การจัดการสินค้าคงคลังน้ำเกลือโดยใช้เทคนิคการพยากรณ์ในโรงพยาบาลกรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • นิติพัฒน์ เหล่ามงคลชัยศรี งานนโยบายและแผน, คณะแพทยศาสตร์, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • ปาลิดา สุทธิชี วิชาเอกการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน, คณะวิทยาการจัดการ, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • นิกร ศิริวงศ์ไพศาล สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการและการผลิต, คณะวิศวกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • เปญจมาภรณ์ อภิรมย์รักษ์ ฝ่ายเภสัชกรรม, คณะแพทยศาสตร์, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • ภาสุรี แสงศุภวานิช สาขาวิชากุมารเวชศาสตร์, คณะแพทยศาสตร์, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คำสำคัญ:

การจัดการสินค้าคงคลัง, น้ำเกลือ, การวิเคราะห์ ABC, การพยากรณ์แบบช่วงเวลา, โรงพยาบาล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการระบบคงคลังของน้ำเกลือในโรงพยาบาลให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยลดปัญหาการจัดเก็บ และควบคุมน้ำเกลือคงคลังให้เหมาะสมกับปริมาณความต้องการใช้ของผู้ป่วย ขั้นแรก ทำการจัดกลุ่มน้ำกลือทั้งหมดในคลังน้ำเกลือตามมูลค่าการสั่งซื้อ โดยใช้เทคนิค ABC ซึ่งกลุ่มลำดับความสำคัญ A คิดเป็นร้อยละ 59.92 ของมูลค่าน้ำเกลือรวมทั้งหมด ขั้นที่สอง ทำการพยากรณ์ความต้องการของน้ำเกลือของกลุ่มความสำคัญ A ด้วยวิธีการพยากรณ์แบบค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ การพยากรณ์แบบค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบถ่วงน้ำหนัก และการพยากรณ์แบบปรับเรียบแบบเอกซ์โพเนนเชียล โดยใช้ค่าเฉลี่ยของกําลังสองของความคลาดเคลื่อนในการเปรียบเทียบผลจากการพยากรณ์ในแต่ละวิธี ซึ่งวิธีการพยากรณ์แบบปรับเรียบแบบเอกซ์โพเนนเชียล เป็นวิธีการที่เหมาะสมที่สุด ขั้นที่สาม ทำการวิเคราะห์หาปริมาณน้ำเกลือคงคลัง โดยเลือกใช้การทดสอบการแจกแจงทางสถิติของข้อมูลด้วยวิธีการโคไมโกรอฟ-สเมอร์นอฟ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ซึ่งพบว่าข้อมูลมีการแจกแจงแบบปกติ และเพื่อป้องกันปัญหาที่จะทำให้เกิดการสูญเสียโอกาสที่น้ำเกลือจะไม่เพียงพอต่อความต้องการจึงกำหนดค่าระดับการให้บริการอยู่ที่ร้อยละ 99 ขั้นสุดท้าย ทำการเปรียบเทียบการสั่งซื้อน้ำเกลือในรูปแบบใหม่ โดยการสั่งซื้อน้ำเกลือตามปริมาณการใช้งาน พบว่า ประหยัดต้นทุนในการสั่งซื้อน้ำเกลือมากกว่าต้นทุนการสั่งซื้อน้ำเกลือแบบเดิม จำนวน 73,026.48 บาทต่อเดือน คิดเป็นร้อยละ 8.84

References

B. Jarupong, B. Wijai, B. Nuanpan, S. Panadda and T. Pojjana, “Saline Inventory Management with Simulation Techniques” ASEAN Journal of Scientific and Technological Reports, vol. 24, no. 2, pp. 58–69, 2021.

Medical Record Section, Songklanagarind hospital,. 2022. [Online]. Available: http://medinfo2.psu.ac.th/medrec/index.php

Hospital Logistics, Mahidol University, Nakhon Pathom, Thailand, 2016, pp. 2–25.

S. Tanit, “Werehouse & Inventory Management,” in Warehouse & Distribution Management, Bangkok, Thailand: V-Serve Logistics, 2009, ch. 1, sec. 4, pp. 20–26.

C. Chaiyos, and C. Mayookapan, “Inventory Management,” in Supply Chain and Marketing Channel Management, Bangkok, Thailand: DKtoday, 2014, ch. 16, sec. 1, pp. 364–392.

N. Chayayam, “ABC Analysis,” sc2.kku.ac.th. http://sc2.kku.ac.th/stat/statweb/images/Eventpic/60/Seminar/02_15_.pdf. (Accessed: Nov. 14, 2021)

Inventory Management with ABC analyser (1.0), Warut Boonphakdee, (Accessed: Nov.20, 2021) [Online].Available:https://www.mathworks.com/matlabcentral/fileexchange/72939-inventory-management–with-abc-analyser,MATLAB Central FileExchange

W. Cuhanpet,“The Layout Design of Finished Goods in Warehouse by ABC Analysis Case Study of AAA CompanyLimited,” M.S. Independent Study, Dept. Logistics and supply chain, Sripatum University, Bangkok, Thailand, 2019. [Online]. Available: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5863

R. Handanhal, and M. B. Ram, “ABC analysis for inventory management Bridging the gap between research and classroom,” American Journal of Business Education, vol. 7, no. 3, pp. 257–264, 2014, 10.19030/ajbe.v7i3.8635.

N. Punthanakoraphat and C. Mongkalig, “Improvement of an Agricultural Products Packaging Warehouse,” Industrial Technology Lampang Rajabhat University Journal, vol.9, no.1, pp. 22–32, 2016.

T. James, and D. S. Jerry, “Stock Location Management and Inventory Control,” in The Warehouse Management Handbook, 2nd ed., Raleigh, NC, USA: Tompkins press, 1998, ch. 34, pp. 823–848.

J. R. Stock and D. M. Lambert, “Warehousing,” in Strategic Logistics Management, 4th ed., New York, NY, USA: McGraw-Hill,2001, ch. 10, sec. 4, pp. 70–89.

W. Nittaya, “Opimal fabric inventory management for textile industry,” M.S. Thesis, Dept. Industrial Engineering and Management, Silpakorn Univ., Bangkok, Thailand, 2013.

S. Napasorn, “Inventory management for producing and distributing factory of frozen products,” M.S. Thesis, Dept Industrial Development., Thammasat Univ., Bangkok, Thailand, 2017.

I. Jurado, J. M. Maestre, P. Velarde, C. Ocampo-Martinezc, I. Fernández, B. Isla Tejera and J. R. del Prado, “Stock management in hospital pharmacy using chance-constrained model predictive control,” Computers in Biology and Medicine, vol. 72, pp. 248–255, 2016, doi:10.1016/j.compbiomed.2015.11.011.

C. Eksoz, A. Mansouri and M. Bourlakis, “Collaborative forecasting in the food supply chain: A conceptual framework,” International Journal of Production Economics, vol. 158, pp. 120–135, 2014, doi: 10.1016/j.ijpe.2014.07.031.

L. C. Coelho and G. Laporte, “An optimised target-level inventory replenishment policy for vendor-managed inventory systems,” International Journal of Production Research, vol. 53, no. 12, pp. 3651–3660, 2015, doi: 10.1080/00207543.2014.986299.

B. L. Bowerman, R. T. O’ Connell and A. B. Koehler, “Exponential Smoothing,” in Forecasting, Time series, and Regression: An Applied Approach, 4th ed. Belmont, CA, USA: Thomson Brooks, 2005, ch. 8, pp. 391–392.

O. Thunyathorn, “Forecasting and inventory planning to reduce the problem of delayed shipment:a case study of lens manufacturer,” M.S. Thesis, Dept. Industrial Development, Thammasat Univ., Bangkok, Thailand, 2017.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-04

How to Cite

[1]
เหล่ามงคลชัยศรี น. ., สุทธิชี ป. ., ศิริวงศ์ไพศาล น. ., อภิรมย์รักษ์ เ. ., และ แสงศุภวานิช ภ. ., “การจัดการสินค้าคงคลังน้ำเกลือโดยใช้เทคนิคการพยากรณ์ในโรงพยาบาลกรณีศึกษา”, Eng. & Technol. Horiz., ปี 40, ฉบับที่ 3, น. 400303, ก.ย. 2023.