ระบบปลูกพืชแบบไร้ดินที่ใช้ปั๊มพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับหมุนเวียนสารละลายธาตุอาหาร
คำสำคัญ:
ปั๊มพลังงานแสงอาทิตย์, ประสิทธิภาพชั่วขณะ, ประสิทธิภาพรายวัน, เซลล์แสงอาทิตย์, การปลูกพืชไร้ดินบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีความมุ่งหมายในการพัฒนาและทดสอบระบบปลูกพืชแบบไร้ดินซึ่งใช้ปั๊มพลังงานแสงอาทิตย์เป็นอุปกรณ์หมุนเวียนสารละลายธาตุอาหาร โดยได้เลือกปลูกผักกาดกวางตุ้ง การทดสอบระบบปลูกพืชไร้ดินใช้วัสดุปลูก 2 ชนิด (ฟองน้ำและใยบวบ) และเก็บข้อมูลความสูงของต้นพืชในทุกๆ สัปดาห์เป็นเวลา 3 สัปดาห์รวมถึงเก็บข้อมูลน้ำหนักของต้นพืชที่อายุ 3 สัปดาห์ แผงเซลล์แสงอาทิตย์ขนาด 40 วัตต์ได้ถูกเชื่อมต่อเข้ากับปั๊มเพื่อใช้ในการหมุนเวียนสารละลายธาตุอาหาร จากข้อมูลการเจริญเติบโตของพืช พบว่า ชนิดของวัสดุปลูกส่งผลกระทบต่อทั้งความสูงและน้ำหนักของต้นพืช จากการทดสอบประสิทธิภาพของเซลล์แสงอาทิตย์ พบว่า เซลล์แสงอาทิตย์มีประสิทธิภาพชั่วขณะอยู่ในช่วง 8.42 – 10.19 % และมีประสิทธิภาพรายวันเท่ากับ 9.13 % เมื่อความเข้มแสงอาทิตย์ตลอดวันอยู่ในช่วง 680 – 923 วัตต์ต่อตารางเมตร
References
[2] R. Visutthipat, S. Sinsawat, S. Singtho, and P. Photisawat, Soilless Culture, Thailand Institute of Scientific and Technological Research (TISTR) Training Handbook, Bangkok, 2005.
[3] A. Tanakanya and A. Pinthong, A solar powered non-circulating-solution hydroponics set, Institute of Research and Development, Rajamangala University of Technology Tanyaburi, Pathum Thani, 2010.
[4] ENGINEO, Windmill & solar hybrid system for water pump. Available at: URL: http://www.engineo.co.th/The%20solution/solution%2015/solution%2015%20hybrid%20system%20for%20water%20pump.html. Accessed on June 30, 2015.
[5] C.W. Sinton, R. Butler, and R. Winnett, Guide to solar powered water pumping systems in New York state, New York State Energy Research and Development Authority (NYSERDA), New York, n.d.
[6] K. Stokes, P. Saito and C. Hjelle, Photovoltaic Power as a Utility Service: Guidelines for Livestock Water Pumping, Sandia National Laboratories Report SAND93-7043. 1993.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และคณาจารย์ท่านอื่นๆในสถาบันฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว