การวิเคราะห์ข้อมูลพลังงานลมในเขตพื้นที่จังหวัดหนองคาย

ผู้แต่ง

  • สุภชัย พลน้ำเที่ยง
  • เกียรติฟ้า ตั้งใจจิต

คำสำคัญ:

พลังงานลม, จังหวัดหนองคาย, ไวบูลล์ฟังก์ชั่น

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาถึงศักยภาพพลังงานลมเฉพาะพื้นที่ในบริเวณสถานีวัดความเร็วลมภายในมหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตจังหวัดหนองคาย โดยเสาวัดลมที่มีความสูง 120 เมตรจากระดับพื้นดิน จากนั้นทำการติดตั้งอุปกรณ์วัดความเร็วและทิศทางของลมที่ระดับความสูง 60, 90 และ 120 เมตรและยังมีการติดตั้งอุปกรณ์วัดความชื้น ความดัน และอุณหภูมิที่เสาวัดลมอีกด้วย ข้อมูลลมทุกๆ 10 นาทีจะถูกบันทึกที่กล่องบันทึกข้อมูล (Data Logger) เป็นเวลาติดต่อกัน 4 ปี คือ เริ่มตั้งแต่ เดือนมกราคม 2012 ถึง เดือนธันวาคม 2015 ข้อมูลลมที่ได้จะนำมาวิเคราะห์ในเชิงสถิติเป็น รายปี รายเดือน และรายวัน โดยใช้การกระจายตัวแบบไวบูลล์ (Weibull Distribution Function)  ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ความเร็วลมเฉลี่ยทั้งปีที่ระดับความสูง 60, 90 และ 120 เมตรเหนือพื้นดิน คือ 2.84, 3.41 และ 3.96 เมตรต่อวินาที ตามลำดับ ทิศทางลมส่วนใหญ่พัดมาจากทางทิศตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงเวลากลางคืนความเร็วลมจะสูงกว่าในช่วงของเวลากลางวัน  shape และ scale parameter เฉลี่ยที่ตำแหน่งนี้มีค่าอยู่ในช่วง 1.67 ถึง 1.82 และ 3.19 ถึง 4.43 เมตรต่อวินาที ตามลำดับ กำลังลม (Power Density, ) มีค่าตั้งแต่ 36, 55 และ 98 วัตต์ต่อตารางเมตรที่ความสูง 60, 90 และ 120 เมตรตามลำดับ ข้อมูลลมที่ได้จากการศึกษาในครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นความเร็วที่ค่อนข้างต่ำ ไม่เหมาะสมกับการติดตั้งกังหันลมขนาดใหญ่เพื่อการผลิตกระแสไฟฟ้าในเชิงพาณิชย์ แต่อาจจะนำไปประยุกต์ควบคู่กับการใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์เพื่อใช้ในด้านการเกษตร เช่น การทำกังหันลมขนาดเล็กเพื่อการสูบน้ำ เป็นต้น

References

[1] Statistical Review of World Energy [online]. Available: https://www.bp.com. 2017.
[2] Global wind power by country [online]. Available: http://en.wikipedia.org/wiki/wind_power_by_country. 2017.
[3] Z.R. Shu, Q.S. Li and P.W. Chan, “Statistical analysis of wind characteristics and wind energy potential in Hong Kong,” Energy Conversion and Management, Vol.101, pp.644-657, 2015.
[4] Myung Eun Lee et al, “Assessment of offshore wind energy at Younggwang in Korea,” Renewable and Sustainable Energy Reviews, Vol.21, pp. 131-141, 2013.
[5] Laerte de Araojo Lima et al. “Wind resource evaluation in SJC Paraba-Brazil,” Renewable and Sustainable Energy Reviews, Vol.16, pp.474-480, 2012.
[6] Wind turbine installation at Phuket [online]. Available: http://www.egat.co.th. 2017.
[7] Wind turbine installation at Lumtakong [online].Available:http://www.egat.co.th.2017
[8] Wind power in Thailand [online]. Available: https://en.wikipedia/wiki/Wind_power_in__Thailand. 2017.
[9] Thailand Power Development Plan [online]. Available: http:// energy.go.th/2015. 2017.
[10] NRG system [online].Available: http://nrgsystem.com. 2017.
[11] Giovanni Gualtieri et al. “Method of extrapolation to the turbine hub height base on power law: A 1-h wind speed vs Weibull distribution extrapolation comparison,” Renewable Energy,Vol.43, pp.183-200, 2012.
[12] Wikanda Sridech et al. “Statistical error in the assessment of annual energy yields of wind turbine,” Conference of the Mechanical Engineering Network of Thailand., ETM-031024, 2009.
[13] Wind Plot [online]. Available: https://www.weblakes.com. 2017.
[14] Jompop Waewsak,“Wind Energy Technology [Book]”, pp. 99, 2015.
[15] Akraphon Janon et al. “An investigation of the Low Performance of the First Wind Farm in Thailand: a case of poor Wind Turbine-Site Matching,” Advanced Materials Research, Vol.724, pp469-475, 2013.
[16] Pham Quan et al. “Assessment of wind energy potential for selecting wind turbine: An application to Thailand,” Sustainable Enegy Technologies and Assessments, Vol.11, pp.17-26, 2015.
[17] Tanate Chaichana and Sumpan Chaitep. “Wind power potential and characteristic analysis of Chiang Mai Thailand,” Journal of Mechanical Science and Technology, Vol.24, pp.1475-1479, 2010.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-22

How to Cite

[1]
พลน้ำเที่ยง ส. . . และ ตั้งใจจิต เ. ., “การวิเคราะห์ข้อมูลพลังงานลมในเขตพื้นที่จังหวัดหนองคาย”, Eng. & Technol. Horiz., ปี 34, ฉบับที่ 2, น. 29–36, มิ.ย. 2020.