อิทธิพลของการเติมน้ำและการสูบน้ำในชั้นหินอุ้มน้ำที่ไม่เป็นเนื้อเดียวกันและไม่เท่ากันทุกทิศทางต่อการไหลของน้ำบาดาลใน 2 มิติ
คำสำคัญ:
การไหลของน้ำบาดาล, ความไม่เป็นเนื้อเดียวกัน, ความไม่เท่ากันทุกทิศทาง, การเติมน้ำบาดาล, การสูบน้ำบาดาลบทคัดย่อ
อิทธิพลจากการเติมน้ำและการสูบน้ำในชั้นหินอุ้มน้ำ ส่งผลโดยตรงต่อปริมาณและทิศทางการไหลของน้ำบาดาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากชั้นหินอุ้มน้ำมีความไม่เป็นเนื้อเดียวกันและมีความไม่เท่ากันทุกทิศทาง บทความนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะแสดงถึงแบบจำลองที่พิจารณาถึงอิทธิพลเหล่านี้ว่าเป็นตัวแปรสำคัญที่ไม่อาจละเลยได้ วิธีการวิจัยจะพิจารณาถึงเหตุการณ์ใน 4 รูปแบบ ได้แก่ 1) เหตุการณ์ที่ชั้นหินอุ้มน้ำมีลักษณะเป็นเนื้อเดียวกันและเท่ากันทุกทิศทาง 2) เหตุการณ์ที่ชั้นหินอุ้มน้ำไม่มีความเป็นเนื้อเดียวกัน แต่เท่ากันทุกทิศทาง 3) เหตุการณ์ที่ชั้นหินอุ้มน้ำมีความเป็นเนื้อเดียวกัน แต่ไม่เท่ากันทุกทิศทาง และ 4) เหตุการณ์ที่ชั้นหินอุ้มน้ำไม่มีความเป็นเนื้อเดียวกันและไม่เท่ากันทุกทิศทาง โดยทุกเหตุการณ์มีกรณีที่จะได้รับการเติมน้ำและการสูบน้ำออกจากแบบจำลองในปริมาณที่เท่ากันและกรณีที่ไม่มีได้การเติมน้ำหรือการสูบน้ำจากแบบจำลอง ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าแบบจำลองที่มีความเป็นเนื้อเดียวกันและเท่ากันทุกทิศทางจะมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านปริมาณและทิศทางการไหลของน้ำบาดาลมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับรูปแบบอื่น
References
C.W. Beckwith, A.J. Baird and A.L. Heathwaite, “Anisotropy and Depth-Related Heterogeneity of Hydraulic Conductivity in a Bog Peat. II: Modelling the Effects on Groundwater Flow,” Hydrology Process, Vol.17, pp.103-113, 2003.
V.A. Zlotnik, M.B. Cardenas and D. Toundykov, “Effects of Multiscale Anisotropy on Basin and Hyporheic Groundwater Flow,” Ground Water, Vol.49, pp.576-583, 2011.
G.E. Fogg, “Groundwater Flow and Sand Body Interconnectedness in a Thick, Multiple-Aquifer System,” Water Resource Research, Vol.22, pp.679-694, 1986.
Department of Groundwater Resources, Thailand, “Groundwater Situation, Thailand: 2015 Quarter 1,” Department of Groundwater Resources, Thailand, Bangkok, 2015.
Ministry of Natural Resources and Environment, “Criteria and Measure Definition of the Public Health and Poison Protection,” In the Government Gazette, Vol.125, No.85, 2009.
H. Mohammadzadeh, M.A. Dadgar and H. Nassery, “Prediction of the Effect of Water Supplying from Shirindare Dam on the Bojnourd Aquifer using MODFLOW-2000,” Water Resources, Vol.44, No. 2, pp.216–225, 2017. doi.org/10.1134/s009780781702004x
P. Saraphirom, W. Wirojanagud and K. Srisuk, “Potential Impact of Climate Change on Area Affected by Waterlogging and Saline Groundwater and Ecohydrology Management in Northeast Thailand,” Environment Asia, Vol.7, No.1, pp.104–111, 2014. doi.org/10.14456/ea.201 0.32
K.S. Voudouris, “Groundwater Balance and Safe Yield of the Coastal Aquifer System in NEastern Korinthia, Greece,” Applied Geography, Vol.26, No.3–4, pp.291–311, 2006. doi.org/10.1016/j.apg eog.2006.04.001
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และคณาจารย์ท่านอื่นๆในสถาบันฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว