การปรับปรุงงานซ่อมบำรุงอุปกรณ์ลำเลียงวัตถุดิบด้วยเทคนิค TRIZ

ผู้แต่ง

  • ปวริศร์ ศิริวัฒนเมธานนท์ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ, คณะวิศวกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ฤภูวัลย์ จันทรสา ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ, คณะวิศวกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา

DOI:

https://doi.org/10.55003/ETH.410201

คำสำคัญ:

อุปกรณ์ลำเลียงวัตถุดิบ, การแก้ปัญหาเชิงประดิษฐ์, การบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม, เทคนิคทำไม-ทำไม

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงอุปกรณ์ลำเลียงวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้างและสร้างมาตรฐานระบบงานการซ่อมบำรุง ด้วยการประยุกต์หลักการแก้ปัญหาเชิงประดิษฐ์ ขั้นตอนการวิจัยประกอบด้วย 1) ศึกษาระบบการซ่อมบำรุงอุปกรณ์ลำเลียงวัตถุดิบของบริษัทกรณีศึกษา 2) เก็บรวบรวมข้อมูลและจัดลำดับความสำคัญของปัญหาด้วยแผนภูมิพาเรโต 3) ตั้งเป้าหมาย 4) วิเคราะห์สาเหตุของปัญหาด้วยเทคนิคทำไม-ทำไม และหลักการ 3 จริง 5) สรุปผลการวิจัย ผลจากการศึกษาในปีพ.ศ. 2565 พบปัญหาที่ตะแกรงสำหรับกรองวัตถุดิบและฐานเครื่องสั่นตะแกรง โดยมีความถี่ในการซ่อมสูงถึง 28 ครั้ง สาเหตุของปัญหา ได้แก่ รูปแบบตะแกรงและตำแหน่งการติดตั้งเครื่องสั่นไม่เหมาะสม รวมทั้งความเลินเล่อของพนักงานในการปิดเครื่องสั่นหลังใช้งาน งานวิจัยนี้ได้แก้ไขปัญหาโดยประยุกต์การแก้ปัญหาเชิงประดิษฐ์เพื่อเป็นแนวทางออกแบบตะแกรงใหม่ และประยุกต์การบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วมในการกำหนดมาตรฐานงานซ่อมบำรุง ผลการปรับปรุงพบว่าความถี่ในการซ่อมบำรุงตะแกรงในช่วงเดือนพฤษภาคม-พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 ลดลงเหลือ 3 ครั้ง คิดเป็น 6 ครั้งต่อปีโดยประมาณ สำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ต่ำกว่า 14 ครั้งต่อปี โดยค่าระยะเวลาเฉลี่ยระหว่างการชำรุดสูงขึ้นจากเดิม 171.67 ชั่วโมง เป็น 1,055.91 ชั่วโมง และค่าระยะเวลาเฉลี่ยในการซ่อมบำรุงลดลงจากเดิม 3.04 ชั่วโมง เป็น 2.55 ชั่วโมง จากงานวิจัยนี้จะเห็นได้ว่าหลักการแก้ปัญหาเชิงประดิษฐ์สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงอุปกรณ์ลำเลียงวัตถุดิบ โดยสามารถลดความถี่ในการซ่อมบำรุงได้อย่างมีนัยสำคัญ

References

N. Tongna, “Outlook for the Thai and global economy in 2023,” nectec.or.th. https://www.nectec.or.th/news/news-article/economy-industry.html. (accessed: Dec. 1, 2023)

R. Chantrasa, C. Phontri and V. Louangsinsiri, “Integration of value engineering and theory of inventive problem solving (TRIZ) for increasing the value of industrial products: case study of air-conditioner,” Engineering and Applied Science Research, vol. 43, no. S2, pp. 254–258, 2016.

K. Ploypanichcharoen, “Methods for Solve Quality Problem,” in Principles of Quality Control, Bangkok, Thailand: TPA, 2007, ch. 9, sec. 9.2, pp. 271–278.

R. Kanjanapanyakom, “Methods Analysis,” in Industrial Work Study, Bangkok, Thailand: Top Publishing Co., Ltd., 2007, ch. 7, sec. 2.3, pp. 78–84.

S. Kanitha, “Applying 5G principles to human improvement,” TPA news, vol. 192, pp. 49–50, 2012.

S. Nakajima, “TPM – Challenging Limits,” in Introduction to Total Productive Maintenance, , Portland, OR, USA: Productivity Press, 1988, ch. 2, sec. 3, pp. 10–12.

P. Sangameshwran and R. Jagannathan, “HLL’s manufacturing renaissance,” Indian Management, vol. 14, no. 11, pp. 30–35, 2002.

S. D. Savransky, “Resolution of Technical (Pair) Congradictions,” in Engineering of creativity: introduction to Triz methodology of inventive problem solving, Baca Raton, USA: CRC, 2000, ch. 13, sec. 13.2, pp. 199–204.

M. Sasananan, “TRIZ,” in Product Design for Creative Innovation and Reverse Engineering, Bangkok, Thailand: TUP, 2007, ch. 6, sec. 6.3, pp. 147–167.

S. Butdee and C. Trakunsaranakom, “QFDE Combined with TRIZ Framework to Formulate and Respond to Functional Design for a High Temperature Machine (HTM),” Applied Science and Engineering Progress, vol. 3, no. 4, pp. 77–84, 2013.

S. Sae-jiw, “Defective reduction due to scratch in integrated circuit manufacturing process,” M.S. thesis, Dept. Industrial. Eng., Chulalongkorn Univ., Bangkok, Thailand, 2011.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-24

How to Cite

[1]
ศิริวัฒนเมธานนท์ ป. . และ จันทรสา ฤ. ., “การปรับปรุงงานซ่อมบำรุงอุปกรณ์ลำเลียงวัตถุดิบด้วยเทคนิค TRIZ”, Eng. & Technol. Horiz., ปี 41, ฉบับที่ 2, น. 410201, มิ.ย. 2024.