การตรวจสอบกราฟน้ำนองสูงสุดที่ออกแบบอาคารน้ำล้น และกราฟปฏิบัติการน้ำนองสำหรับเขื่อนเก็บกักน้ำอุบลรัตน์
คำสำคัญ:
กราฟน้ำนองสูงสุด, กราฟปฏิบัติการน้ำนอง, เขื่อนเก็บกักน้ำอุบลรัตน์บทคัดย่อ
เขื่อนอุบลรัตน์ เป็นเขื่อนเก็บกักน้ำที่สร้างปิดกั้นลำน้ำพอง ก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ.2509 และมีการปรับปรุงเนื่องจากอุทกภัยครั้งใหญ่แล้วเสร็จในปี พ.ศ.2530 จากข้อจำกัดของสถิติข้อมูลอุตุนิยมวิทยาและอุทกวิทยาที่ใช้ศึกษาในอดีต และเขื่อนได้มีการก่อสร้างมาเป็นเวลานานกว่า 50 ปี ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงปัจจัยต่างๆที่ใช้ในการออกแบบกราฟน้ำนองสูงสุด เช่นการใช้ประโยชน์ที่ดินและสภาพภูมิอากาศ มีการเปลี่ยนแปลงไป จึงควรทำการศึกษาเพื่อตรวจสอบกราฟน้ำนองสูงสุดที่ออกแบบอาคารน้ำล้นและกราฟปฏิบัติการน้ำนองของเขื่อนเก็บกักน้ำอุบลรัตน์ ซึ่งผลการศึกษาการเคลื่อนตัวของน้ำหลากผ่านทางระบายน้ำล้นที่คาบความถี่ของการเกิดต่างๆ โดยใช้ระดับน้ำสูงสุดในอ่างอยู่ที่ +183.50 เมตร (รทก.) ซึ่งเป็นระดับคันกั้นน้ำ อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู และเป็นจุดที่ได้รับผลกระทบจากปริมาณน้ำในเขื่อนเก็บกักน้ำอุบลรัตน์โดยตรง จากการศึกษาพบว่าเขื่อนเก็บกักน้ำอุบลรัตน์ มีความสามารถในการรองรับปริมาณน้ำนองสูงสุดที่ไหลผ่านเขื่อนได้ที่คาบความถี่ของการเกิด 2-200 ปี สำหรับปริมาณน้ำหลากที่คาบความถี่ของการเกิด 500-10,000 ปี เมื่อกำหนดเงื่อนไขระดับน้ำเริ่มต้นที่สันอาคารระบายน้ำล้นที่ระดับ +182.00 เมตร (รทก.) และปล่อยน้ำเมื่อระดับน้ำเกินกว่า +182.00 เมตร (รทก.) พบว่าปริมาณน้ำนองสูงสุดที่ไหลเข้าเขื่อนเก็บกักน้ำอุบลรัตน์ทำให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเพิ่มสูงเกินระดับเก็บกักสูงสุดของเขื่อน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องกำหนดให้ที่คาบความถี่ของการเกิด 500 ปี พร่องน้ำในช่วงฤดูน้ำหลาก อยู่ที่ระดับ +180.50 เมตร(รทก.) และควบคุมการเปิดประตูระบายน้ำ ด้วยอัตราส่วนความสูงการเปิดประตูต่อความสูงน้ำเหนือระดับเก็บกักปกติ (d/Dh) ซึ่งหมายถึงความสัมพันธ์ระหว่างระดับน้ำในอ่างเก็บน้ำที่อยู่เหนือทางระบายน้ำล้น เทียบกับ ความสูงในการเปิดประตูน้ำเพื่อระบายน้ำให้ทันในช่วงเวลาที่มีคลื่นน้ำท่วมไหลเข้าสู่อ่างเก็บน้ำ ที่ระดับ +180.50 ถึง +183.50 เมตร(รทก.) เท่ากับ 4 ที่คาบความถี่ของการเกิด 1,000 ปี พร่องน้ำในช่วงฤดูน้ำหลาก อยู่ที่ระดับ +180.00 เมตร (รทก.) ปล่อยน้ำเมื่อระดับน้ำเกินกว่า +181.50 เมตร (รทก.) และควบคุมการเปิดประตูระบายน้ำ (Spillway) ที่ระดับ +180.00 ถึง +183.50 เมตร (รทก.) ด้วยอัตราส่วน d/Dh เท่ากับ 5 และที่คาบความถี่ของการเกิด 10,000 ปี พร่องน้ำในช่วงฤดูน้ำหลาก อยู่ที่ระดับ +177.00 เมตร (รทก.) ปล่อยน้ำเมื่อระดับน้ำเกินกว่า +180.50 เมตร (รทก.) และควบคุมการเปิดประตูระบาย(Spillway) ที่ระดับ +177.00 ถึง +183.50 เมตร (รทก.) ด้วยอัตราส่วน d/Dh เท่ากับ 2และเพิ่มการติดตั้ง Barrier 1.20 เมตรเพื่อให้สามารถรองรับปริมาณน้ำหลากที่ไหลผ่านเขื่อนอุบลรัตน์ได้อย่างปลอดภัย
References
N. Marjang, Investigation of spillway design flood hydrographs and flood operation rule curve for Sirikit storage dam, M. Eng. Thesis, Kasetsart University. Bangkok. Graduate School, 1999.
T. Jaitrong, Flood. Forecasting in Ubol Ratana Reservoir by Artificial Neural Network for Flood Management, M. Eng. Thesis, Kasetsart University. Bangkok. Graduate School, 2005.
V. Taesombut, Hydrology, Department of water resources engineering Kasetsartuniversity, Bangkok, 1985.
V. Taesombut, Applied Hydrology, Department of water resources engineering Kasetsart university, Bangkok, 1988.
Royal Irrigation Department, Rainfall Intensity-Duration-Frequency curve and Distribution of maximum rainfall for 24 hours the north east of Thailand, Office of water management and Hydrology royal irrigation department, Bangkok, 2001.
Royal Irrigation Department, Unit hydrograph of river basin in Thailand, Hydrology division Office of water management and hydrology Royal irrigation department, Bangkok, 2009.
T. H. Illangasekare, Synthetic unit hydrograph for regions with inadequate hydrologic data., M. Eng. Thesis, Asian Institution of Thailand., 1974.
C. Komsatra, Flood hydrograph from small watershed., M. Eng. Thesis, Asian Institution of Thailand, 1969.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และคณาจารย์ท่านอื่นๆในสถาบันฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว