ปัจจัยที่ส่งผลต่อความก้าวร้าวในการแข่งขันของผู้รับเหมาขนาดเล็กและขนาดกลางที่ก่อสร้างบ้านพักอาศัยในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ศตพร วัฒนาวัตถุ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • แหลมทอง เหล่าคงถาวร

คำสำคัญ:

ปัจจัย, ความก้าวร้าวในการแข่งขัน, การก่อสร้างบ้านพักอาศัย, องค์ประกอบเชิงยืนยัน

บทคัดย่อ

                   ในปัจจุบันนี้การก่อสร้างเป็นหนึ่งอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบทางสังคม เศรษฐกิจและอีกหลากหลายด้าน มีบริษัทรับเหมาก่อสร้างมากมายที่ต้องยุติกิจการ เนื่องจากไม่มีความรู้มากพอในการจัดการจากสถานการณ์ต่างๆ โดยเฉพาะในบริษัทขนาดเล็กและขนาดกลาง ความก้าวร้าวในการแข่งขันเป็นหนึ่งในสิ่งที่ต้องคำนึงถึงโดยมาจากคุณลักษณะของความเป็นผู้ประกอบการ ผู้รับเหมาจึงจำเป็นจะต้องมีเพื่อเพิ่มโอกาสในการประสบความสำเร็จ จากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ยังไม่พบงานวิจัยที่กล่าวถึงปัจจัยที่ส่งผลความก้าวร้าวในการแข่งขันของผู้รับเหมาขนาดเล็กและขนาดกลางที่ก่อสร้างบ้านพักอาศัยในกรุงเทพมหานคร ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยดังกล่าว โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพด้วยแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวกับการบริหารบริษัทรับเหมาก่อสร้างบ้านพักอาศัยถึงระดับความสำคัญของแต่ละปัจจัยที่ส่งผลต่อความก้าวร้าวในการแข่งขันของผู้รับเหมาขนาดเล็กและขนาดกลางที่ก่อสร้างบ้านพักอาศัยในกรุงเทพมหานคร ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์โดยทำการทดสอบโครงสร้างปัจจัย โดยโครงสร้างปัจจัยสามารถแบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม ดังนี้ ด้านการจัดการกลยุทธ์และวิสัยทัศน์, ด้านการแข่งขัน,  ด้านความสัมพันธ์กับลูกค้า, และ การจัดการวัตถุดิบและการใช้เครื่องจักร จากผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยหลักที่มีน้ำหนักความสำคัญมากที่สุดคือ ด้านการแข่งขัน (35.33%), ด้านการจัดการกลยุทธ์และวิสัยทัศน์ (26.50%) และ ด้านการจัดการวัตถุดิบและการใช้เครื่องจักร (19.56%) ตามลำดับ

References

U. Abdullahi., S.U. Kunya and S.A. Bustanman, “Impact of Competitive Aggressiveness on

Performance of Small and Medium Construction Firms in Nigeria”, FUTY Journal of the Environment, Vol.13, No.1, pp.65-74, 2019.

G.T. Lumpkin and G.G. Dess, “Clarifying the entrepreneurial construct and linking it to performance”, The Academy of Management Review, Vol. 21, No. 1, pp.135-172, 1996.

G.T. Lumpkin and G.G. Dess, “Linking Two Dimensions of Entrepreneurial Orientation to Firm performance: The moderating role of environment and industry life cycle”, Journal of Business Venturing, Vol. 16, No. 5, pp.429-451, 2001.

S. Vij and H.S. Bedi., “Relationship between Entrepreneurial Orientation and Business Performance”, The IUP Journal of Business Strategy, Vol. 9, No. 3, pp.17-31, 2012.

A. Rahman, M. Civelek and L. Kozubíková, “Proactiveness, Competitive Aggressiveness and Autonomy: A Comparative Study from the Czech Republic”, Quarterly Journal of Economics and Economic Policy, Vol.11, No.3, pp.631-650, 2016.

A. Ključnikov, J. Belás, L Smrčka, “The Role Of Risk-Taking And Competitive Aggressiveness In Management Of Smes”, Polish Journal of Management Studies, Vol.14, No.1, 2016.

H. Setiawan, B. Erdogan and S. O. Ogunlana, “Competitive aggressiveness of contractors: A study of Indonesia”, Procedia Engineering, Vol.125, pp.68-74, 2015.

W. Chokpromanan, “The affect entrepreneur characteristic on business success of store entrepreneur in Don Wai floating market, Nakhon Pathom province”, 2014.

B. M. Linyiru, R. P. Ketyenya, “Influence Of Competitive Aggressiveness On Performance Of State Corporations In Kenya”, International Journal of Entrepreneurship, Vol.2, No.1, pp.1-14, 2017.

Aroyeun, F. Taiwo, Adefulu, D. Adesoga , Asikhia, and U. Olalekan, “Effect of Competitive Aggressiveness on Competitive Advantage of Selected Small and Medium Scale Enterprises in Ogun State, Nigeria”, European Journal of Business and Management, Vol.10, No.35, pp.124-135, 2018.

S. Muhonen, “The Profitability of Competitive Aggressiveness: The Moderating Effect of Industry-Related and Organizational Factors”, Aalto University School of Business, 2017.

T. Leekulpitak, “The Components of Corporate Entrepreneurship of Rubber-Wood Businesses in Thailand”, Christian University of Thailand, 2017.

T. Yamane, “Statistic: An Introductory Analysis”, 2nd ed., New York:Harper and Row, 1967.

SPSS Training, “SPSS Training Series. IT Services”, Queensland University of Technology, 2001.

T. Silpcharu, “Research and statistical data analysis by SPSS and AMOS”, 13thed., S.R. Printing Mas Product, Thailand, 2012.

G. Rangsungnoen, “Factor analysis by SPSS and Amos for research”, Se-Education, Thailand, 2011.

J. Jr. Deegan, “On the Occurrence of Standardized Regression Coefficients Greater Than One”, Educational and Psychological Measurement, Vol.38, No. 4, pp.873-888, 1978.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-24

How to Cite

[1]
วัฒนาวัตถุ ศ. และ เหล่าคงถาวร แ., “ปัจจัยที่ส่งผลต่อความก้าวร้าวในการแข่งขันของผู้รับเหมาขนาดเล็กและขนาดกลางที่ก่อสร้างบ้านพักอาศัยในกรุงเทพมหานคร”, Eng. & Technol. Horiz., ปี 38, ฉบับที่ 1, น. 34–43, มี.ค. 2021.