เครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ด้วยตัวเก็บรังสีอาทิตย์ เพื่อเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจชุมชน

ผู้แต่ง

  • ชาญฉจิต วรรณนุรักษ คณะวิทยาสาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

คำสำคัญ:

การอบแห้ง, ตัวเก็บรังสีอาทิตย์, พลังงานแสงอาทิตย์, ตู้อบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสร้างและหาประสิทธิภาพของเครื่องอบแห้งพลังงาน แสงอาทิตย์ด้วยตัวเก็บรังสีอาทิตย์โดยเปรียบเทียบร้อยละความชื้นและน้ำหนักของผลิตภัณฑ์ที่ได้จาก เครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ด้วยตัวเก็บรังสีอาทิตย์กับตู้อบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์และการตาก แห้งโดยวิธีธรรมชาติ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการทดลองคือกล้วยน้ำว้า
จากผลการทดลองสรุปได้ว่าเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ด้วยตัวเก็บรังสีอาทิตย์มีรังสี รวมรายชั่วโมงที่ตกกระทบตั้งฉากบนระนาบเอียงเฉลี่ยอยู่ที่ 633.06 วัตต์/ตารางเมตร ประสิทธิภาพแผงตัวเก็บรังสีอาทิตย์ขณะใด ๆ อยู่ระหว่างร้อยละ 18.18 – 47.75 ตัวเก็บรังสีอาทิตย์มีการส่งผ่านค่าดูดกลืนรังสีอาทิตย์สูง และป้องกันความร้อนสูญเสียได้ดี ประสิทธิภาพของแผงตัวเก็บรังสีอาทิตย์ที่สร้างขึ้นได้ร้อยละ 99 ผลการเปรียบเทียบค่าร้อยละความชื้นของผลิตภัณฑ์จากการอบแห้งกล้วยน้ำว้า ระยะเวลาการทดลองนาน 1 วัน และ 5 วัน คิดตามมาตรฐานอาหารเปียกพบว่าร้อยละความชื้นเฉลี่ยของกล้วยน้ำว้าจากเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ด้วยตัวเก็บรังสีอาทิตย์สามารถลดความชื้นได้ดีกว่ากล้วยน้ำว้าจากตู้อบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์และจากการตากแห้งโดยวิธีธรรมชาติ คิดเป็นร้อยละ 58.22, 56.02, 55.64 และ ร้อยละ 74.29, 72.99, 71.94 ตามลำดับ ค่าน้ำหนักของกล้วยน้ำว้าจาก การอบแห้งจำนวน 5 ครั้ง ครั้งละ 5 วัน เครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ด้วยตัวเก็บรังสีอาทิตย์ สามารถลดน้ำหนักของกล้วยน้ำว้าได้มากที่สุดทั้งจากตู้อบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์และจากการตากแห้งโดยวิธีธรรมชาติ โดยน้ำหนักของกล้วยน้ำว้าลดลงเฉลี่ยเหลือ 0.35 กิโลกรัม, 0.37 กิโลกรัม และ 0.39 กิโลกรัม ตามลำดับและเมื่อมีกำลังการผลิตที่ 20 กิโลกรัม/ครั้ง จะสามารถคืนทุนได้ภายในระยะเวลาประมาณ 9 วัน มีรายรับสุทธิ 52,459.68 ต่อปี

References

How to preserve food, December. 15, 2023. [Online]. Available: https://signuphowto.blogspot.com/2012/02/

iEnergyGuru Drying, December. 15, 2023. [Online]. Available: https://ienergyguru.com/2015/09/drying/

C. Serm, Nakhon Pathom: Silpakorn University, 2017.

C. Uthai, “Design and construction of a convection solar energy drying cabinet”, Master of Science Thesis, Ubon Ratchathani Rajabhat University, Ubon Ratchathani, Thailand, 2010.

P. Fankaew and K. Wutticaree, “Design and construction of a flatplate solar-powered pineapple dryer,” National Industrial Education Conference: King Mongkut's University of Technology North Bangkok, no. 7, November. 2014, pp. 49-54.

W. Chanchajit, “The development of solar water treatment prototype system,” Research Dhonburi Rajabhat University, Bangkok 2018.

Want to use solar energy, “Drying with solar energy,” December. 15, 2023. [Online]. Available: https://www.xn-12cmaam3eno6bybj3a2e7ak2dmhe5b1u9a3ktd.com/?p=41

Y. Gun, “Guidelines for Conservation and Revitalization of Local Knowledge on Growing Muang Non Durians in Order to Add Economic Value of Community,” M.A. MAJOR (Cultural Science), Mahasarakam University, 2010.

P. Chackapun and L. Sungseng, “A performance study of thermosyphon flat-plate solar hot water heater,” Ubon Ratchathani University Academic Journal, vol. 2, no. 8, May–August. 2006, pp. 9-18.

C. Natthaphon, Chiang Mai: College of Renewable Energy Maejo University, 2019.

F. Marco, A. Marco, and D. Umberto, “Assessment of the optical efficiency in solar collectors: Experimental method for a concentrating solar power,” Thermal Science and Engineering Progress, vol. 40, March. 2023, pp. 1-20.

A. Mohammad, H. Ben, H. Andrew and O. Dominic, “Determining the Effect of Inlet Flow Conditions on the Thermal Efficiency of a Flat Plate Solar Collector,” Fluids, vol. 364, September. 2018, pp. 1-17.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-25