ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการนวัตกรรมในองค์กรของอุตสาหกรรมอาหารพร้อมรับประทาน กรณีศึกษาบริษัท ซีพีแรม จำกัด

Main Article Content

ภัทร์ วิศิษฏ์วิญญู
สุวรรธนา เทพจิต
สมนึก วิสุทธิแพทย์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการนวัตกรรมของพนักงานในองค์กรธุรกิจอุตสาหกรรมอาหารพร้อมรับประทาน โดยดำเนินการวิจัยด้วยวิธีวิจัยเชิงปริมาณแบบสำรวจภาคสนาม เพื่อการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปร เครื่องมือที่ในการวิจัยคือ แบบสอบถามปลายปิด ซึ่งผ่านการตรวจสอบความแม่นตรงเชิงเนื้อหา (IOC) และทดสอบความเชื่อถือได้โดยวิธีการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา (Coefficient Alpha) ของครอนบาก (Cronbach) โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) โดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics) ได้แก่ ทดสอบความแปรปรวนภายใน: T-test, F-test (One-Way ANOVA) และวิธีการเปรียบเทียบรายคู่กรณีตามวิธีของ Schaffer การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression) ผลของการวิจัยพบว่า พนักงานมีระดับความคิดเห็นสูงสุดกับด้านนโยบายบริษัทมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ด้านลักษณะของงานที่ทำ และด้านสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน ตามลำดับ ลักษณะชองกลุ่มประชากรที่ส่งผลให้ผลสำเร็จที่เกิดขึ้นจากการสร้างนวัตกรรมในองค์กรมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ 1) อายุ 2) หน่วยงานที่สังกัด สำหรับตัวแปรความสัมพันธ์ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ 1) เพศ 2) การศึกษา 3) ระยะเวลาการปฏิบัติงานผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการนวัตกรรมขององค์กร พบว่า สมการทำนายดังนี้ Y (การจัดการนวัตกรรม) = 10.218 + 0.440 Xด้านนโยบายบริษัท + 0.382 Xด้านลักษณะของงานที่ทำ + 0.803 Xด้านสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน

Article Details

บท
บทความวิจัย ด้านการพัฒนาอุตสาหกรรม

References

[1] Thai Frozen-Food Associate. (2019, February). Ready-to-Eat. Thai Frozen Foods Association. Bangkok, Thailand [Online]. Available: https://thai-frozen.or.th/index.php/product-gallery/ready-to-eat

[2] S. Proyanont, “Leader behaviors and work environments that affect creativity at work: A case study of Thailand’s most innovative companies in 2009,” NIDA Development Journal, vol. 52, no. 3, pp. 193–214, 2009 (in Thai).

[3] P. Wutthirong, “Organizational innovativeness conceptual framework : Integration of resource based view and learning organization concept,” NIDA Development Journal, vol. 54, no. 1, pp. 21–48, 2014 (in Thai).

[4] S. Hongprapat, “Development of ready-to-eat food innovation of health,” presented at the 13 th NSTDA Annual Conference, Pathum Thani, Thailand, 2017.

[5] E. M. Rogers, Diffusion of Innovations, 3th ed. New York : Free Press of Glencoe, 1983.

[6] K. Vanichbuncha, How to Use SPSS for Windows to Analyze Data, 6th ed. Bangkok: Chulalongkorn University Book center, 2003 (in Thai).

[7] W. Phongsichomphu, O. Natakuatoong, and W. Kaemkate, “Effects of state enterprises information technology utilization on being a learning organization and an innovative organization,” Journal of Interdisciplinary Research: Graduate Studies, vol. 4, no. 3, pp. 57–59, 2015 (in Thai).

[8] S. Sivapitak, N. Srlvoravilal, and A. Na Ubon, “Innovation management of business organization affecting employees’ innovative work behavior,” BU Academic Review, vol. 11, no. 1, pp.190–204, 2012 (in Thai).

[9] K. Poomai, “A study of supporting factors for creating organizational innovation in the context of commercial banks,” M.S. thesis, Department of Technical Technology, College of Innovation, Thammasat University, 2016 (in Thai).

[10] W. Pakdeelao, “The study of characteristics of innovative organization: Case studies from awarded organizations,” M.S. thesis, Faculty of Human Resources Development, National Institute of Development Administration, 2011 (in Thai).