ปัจจัยที่ใช้ในการประเมินความยั่งยืนของการก่อสร้างอาคารของผู้รับเหมาที่ส่งผลกระทบต่อความได้เปรียบในการแข่งขัน
คำสำคัญ:
ปัจจัย, ความยั่งยืน, การก่อสร้างอาคาร, ผู้รับเหมา, ความได้เปรียบในการแข่งขันบทคัดย่อ
ในยุคโลกาภิวัฒน์การก่อสร้างเป็นหนึ่งอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดผลกระทบทางลบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม เพื่อลดผลกระทบที่เกิดขึ้น ผู้รับเหมาจึงต้องพัฒนาการก่อสร้างอย่างยั่งยืนเพื่อความอยู่รอดทางเศรษฐกิจขององค์กร และในปัจจุบันองค์กรจะอยู่รอดได้ต้องอาศัยการปรับตัวเพื่อตอบรับต่อการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ในอนาคต ดังนั้นผู้รับเหมาจึงจำเป็นจะต้องมองหาข้อได้เปรียบเพื่อเพิ่มโอกาสในการชนะการประกวดราคา แต่จากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ยังไม่พบงานวิจัยที่แสดงให้เห็นถึงโครงสร้างปัจจัยที่ใช้ประเมินความยั่งยืนของการก่อสร้างอาคารของผู้รับเหมาที่ส่งผลกระทบต่อความได้เปรียบในการแข่งขัน ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาโครงสร้างของปัจจัยดังกล่าว โดยใช้การวิจัยเชิงสํารวจด้วยแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนเชิงกลยุทธ์ให้กับผู้รับเหมาเกี่ยวกับระดับความสําคัญของปัจจัยที่ใช้ประเมินความยั่งยืนของการก่อสร้างอาคารของผู้รับเหมาที่ส่งผลกระทบต่อความได้เปรียบในการแข่งขัน แล้วนําข้อมูลที่ได้มาทําการวิเคราะห์ ดังนี้ (1) ทดสอบโครงสร้างปัจจัย (2) หาระดับความมีอิทธิพลของปัจจัยที่ใช้ประเมินความยั่งยืนของการก่อสร้างอาคารของผู้รับเหมาที่มีผลกระทบต่อความได้เปรียบในการแข่งขัน ผลการวิเคราะห์พบว่าโครงสร้างปัจจัยสามารถแบ่งได้เป็น 4 กลุ่มปัจจัยหลักพร้อมน้ำหนักความสำคัญ ดังนี้ “บุคลากรและการพัฒนาการก่อสร้างและชุมชนโดยรอบ” (28.38%), “สุขภาพและความปลอดภัยในการก่อสร้าง” (24.32%), “คุณธรรมและจริยธรรม” (24.32%) และ “การจัดการการก่อสร้างและสิ่งแวดล้อม” (22.98%) ซึ่งโครงสร้างปัจจัยนี้ส่งผลต่อความได้เปรียบในการแข่งขันเรียงตามน้ำหนักความสำคัญดังนี้ “ความสามารถทางการตลาด” (18.51%), “ประสิทธิภาพและความมั่นคงทางการเงิน” (17.87%), “ความสามารถในการจัดการโครงการ” (17.87%), “การจัดการเชิงกลยุทธ์” (17.24%), “เทคโนโลยีและนวัตกรรม” (14.89%) และ “การเสนอราคา” (13.62%) โดยโครงสร้างของปัจจัยที่ใช้ประเมินความยั่งยืนของการก่อสร้างอาคารของผู้รับเหมาส่งผลกระทบต่อความได้เปรียบในการแข่งขันเท่ากับ 0.89 ผลการวิจัยนี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการประเมินความยั่งยืนของการก่อสร้างอาคารของผู้รับเหมาแล้วนำไปสู่ความได้เปรียบในการแข่งขันขององค์กรผู้รับเหมาได้มากยิ่งขึ้น
References
H. Pham and S. Y. Kim, “The effects of sustainable practices and managers’ leadership competences on sustainability performance of construction firms,” Sustainable Production and Consumption, Vol.20, pp.1-14, 2019.
S. W. Whang and S. Kim, “Balanced sustainable implementation in the construction industry: The perspective of Korean contractors,” Energy and Buildings, Vol.96, pp.76-85, 2015.
C. O. Cruz, P. Gaspar and J. Brito, “On the concept of sustainable sustainability: An application to the Portuguese construction sector,” Journal of Building Engineering, Vol.25, 2019.
M. Yilmaz and A. Bakis, “Sustainability in Construction Sector,” Procedia – Social and Behavioral Sciences, Vol.195, pp.2253-2262, 2015.
S. Norkhum and J. Pongpeng, “Factors for Evaluating Ethics of Subcontractors and Suppliers based on Organizational Structure: A view from Contractors,” The 16th National Convention on Civil Engineering, Engineering Institute of Thailand, Thailand, pp.1-10, 2011.
R. Pusamlee and J. Pongpeng, “Evaluating ethics of contractors: a view from owners,” The 13th National Convention on Civil Engineering, Engineering Institute of Thailand, Thailand, pp.1-6, 2008.
Y. Tan and L.-Y. Shen, “A fuzzy approach for assessing contractors’ competitiveness,” Engineering, Construction and Architectural Management, Vol.18, No.3, pp.234-247, 2011.
K. Samee and J. Pongpeng, “Structural Equation Model for Construction Equipment Selection and Contractor Competitive Advantages,” KSCE Journal of Civil Engineering, Vol.20, No.1, pp.77-89, 2016.
F. Orozco, A. Serpell and K. Molenarr,“Competitiveness factors and indexes for construction companies: findings of Chile,” Revista de la Construcción, Vol.10, No.1, pp.91-107, 2011.
Nurisra, N. Malahayati and Mahmuddin, “The main factor affecting the competitiveness of Contractor Company,” The 7th AIC-ICMR on Sciences and Engineering, Article ID 352, pp.012034, 2018.
S. Prasith-rathsint, “Social science research methodology,” 12thed., Fueang Fa Printing, Thailand, 2003.
SPSS Training. SPSS Training Series. IT Services, Queensland University of Technology, 2001.
E. Babbie, The Practice of Social Research, 5th ed., Wadsworth Publishing, Belmont, CA, 1989.
T. Silpcharu, Research and statistical data analysis by SPSS and AMOS, 13thed., S.R. Printing Mas Product, Thailand, 2012.
G. Rangsungnoen, Factor analysis by SPSS and Amos for research, Se-Education, Thailand, 2011.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และคณาจารย์ท่านอื่นๆในสถาบันฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว