อิทธิพลของปัจจัยที่มีผลต่อการป้องกันไม้ยางพาราด้วยวิธีการ แบบเต็มเซลล์
คำสำคัญ:
ไม้ยางพารา, กระบวนการแบบเต็มเซลล์, สารละลายไดโซเดียมออคตาบอเรตเตตระไฮเดรท, การรักษาเนื้อไม้บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการซึมลึกและการเกาะตัวของสารละลาย Disodium Octaborate Tetra hydrate ในกระบวนการรักษาไม้ยางพาราแบบเต็มเซลล์ ทำการศึกษาโดย คงความดันสุญญากาศที่ 0.2 บาร์ เปลี่ยนแปลงเวลาในการรักษาระดับความดันสุญญากาศเริ่มต้นต่อเวลาในการรักษาระดับความดันเป็น 0/60, 10/50 และ 20/40 (นาที/นาที) และเปลี่ยนแปลงระดับความดันเป็น 8, 10 และ 12 บาร์ พบว่า ที่ความดัน 10 บาร์และสภาวะเวลา 0/60 (นาที/นาที) ปริมาณโบรอนในเนื้อไม้และความเข้มข้นของโบรอนในแกนกลางเนื้อไม้มีค่าสูงสุดคือ 1.11 %BAE (boric acid equivalent) และ 14.82 ppm ตามลำดับ ซึ่งมีค่ามากกว่าค่าความเข้มข้นของโบรอนที่แกนกลางเนื้อไม้ที่ผ่านการทดสอบด้วยสีและได้รับการยอมรับว่าไม้ผ่านเกณฑ์ของบริษัทเอกชนซึ่งมีค่าเพียง 1.982 ppm แต่เมื่อเวลาเปลี่ยนแปลงจาก 0/60 เป็น 10/50 และ 20/40(นาที/นาที) ปริมาณและความเข้มข้นของโบรอนจะมีค่าลดลง และเมื่อความดันเพิ่มขึ้นจาก 8 บาร์เป็น 10 บาร์ ปริมาณและความเข้มข้นของโบรอนจะมีค่าเพิ่มขึ้น แต่เมื่อความดันเพิ่มขึ้นจาก 10 บาร์เป็น 12 บาร์ พบว่าปริมาณและความเข้มข้นของโบรอนมีแนวโน้มลดลง
References
[2] UM.Abeysinghe and HS.Amarasekera, “Pressure and non- pressure preservation methods for rubber wood treatment by Boron preservatives,” Proc Int for Environ Symp, 16, 2011.
[3] TK.Dhamodaran, “Preservative Treatment and Chemical Modification of Rubber wood,” Kerala Forest Research Institute, 1996.
[4] O.Sulaiman, “The effect of relative humidity on the physical and mechanical properties of oil palm trunk and rubberwood,” Cellul Chem Technol. 2012, 46(5), 401–7.
[5] ASTM International, “ASTM D4442 – 92 (2003), Standard Test Methods for Direct Moisture Content Measurement of Wood and Wood-Base Materials,” 1992.
[6] Bureau of Indian Standards, “IS 2753-1 (1991): Methods for estimation of preservatives in treated timber and in treating solutions, Part 1: Determination of copper, arsenic, chromium, zinc, boron, creosote and fuel oil,” CED 9, Timber and
Timber Stores, 1991.
[7] Ministry of Industry Thailand, "TIS industrial standards, 1894-2009," 2009.
[8] American Wood Preservers’ Association, “AWPAA7, Standard for wet ashing procedures for preparing wood for chemical analysis,” 2012.
[9] American Wood Preservers’ Association, “AWPAA11: Standard Method for Analysis of Treated Wood and Treating Solutions by Atomic Absorption Spectroscopy,”1983.
[10] J.D. MacLean, “Preservative pressure. In: preservative treatment of wood by pressure methods,” Agriculture handbook No40. U.S. Govt. print. Off., 1953.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และคณาจารย์ท่านอื่นๆในสถาบันฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว