การทดสอบฟิล์มกรองแสงติดรถยนต์แบบสองชั้นเพื่อกันความร้อน

ผู้แต่ง

  • พีระธเนศ ซึงเกิดพงษ์ธนัน สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, เอกเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • ภูมิ เจือศิริภักดี สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, เอกเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • สิทธิชัย รัชยศโยธิน สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, เอกเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

ฟิล์มกรองแสง, ฟิล์มกันความร้อน, ฟิล์มกระจกรถยนต์, การต้านทานความร้อน, การนำความร้อน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ได้ศึกษาการต้านทานความร้อนของฟิล์มกรองแสง โดยการซ้อนทับฟิล์มในรูปแบบผิวสองชั้น เพื่อประเมินสมรรถนะเชิงอุณหภาพของฟิล์มกรองแสงชนิดต่าง ๆ ทั้งหมดสามชนิด ได้แก่ ฟิล์มกรองแสงเซรามิค ฟิล์มกรองแสงคาร์บอน และฟิล์มกรองแสงย้อมสี ถึงแม้ว่าฟิล์มกรองแสงชั้นเดียวชนิดเซรามิคจะมีคุณสมบัติการต้านทานการนำความร้อนที่ดีแต่ราคาที่สูง จึงได้ทำการทดสอบแผ่นฟิล์มกรองแสงเกรดที่มีคุณสมบัติต่ำกว่า ราคาที่ถูกกว่า โดยทำการนำแผ่นฟิล์มกรองแสงมาติดซ้อนทับกับสองชั้น แผ่นฟิล์มกรองแสงที่นำมาทดสอบติดทับซ้อนกันสองชั้น มี 2 ชนิด  คือ ฟิล์มกรองแสงคาร์บอนและฟิล์มกรองแสงย้อมสี การทดสอบในครั้งนี้ได้ทำการซ้อนทับฟิล์มระหว่างกันเพื่อให้ได้ค่าความเข้มแสงสว่างอัตรา 38 Lux และ 114 Lux โดยมีค่าแสงส่องผ่าน 5% และ 20% ซึ่งพบว่าแผ่นฟิล์มกรองแสงติดทับกันสองชั้นโดยฟิล์มชั้นบนค่าแสงส่องผ่าน 35% ติดซ้อนทับด้วยฟิล์มค่าแสงส่องผ่าน 20% สามารถเพิ่มการต้านทานความร้อนได้ดีกว่าแผ่นฟิล์มกรองแสงชั้นบนค่าแสงส่องผ่าน 20% ติดซ้อนทับด้วยฟิล์มค่าแสงส่องผ่าน 35% คิดเป็น 4.24% และเมื่อพิจารณาค่าสัมพัทธ์ต้นทุนต่ออัตราการต้านทานการนำความร้อน ในกรณีฟิล์มย้อมสีติดทับซ้อนฟิล์มย้อมสีที่มีค่าการต้านทานความร้อน 9.4°C/W มีอัตราการต้านทานการนำความร้อนต่อต้นทุนน้อยที่สุดที่ 533 บาทต่อหน่วยพื้นที่ต่อค่าความต้านการนำความร้อน ทั้งนี้ผลของลำดับการซ้อนทับกันยังมีผลต่อการต้านทานการนำความร้อน โดยเมื่อชั้นบนเป็นฟิล์มย้อมสีจะสามารถป้องกันความร้อนได้ดีกว่าหากแผ่นฟิล์มชั้นบนเป็นฟิล์มคาร์บอน นอกจากนี้ยังพบว่าการซ้อนทับฟิล์มกรองแสงสองชั้นข้างต้นมีค่าความต้านทานการนำความร้อนมากกว่าชนิดฟิล์มเซรามิคที่มีค่าแสงส่องผ่าน 5% และ 20% อีกด้วย

References

International Window Film Association (IWFA). “About Window Film.” IWFA.com. https://www.iwfa.com/about-window-film (accessed: Sep. 26, 2022).

Thai Window Film. “Knowledge of optical film.” thaiwindowfilm.com. https://www.thaiwindowfilm.com (accessed: Sep. 26, 2022).

K. Wiriyaprasat, “Car Heat Reduction FilmTest.” chaladsue.com. https://chaladsue.com/article/2606 (accessed Sep. 26, 2022).

T. Bunnag, R. Suwanmani and R. Sananaa, “Heat transfer and light transmission through polycarbonate corrucated and double layer reflective aluminium,” Suthiparithat Journal, vol. 19 no. 57, pp. 94–108, 2005.

C. -Y. Tseng, Y. -A. Yan and J. C. Leong, “Thermal Accumulation in a General Car Cabin Model,” Journal of Fluid Flow, Heat and Mass Transfer, vol. 1, pp. 48–56, 2014, doi: 10.11159/jffhmt.2014.008.

T. Kiawpan, “Study of Thermal Performance of Various Heat Protection Films for Vehicles,” M.E thesis, Dept. Energy Management Technology, King Mongkut’s University of Technology Thonburi, Bangkok, Thailand, 2014.

T. Bunnag, “A Study of Heat and Light transmission through Windows of Building,” Faculty of Engineering, Dhurakijpundit University, Bangkok, Thailand, Final Rep., 2004.

EDL Co., Ltd. “Basic film parameters/properties you should know.” kontrast.in.th. https://kontrast.in.th/technology/parameter (accessed Sep. 26, 2022)

T. Srisilpsophon, “Influence of Solar Filter Film on Mean Radiant Temperature and Heat Transfer Phenomenon in Vehicle Cabin,” Ph.D. Thesis, Dept. Thermal Tech., King Mongkut’s Univ. of Tech. Thonburi, Bangkok, Thailand, 2006.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-29

How to Cite

[1]
ซึงเกิดพงษ์ธนัน พ. ., เจือศิริภักดี ภ. ., และ รัชยศโยธิน ส., “การทดสอบฟิล์มกรองแสงติดรถยนต์แบบสองชั้นเพื่อกันความร้อน”, Eng. & Technol. Horiz., ปี 40, ฉบับที่ 2, น. 53–64, มิ.ย. 2023.