การวิเคราะห์จราจรทางแยกแบบไหลต่อเนื่องผสมผสานกับทางแยกต่างระดับโดยแบบจำลองจราจรระดับจุลภาค : กรณีศึกษาแยกหน้าโรงเรียนดัดดรุณี จ.ฉะเชิงเทรา
คำสำคัญ:
ระยะเวลาการเดินทาง, ความยาวแถวคอย, ความล่าช้าในการเดินทาง, ความเร็วรถ, ทางแยกต่างระดับในพื้นที่เขตเมือง, แบบจำลองระดับจุลภาค VISSIMบทคัดย่อ
ในปัจจุบันปัญหาการจราจรติดขัดบริเวณทางแยกก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องแก้ไข จึงได้มีการประยุกต์ทางแยกแบบกระแสจราจรไหลต่อเนื่อง ( CFI ) เข้ากับทางแยกต่างระดับในเขตเมือง SPUI (Single–Point Urban Interchange) หรือที่เรียกว่าทางแยกแบบCFUI (Continuous Flow Urban Intersection) ซึ่งวิธีการนี้สามารถแก้ปัญหาการจราจรติดขัดได้อย่างมีประสิทธิภาพกว่าการสร้างสะพานข้ามแยกเพียงอย่างเดียว งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเพื่อปรับปรุงสภาพจราจรบริเวณทางแยกหน้าโรงเรียนดัดดรุณี ซึ่งบริเวณดังกล่าวเป็นทางแยกต่างระดับในพื้นที่เขตเมือง SPUI(Single-Point Urban Interchange) ปัจจุบันได้ประสบปัญหาการจราจรติดขัดในช่วงเวลาเร่งด่วน จึงจะทำการปรับปรุงทางแยกนี้ให้เป็นทางแยกแบบผสมผสานระหว่างทางแยกต่างระดับในพื้นที่เขตเมือง SPUI (Single-Point Urban Interchange) กับทางแยกที่มีลักษณะพิเศษในรูปแบบ CFI (Continuous Flow Intersection) หรือที่เรียกว่าทางแยกแบบCFUI ( Continuous Flow Urban Intersection) เพื่อทำการเปรียบเทียบระหว่างสภาพจราจรในปัจจุบันกับสภาพจราจรหลังจากที่มีการปรับปรุงเป็นทางแยกแบบ CFUI ( Continuous Flow Urban Intersection)แล้ว โดยจะทำการเปรียบเทียบกันในเรื่องของความยาวแถวคอย ความล่าช้าในการเดินทาง ความเร็วรถ และระยะเวลาในการเดินทาง โดยใช้โปรแกรม VISSIM ในการพัฒนาและสร้างแบบจำลองสภาพจราจรในระดับจุลภาค ซึ่งการออกแบบทางแยกลักษณะนี้ จะเป็นการช่วยลดจุดตัดบริเวณทางแยกหลัก เพื่อลดปัญหาสภาพจราจรติดขัดที่เกิดขึ้นให้น้อยลงได้ ผลที่ได้จากการศึกษาสามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงทางแยกเพื่อแก้ปัญหาการจราจรติดขัดบริเวณทางแยกและเพิ่มประสิทธิภาพของทางแยกได้ต่อไปในอนาคต
References
R. Jaganatha and J.G. Bared, “Design and Operation Performance of Crossover Displaced Left Turn Intersections,” Transportation Research Record: Journal of Transportation Research Board, No 1881, TRB, National Research Council, Washington D.C., pp. 1-10 , 2004.
J. Pitaksringkarn, “Measures of Effectiveness for Continuous Flow Intersection: A Maryland Intersection Case Study,” ITE 2005 Annual Meeting and Exhibit Compendium of Technical Paper, ITE,Washington D.C.,2005.
S.Cheong, S. Rahwanji and G. Chang “Comparison of Three Unconventional Arterial Intersection Design : Continuous Intersection, Parallel Flow Intersection, and Upstream Signalized Crossover,” Paper presented at the 11th International IEEE Conference on Intelligent Transportation System, Beijing, China, October, 2008.
Federal Highway Administration (FHWA). (April 2010) Alternative Intersections / Interchanges: Informational Report (AIIR)
American Association of state Highway and Transportation officials (ASSHTO), 2004
J. Pitaksringkarn and C. Ratanamahatana, “ A CFI Design Integration for a Single -Point Urban Interchange Traffic Operation Improvement, 2008.
PTV Planung Transport Verkehr AG [PTV] VISSIM 7.0, User Manual, PTV, Karlsruhe, 2014
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และคณาจารย์ท่านอื่นๆในสถาบันฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว