินา และโดโลไมท์ จำนวน 45 ตัวอย่าง เผาอุณหภูมิอุณหภูมิ 1200 1225 1250 1275 1300 องศาเซลเซียส ขั้นตอนที่ 2 ทดลองผลิตไส้กรองน้ำจากเนื้อเซรามิก จากส่วนผสมที่มีสมบัติเหมาะสม เผาที่ 1225 องศาเซลเซียส ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าร้อยละการดูดซึมน้ำหลังการเผา สูตรที่ 7 ที่อุณหภูมิ 1200 องศาเซลเซียส มีค่าการดูดซึมน้ำมากที่สุด คือ ร้อยละ 43.88 และสูตรที่ 29
ที่อุณหภูมิ 1300 องศาเซลเซียส มีค่าการดูดซึมน้ำน้อยที่สุด คือ ร้อยละ 20.47 การหดตัวหลังการเผา สูตรที่ 29 ที่อุณหภูมิ 1300 องศาเซลเซียส มีค่าการหดตัวมากที่สุด คือ ร้อยละ 8.25 และสูตรที่ 36
ที่อุณหภูมิ 1300 องศาเซลเซียส มีค่าการหดตัวน้อยที่สุด คือ ร้อยละ 0.12 ค่าความแข็งแรงหลังการเผา สูตรที่ 29 ที่อุณหภูมิ 1300 องศาเซลเซียส มีความแข็งแรงมากที่สุด 472.54 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตรและสูตรที่ 36 ที่อุณหภูมิ 1200 องศาเซลเซียส มีความแข็งแรงน้อยที่สุด คือ 29.85 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร 2) การทดสอบประสิทธิภาพการกรองน้ำ พบว่าไส้กรองสามารถทนความดันน้ำที่ 70 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตรโดยไม่เกิดความเสียหายใด ๆ อัตราการไหลของน้ำกรองที่ความดันน้ำ 30 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตรค่าเฉลี่ย 31.52 ลิตรต่อชั่วโมง ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.42 และ
การตรวจสอบคุณภาพน้ำพบว่า ค่าความเป็นกรดด่าง 8.73 ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ทั้งหมด
141.4 มิลลิกรัมต่อลิตร ความกระด้างทั้งหมดโดยการคำนวณเป็นแคลเซียมคาร์บอเนต 75.6 มิลลิกรัมต่อลิตร ปริมาณคลอไรด์โดยคำนวณเป็นคลอรีน 16.14 มิลลิกรัมต่อลิตร ปริมาณไนเตรท โดยคำนวณเป็นไนโตรเจน 0.12 มิลลิกรัมต่อลิตร ไม่พบเหล็ก พบตะกั่วน้อยกว่า 0.01 มิลลิกรัมต่อลิตร ปริมาณ
โคลิฟอร์มแบคทีเรีย พบมากกว่า 23 หน่วยต่อ 100 มิลลิลิตร ไม่พบ E. coli ไม่พบ Salmonella spp และไม่พบ S. aureus ในน้ำตัวอย่างที่ผ่านการกรองด้วยไส้กรองน้ำเซรามิกที่เตรียมได้
References
Andrew I. Andrews. Ceramic tests and calculations. New York; Braunwonth and co., Inc; 1928.
Deutou NJG, Beda T, Biesuz M. Design and characterization of porous mullite based semi-vitrified ceramics. Ceramics International 2018;44(7):7939-7948.
Ministry of Industry. Standardized industrial product 1420-2551. 2008. Available at: http://www.fio.co.th/ web/tisi_fio/fulltext/TIS1420-2551.pdf. Accessed March 2, 2021.
Office of Food Quality and Safety, Department of medical science, ministry of public health. Manual for standard drinking water of Thailand, Nonthaburi: Agriculture and cooperative association of Thailand Ltd. 2019. Available at: http://bqsf.dmsc.moph.go.th/bqsfWeb/wp-content/uploads /2017/Publish/e-book/water_handbook.pdf. Accessed March 24, 2021.
Pattana N. Raw materials for ceramics. PibulsongKram Rajabhat Institute, 2006.
Pattana N. Ceramic bodies for traditional ceramics-pottery. Pibulsongkram Rajabhat University, 2020.
Phrompruk T. Introduction to ceramics: Bangkok, Odean Store; 1980.
Watthanasiriwet D, Watthanasiriwet S. An analysis of coating ore and defects of ceramic products. Bangkok: Chulalongkorn University Publication; 2009.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 Life Sciences and Environment Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Each article is copyrighted © by its author(s) and is published under license from the author(s).