อิทธิพลของแมนเดรลเหลวต่อการลดพื้นที่หน้าตัด ความเค้นดึงและความหนาในกระบวนการดึงขึ้นรูปท่อทองแดง

ผู้แต่ง

  • ทัพพ์ศมน ดุสิตโศภิตวงศ์
  • สมชัย นรเศรษฐ์โศภน

คำสำคัญ:

การดึงขึ้นรูปท่อ,, ท่อทองแดง,, แมนเดรลเหลว,, การลดพื้นที่หน้าตัด,, ความเค้นดึง

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอการศึกษาอิทธิพลของแมนเดรลเหลวที่ส่งผลกระทบต่อการลดลงของพื้นที่หน้าตัด ความหนาและความเค้นดึงของท่อในกระบวนการดึงขึ้นรูปท่อทองแดง ได้ทำการทดลองโดยใช้ท่อทองแดงตามมาตรฐาน JIS C12200 ที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางและความหนาของท่อ 15.88 มิลลิเมตร และ 1.12 มิลลิเมตร ตามลำดับ โดยของเหลวที่บรรจุไว้ภายในท่อทองแดงเพื่อทำหน้าที่เป็นแมนเดรล คือ น้ำสะอาด และ น้ำมันเครื่องเกรด SAE 20W40 จนเต็ม จากนั้นทำการดึงขึ้นรูปผ่านแม่พิมพ์ที่มีขนาดครึ่งมุมแม่พิมพ์เท่ากับ 15 องศา เพื่อลดขนาดพื้นที่หน้าตัดลงร้อยละ 20, 35 และ50 โดยศึกษาที่อัตราเร็วในการดึงขึ้นรูปเท่ากับ 5 และ 30 มิลลิเมตรต่อนาที พบว่าชนิดของแมนเดรลเหลวส่งผลต่อการลดขนาดของพื้นที่หน้าตัด ความหนาของท่อและความเค้นดึง และยังขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของแมนเดรลเหลวและอัตราเร็วที่ใช้ในการดึงขึ้นรูปด้วย

References

[1]William F.Hosford and Robert M. Caddell, “Metal Forming Mechanics and Metallurgy,” PTR Inc, 1993.
[2]S.Kalpakjian and R.Schmid, “Manufacturing Process for Engineering Materials,” Pearson Inc, 2003.
[3] T.Altan, S.OH and H.Gegel, “Metal Forming Fundamentals and Applications,” American Society for Metals, Metal Park, OH 44073, 1983.
[4] K.Yoshida, Y.Onitsuka and S.Yamashita, “Fabrication of High Quality Fine Medical Tubes by Fluid Mandrel Drawing,” Journal of Solid Mechanicals and Materials Engineering, Vol.3, pp.1348-1355, 2009.
[5] T.Tangsri, S.Norasethasopon and K.Yoshida, “Fabrication of small size inner spiral ribbed copper tube by fluid mandrel drawing,” The International Journal of Advanced Manufacturing Technology, Vol.70, pp 1923-1930, 2014.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-16

How to Cite

[1]
ดุสิตโศภิตวงศ์ ท. . และ นรเศรษฐ์โศภน ส. . ., “อิทธิพลของแมนเดรลเหลวต่อการลดพื้นที่หน้าตัด ความเค้นดึงและความหนาในกระบวนการดึงขึ้นรูปท่อทองแดง”, Eng. & Technol. Horiz., ปี 32, ฉบับที่ 3, น. 13–18, มิ.ย. 2020.