การปรับปรุงระบบช่องเดินรถสลับทิศทาง ถนนเพชรบุรี
คำสำคัญ:
วิธีช่วงเวลาตายตัว, ระบบช่องเดินรถสลับทิศทาง, แบบจำลองสภาพจราจรระดับจุลภาคบทคัดย่อ
บทความนี้นำเสนอการปรับปรุงช่องเดินรถสลับทิศทางของถนนเพชรบุรี ช่วงตั้งแต่แยกมิตรสัมพันธ์ จนถึง แยกอโศก-เพชรบุรี ซึ่งมีการใช้งานช่องเดินรถสลับทิศทางประมาณ 280 เมตร เนื่องจากในปัจจุบัน การใช้งานช่องเดินรถสลับทิศทางบริเวณพื้นที่ศึกษานี้ ได้รับการควบคุมใช้งานโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร ซึ่งขาดความรู้ความเข้าใจในการใช้งาน ส่งผลให้ช่องเดินรถสลับทิศทางใช้งานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ โดยงานวิจัยนี้จะทำการใช้วิธีช่วงเวลาตายตัวในการเลือกทิศทางที่ได้รับสิทธิในการใช้งานช่องเดินรถสลับทิศทาง และทำการเปรียบเทียบโดยผลก่อนและหลังปรับปรุงจากแบบจำลองสภาพการจราจรระดับจุลภาคด้วยโปรแกรม VISSIM ซึ่งผลจากการเปรียบเทียบพบว่า เมื่อมีการปรับปรุงตามวิธีช่วงเวลาตายตัวแล้วนั้น ปริมาณจราจรที่ผ่านได้ของทิศทางที่ได้รับสิทธิใช้งานช่องเดินรถสลับทิศทางมีปริมาณที่สูงขึ้นในช่วงเวลาเร่งด่วนเช้า ในช่วงเวลา 7:15 – 8:15 น. เพิ่มจาก 2,772 pcu เป็น 3,130 pcu คิดเป็นร้อยละ 12.91 จากปริมาณจราจรที่ผ่านได้ก่อนปรับปรุง และในช่วงเวลา 8:15 – 9:15 น. เพิ่มจาก 2,700 pcu เป็น 2,788 pcu คิดเป็นร้อยละ 3.26 จากปริมาณจราจรที่ผ่านได้ก่อนปรับปรุง
References
[2] Institute of Transportation engineers, “A Toolbox for Alleviating Traffic Congestion” , pp. 49, 1989.
[3] B. Wolshon and L. Lambert, “Reversible Lane systems: Synthesis of Practice”, Journal of Transportation Engineering–ASCE, Vol.132, Issue 12, pp.933-944, December, 2006.
[4] TRB of the National Academies., “Convertible Roadways and Lanes”, NCHRP Synthesis 340, pp.40, 2004.
[5] F. DeRose, “Reversible Center-Lane Traffic System Directional and Left-Turn Usage,” Highway Research Record 151, Highway Research Board, National Research Council, Washington, D.C., pp. 1-17., 1966.
[6] Y. Liu, X. Wang, X. Liang, “Conversion Mechanism of Reversible Lane System under Urban Tidal Flow Condition”, ICCTP 2011, pp. 1030-1041, 2011.
[7] R. Dowling, A. Skabardonis, V. Alexiadis, “Traffic Analysis Toolbox Volume III: Guidelines for Applying Traffic Microsimulation Software”, Federal Highway Administration, pp. 1-132, 2004.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และคณาจารย์ท่านอื่นๆในสถาบันฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว