การลดเวลาสูญเสียในกระบวนการผลิตปั๊มขึ้นรูปชิ้นส่วนยานยนต์ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ทำไม-ทำไม: กรณีศึกษา
DOI:
https://doi.org/10.55003/ETH.410308คำสำคัญ:
เวลาสูญเสีย, ประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร, เทคนิคการวิเคราะห์ทำไม-ทำไม, โรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดเวลาสูญเสียจากการหยุดเดินเครื่องจักร และเพิ่มประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร กระบวนการผลิตปั๊มขึ้นรูปชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องปั๊มขึ้นรูป 800 ตัน โรงงานกรณีศึกษา ข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์มาจากการบันทึกค่าประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักรด้วยโปรแกรมที่ถูกพัฒนาขึ้นชื่อโปรแกรม Thingworx และทำการเก็บข้อมูลการปฏิบัติงานของพนักงาน ตั้งแต่เดือนตุลาคม ถึง เดือนธันวาคม 2565 จากการศึกษาพบว่าค่าประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักรมีค่าต่ำกว่าค่าเป้าหมายที่โรงงานกำหนดไว้ ปัญหาส่วนใหญ่เกิดขึ้นระหว่างกิจกรรมการเปลี่ยนแม่พิมพ์ และพบว่ามีความสูญเปล่าคือการการทำงานซ้ำซ้อน และการรอคอย สาเหตุที่เป็นปัจจัยหลักมาจากการใช้เวลานานและการหยุดเครื่องจักรในระหว่างการเปลี่ยนรุ่นแม่พิมพ์ ปัญหาการมีเศษเหล็กติดอยู่ที่เครื่องจักร และปัญหาการซ่อมแม่พิมพ์ในระหว่างการนำมาใช้ในกระบวนการปั๊มขั้นรูป สำหรับการลดความสูญเปล่าในกระบวนการ ทำการประยุกต์ใช้เทคนิคการวิเคราะห์ทำไม-ทำไม และเครื่องมือของลีน เช่น การลดเวลาการติดตั้งเครื่องจักร (SMED) การควบคุมด้วยสายตา และการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดเวลาในขั้นตอนที่ไม่เกิดมูลค่า ผลที่ได้จากงานวิจัยพบว่าเวลาที่ใช้ในการเปลี่ยนแม่พิมพ์เฉลี่ยลดลงจากเดิม 8:77 นาที เป็น 4:10 นาที หรือลดลง 53.26% เวลาที่ใช้ในการขจัดเศษเหล็กเฉลี่ยลดลงจากเดิม 4:72 นาที เป็น 0:81 นาที หรือลดลง 82.76% และเวลาที่ใช้ในการซ่อมแม่พิมพ์จากเดิม 1,404 นาที เป็น 448 นาที หรือลดลง 68.09% ส่งผลทำให้ลดเวลาสูญเสียจากการหยุดเดินเครื่องจักร จากเดิมร้อยละ 55.85 เป็นร้อยละ 65.65 คิดเป็นร้อยละที่เพิ่มขึ้นเท่ากับ 9.8 และสามารถลดค่าใช้จ่ายเนื่องจากการหยุดกระบวนการผลิตลงได้ 298,025 บาท/เดือน
References
C. Anderson and M. Bellgran, “On the complexity of using performance measures: Enhancing sustained production improvement capability by combining OEE and productivity,” Journal of Manufacturing System, vol. 35, pp. 144–154, 2014, doi: 10.1016/j.jmsy.2014.12.003.
P. Pornnoppadol, “Strategy in Increasing Overall Efficiency for The Can Making Industry,” M.E. Thesis, Dept Industrial Eng., Chulalongkorn Univ., Bangkok, Thailand, 1998.
K. Kidmai, “A Loss of Fin Welding Process by Using the Analysis of Overall Equipment Effective Technique: A Case Study of Moto Frame Manufacturing,” M.E. Thesis, Dept. Industrial Eng., Rajamangala Univ. Technology Thanyaburi, Pathum Thani, Thailand, 2013.
T. Ratanawilai and V. Srisuk, “Improvement of Overall Equipment Effectiveness on the Process of Wood Plank Packaging,” Naresuan University Journal: Science and Technology, vol. 23, no. 1, pp. 133–141, 2015.
K. Chumpolwong and S. Siripattarasophon, “Application of Lean Manufacturing to Reduce the Production Cost of Collagen Powder,” Jornal of Education Innovation and Research, vol. 2, no. 1, pp. 27–36, 2018.
K. Dopanya, “Reduced Bottle-Filling Machine Setup Time Waste Using Single-Minute Exchange of Die (SMED): A Case Study of a Fish Sauce Plant,” Jornal of Professional Routine to Research, vol. 11, no. 1, pp. 29–39, 2024.
A. Vatcharanurak, “An Application of Lean System to Garment Manufacturing: Polo Shirt Production Line,” M.E. Thesis, Dept Textile Engineering, Rajamangala Univ. Technology Thanyaburi., Pathum Thani, Thailand, 2009.
K. Vittaya “Improvement of Support Table to Reduce Loss in Changeover Machine: A Case Study of Tenneco Automotive,” B.E. Project, Dept. Engineering, Thai-Nichi Institute of Technology, Bangkok, Thailand, 2018.
B. Ulutas, “An Application of SMED Mrthodology,” Journal of Mechanical,Aerospace, Mechatronic and Manufacturing, vol. 5, no. 7, pp. 1194–1197, 2011.
J. Rodd, “Pareto’s law of income distribution, or the 80/20 rule,” Internation of Journal of Nonprofit and Voluntary Sector Maketing, vol. 1, no. 1, pp. 77–89, 1996, doi: 10.1002/nvsm.6090010111.
S. Charoenprasit, C. Onkhet and K. Leecharoensuk, “Reduction of Machine Setup Time in the Packing Size Changing Process,” Jornal of Business and Industrial Development, vol. 2, no. 2, pp. 32–45, 2022, doi: 10.14416/j.bid.2022.07.003.
J. Intano, “Waste Reduction in Condition Improvement Process Using Lean Techniques,” M.E. Thesis, Dept. of Logistic Engineering and Supply Chain Management, Chiang Mai Univ., Chiang Mai, Thailand, 2022.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และคณาจารย์ท่านอื่นๆในสถาบันฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว