อิทธิพลของลวดตาข่ายสแตนเลสต่อประสิทธิภาพเชิงความร้อนของเตาแก๊สหุงต้ม แบบ Vertical port

ผู้แต่ง

  • อนิรุตต์ มัทธุจักร
  • บงกช บุญเพ็ชร
  • อมรพันธุ์ แสงส่อง
  • วีรยุทธ จันทะโยทา

คำสำคัญ:

ตาข่ายสแตนเลส,, ประสิทธิภาพเชิงความร้อน,, เตาแก๊สแบบ Vertical port,, การปลดปล่อยมลพิษ.

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพเชิงความร้อนของเตาแก๊สหุงต้มที่ใช้ในครัวเรือนแบบ Vertical port ที่มีปริมาณการใช้แก๊สแอลพีจี (Liquefied Petroleum Gas, LPG) สูงสุดไม่เกิน 5.78 Kw ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรม มอก.2312-2549 โดยทำศึกษาอิทธิพลของขนาดของวัสดุพรุนที่ทำมาจากลวดตาข่ายสแตนเลสบนหัวเตาต่อประสิทธิภาพเชิงความร้อน โดยการทดสอบต้มน้ำตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก. 2312-2549 และทำการตรวจวัดมลพิษที่เกิดจากเผาไหม้ นอกจากนี้ยังศึกษาอิทธิพลของ Firing rate และขนาดของภาชนะต่อประสิทธิภาพเชิงความร้อนอีกด้วย จากการทดลองพบว่า ลวดตาข่าย สแตนเลสขนาด 16 mpi เป็นขนาดที่มีความเหมาะสมที่สุดที่ทำให้ประสิทธิภาพเชิงความร้อนสูงที่สุด และเมื่อ Firing rate เพิ่มสูงขึ้น ประสิทธิภาพเชิงความร้อนจะมีค่าต่ำลง อย่างไรก็ตาม ประสิทธิภาพเชิงความร้อนจะมีค่าสูงขึ้นเมื่อภาชนะมีขนาดใหญ่ขึ้น โดยประสิทธิภาพเชิงความร้อนสูงสุดเกิดขึ้นจากลวดตาข่ายสแตนเลสขนาด 16 mpi Firing rate เท่ากับ 0.89 และหม้อขนาด 32 cm ซึ่งให้ค่าประสิทธิภาพเชิงความร้อนสูงสุดถึงร้อยละ 77.06 และมีการปลดปล่อย CO และ NOx สูงสุดไม่เกิน 600 ppm และ 80 ppm ตามลำดับ ในทุกกรณี

References

[1] Energy Policy and Planning Office, Energy, Energy Database, Available online, http://www.eppo.go.th/, 2014.
[2] Dong, L.L., Cheung, C.S. and Leung, C.W, “Heat Transfer from an Impinging Premixed Butane/Air Slot Flame Jets,” International Journal of Heat and Mass Transfer, Vol.45, pp.972-992, 2002.
[3] Jugjai, S. and Sanijai, S, “Parametric Studies of Thermal Efficiency in a Proposed Porous Radiant Recirculated Burner (PRRB) : A Design Concept for the Future Burner”, Proceedings of RERIC International Energy Journal, Vol.18, pp.97- 111, 1996.
[4] Nutthawut Rungsimuntuchat, "Application of Porous Medium for Energy Saving in Gas Cooker," Dissertation Master of Engineering degree in Mechanical Engineering, Faculty of Engineering, King Mongkuts University of Technology Thonburi, Bangkok (Thailand), 2011.
[5] Industrial Standards (Thai Industrial Standard, TIS) TIS. 2312-2549, “Household cooking stoves using liquefied petroleum gas,” Vol.126, (episode 40).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-19

How to Cite

[1]
มัทธุจักร อ. . ., บุญเพ็ชร บ. . ., แสงส่อง อ. ., และ จันทะโยทา ว. . ., “อิทธิพลของลวดตาข่ายสแตนเลสต่อประสิทธิภาพเชิงความร้อนของเตาแก๊สหุงต้ม แบบ Vertical port”, Eng. & Technol. Horiz., ปี 33, ฉบับที่ 1, น. 24–29, มิ.ย. 2020.