การพัฒนาชุดทดลองกระตุ้นผลผลิตก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้าโดยใช้พัลส์ไฟฟ้าความต่างศักย์สูง
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาชุดทดลองกระต้นุ ผลผลิตก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้าโดยใช้พัลส์ไฟฟ้าความต่างศักย์สูง โดยใช้วงจรเครื่องกำเนิดอิมพัลส์ที่มีตัวเก็บประจุขนาด 10 นาโนฟารัด ต่อตัวต้านทาน 500 กิโลโอห์ม ที่ระยะแกปเท่ากับ 3.56 มิลลิเมตร ได้แรงดันไฟฟ้าที่เกิดการสปาร์คที่ 11,800 โวลต์ จากการทดลองได้แรงดันไฟฟ้าความต่างศักย์สูงที่จำนวนชั้นของวงจรเท่ากับ 5, 10 และ 15 ได้แรงดันไฟฟ้าความต่างศักย์สูงเท่ากับ 48,000, 93,000 และ 140,000 โวลต์ ตามลำดับ โดยรูปคลื่นที่ได้เป็นลักษณะของสวิตชิงอิมพัลส์มีรูปแบบความกว้างหน้าคลื่นและหลังคลื่น (T1/T2) เท่ากับ 0 และ 3,400 ไมโครวินาที ตามลำดับ เมื่อทดลองใช้พัลส์ไฟฟ้าความต่างศักย์สูงดังกล่าวกระตุ้นก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้าที่ทำมาจากก้อนขี้เลื้อยใส่ถุงจำนวน 24 ก้อน แบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับการกระตุ้น 2) กลุ่มที่กระตุ้นด้วยพัลส์ไฟฟ้าความต่างศักย์สูงจำนวน 20 ครั้ง ที่ 50,000 โวลต์ 3) กลุ่มที่กระตุ้นด้วยพัลส์ไฟฟ้าความต่างศักย์สูงจำนวน 20 ครั้ง ที่ 100,000 โวลต์ และ 4) กลุ่มที่กระตุ้นด้วยพัลส์ไฟฟ้าความต่างศักย์สูงจำนวน 20 ครั้ง ที่ 150,000 โวลต์ ผลการทดลองพบว่า ผลผลิตของก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้าที่ทำการทดลองในระยะเวลา 60 วัน 1) กลุ่มควบคุมให้ผลผลิตรวมน้อยที่สุด คือ 754 กรัม 2) กลุ่มที่กระตุ้นด้วยพัลส์ไฟฟ้า 50,000 โวลต์ ให้ผลผลิตรวมที่ 806 กรัม 3) กลุ่มที่กระตุ้นด้วยพัลส์ไฟฟ้า 100,000 กิโลโวลต์ ให้ผลผลิตรวมที่ 849 กรัม 4) กลุ่มที่กระตุ้นด้วยพัลส์ไฟฟ้า 150,000 โวลต์ ให้ผลผลิตรวมเยอะที่สุดที่ 853 กรัม โดยผลผลิตรวมของเห็ดนางฟ้าที่กระตุ้นด้วยพัลส์ไฟฟ้าความต่างศักย์สูงด้วยพัลส์ไฟฟ้า 150,000 โวลต์ ให้ผลผลิตสูงสุด โดยให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 13 เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม
Article Details
บทความที่ลงตีพิมพ์เป็นข้อคิดเห็นของผู้เขียนเท่านั้น
ผู้เขียนจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความนั้น
References
[2] S. Ohga, S. Iida, and S. Koo, “Effect of electric impulse on fruit body production of Lentinula edodes in the sawdust-based substrate,” Mushroom Science and Biotechnology, vol. 9, pp. 7– 12, 2001.
[3] S. Ohga, “Application of electric pulsed on fruit body production of edible and medicinal mushroom,” CNU Journal of Agricultural Science, vol. 39, no. 4, pp. 591–594, 2012.
[4] K. Takaki, K. Yoshida, T. Saito, T. Kusaka, R. Yamaguchi, K. Takahashi, and Y. Sakamoto, “Effect of electrical stimulation on fruit body formation in cultivating mushrooms,” Microorganisms, vol. 2, no. 1, pp. 58–72, 2014.
[5] R. Ibrahim, K. M. Aziz, A. M. Arshad, and S. M. Z. S. Hasan, “Enhancing mushroom production using physical treatment prior to fruiting body formation,” Malaysian Society of Applied Biology, vol. 44, no. 1, pp. 69–73, 2015.
[6] S. Tsukamoto, H. Kudoh, S. Ohga, K. Yamamoto, and H. Akiyama, “Development of an automatic electrical stimulation for mushroom sawdust bottle,” presented at the 2005 IEEE Pulse Power Conference, Monterey, CA, USA, June 2005.
[7] K. Takaki, N. Yamazaki, S. Mukaigawa, T. Fujiwara, H. Kofujita, K. Takahasi, M. Narimatsu, and K. Nagane, “Improvement of edible mushroom yield by electric stimulations,” Journal of Plasma and Fusion Research Series, vol. 8, pp. 556–559, 2009.
[8] Y.Mibuchi and M. Yamamoto, “Kyushu electric power corporation,” Japan, Research Report No. 87004, 1984.
[9] K. Takaki, R. Yamaguchi, T. Kusaka, H. Kofujita, K. Takahashi, Y. Sakamoto, M. Narimatsu, and K. Nagane, “Effects of pulse voltage stimulation on fruit body formation in Lentinula edodes cultivation,” in Proceedings the 7th International Symposium on Non-Thermal/ Thermal Plasma Pollution Control Technology and Sustainable Energy, 2010, pp. 108–112.
[10] I. Ferzana and O. Shoji, “The response of fruit body formation on tricholoma matsutake in situ condition by applying electric pulse stimulator,” International Scholarly Research Network, pp. 1–6, 2012.
[11] K. Takaki, N. Yamazaki, S. Mukaigawa, T. Fujiwara, H. Kofujita, K. Takahasib, M. Narimatsuc, and K. Naganed, “Effect of pulsed high-voltage stimulation on pholiota Nameko Mushroom yield,” in Proceedings of the 2nd Euro-Asian Pulsed Power Conference, 2008, pp. 1062–1065.
[12] K. Tonmitra and A. Suksri, “Bipolar high voltage DC generator ±100kV 5 mA,” KKU Engineering Journal, vol. 31, no. 4, pp. 361–375, 2004.
[13] N. Praihong, D. Choosin, and T. Panmai, “The impulse voltage generator 200 kV 4 kJ,” Thesis, Bachelor Degree of Technology, Department of Electrical and Electronics Technology, Faculty of Engineering, Burapha University, 2007.
[14] R. Sheeba, M. Jayaraju, T. Kunju, and N. Shanavs, “Simulation of impulse voltage generator and impulse testing of insulator using MATLAB simulink,” World Journal of Modelling and Simulation, vol. 8, no. 4, pp. 302–309, 2012.
[15] J. Emery, “Cockcroft-Walton voltage multiplier,” Multiplier, vol.13, pp. 280–287, 2013.
[16] A. Suksri, “High voltage engineering,” Department of Electrical Engineering, Faculty of Engineering, Khon Kaen University, 2008.
[17] J. Kluss, and W. Larzelere, “Reconfiguration of 3 MV Marx generator into a modern high efficiency system,” in Proceedings of the 25th Nordic Insulation Symposium, 2017, pp. 1–6.
[18] A. Ur-Rehman and N. Khan, “Design and fabrication of a high voltage lightning impulse generator,” Engineering, vol. 8, no. 3, pp. 69–73, 2016.