การพัฒนาต้นแบบตู้เพาะชำและดูแลต้นกล้าผักควบคุมผ่านเว็บแอปพลิเคชัน
คำสำคัญ:
ตู้เพาะชำต้นกล้าผัก, ฟาร์มอัจฉริยะ, ระบบควบคุมอัตโนมัติ, เว็บแอปพลิเคชันบทคัดย่อ
งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ออกแบบ สร้าง และประเมินประสิทธิภาพตู้เพาะชำและดูแลต้นกล้าผักแบบอัตโนมัติ ซึ่งสามารถควบคุมได้จากระยะไกลผ่านเว็บแอปพลิเคชัน ตู้มีขนาดความกว้าง ความยาว และความสูงเท่ากับ 80,120 และ150 เซนติเมตร มีการควบคุมปัจจัยสภาพแวดล้อม ได้แก่ อุณหภูมิ, ความชื้น, ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และแสง มีการใช้บอร์ด ESP32 เชื่อมต่อกับเซนเซอร์และวัดค่าสถานะเพื่อส่งไปเก็บที่ฐานข้อมูลไฟร์เบส ซึ่งเป็นฐานข้อมูลแบบเรียลไทม์ จากนั้นนำข้อมูลไปแสดงผลในเว็บแอปพลิเคชันซึ่งพัฒนาโดยรีแอคเฟรมเวิร์ก มีคำสั่งในการปรับค่าอุณหภูมิ ความชื้น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การตั้งเวลารดน้ำ การเปิดปิดไฟ การเปิดปิดพัดลมระบายอากาศ บันทึกข้อมูล รวมทั้งยังติดตั้งกล้องแสดงภาพวิดีโอแบบเรียลไทม์ในการสังเกตุลักษณะของต้นพืช สามารถทำงานได้ทั้งแบบอัตโนมัติหรือตามความต้องการของผู้ใช้งาน โดยผู้วิจัยดำเนินการประเมินประสิทธิภาพทั้งหมด 3 ส่วน คือ 1) การทำงานของเว็บแอปพลิเคชัน 2) การทำงานของตู้ต้นแบบ และ 3) การเพาะชำและดูแลต้นกล้าผัก พบว่า ทั้ง 3 ส่วนนี้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถควบคุมสภาพแวดล้อมให้ต้นกล้าผักที่เพาะชำและดูแลภายในตู้มีการเจริญเติบโตที่รวดเร็วกว่า 12.22% เมื่อเทียบกับการเพาะชำและดูแลภายนอกตู้
References
Vox, Teitel, Pardossi, Minuto, Tinivella and Schettini, “Sustainable Green house Systems,” In A. Salazar and I. Rios (Eds.), Nova Science Publishers, Inc., NY, USA, 2010.
P. Srisonmueang, S. Somwong, S. Busabok, C. Srisonmueang, C. Homtap and A. Mano, “Development of a smart farm control system model in greenhouse cultivation using embedded computers,” Journal of Research, vol. 20, no. 1, pp. 24, 2021.
P. Namsai, “Influence of substrates on the growth of vegetable seedlings,” Master's thesis, Faculty of Science, Plant Science Department, Maejo University, Chiang Mai, 2003.
S. Somwong, T. Nam Sai and A. Mano, “Development of smart nursery greenhouses for organic farming in Tha Kham Community Enterprise, Tha Kham Subdistrict, Hat Yai District, Songkhla Province,”Research Article, vol. 39, no. 3, pp. 72, 2022.
T. Arisariyawong, P. Chantanamatta, T. Wongamrest and C. Karawan, “Automatic control system for organic greenhouse),” Journal of Science and Technology, vol. 13, no. 25, pp. 52–63, January-June. 2021.
W. Duangsrisen, “A Development of Temperature Control System in Melon Greenhouses Planting,” The Golden Teak: Science and Technology Journal (GTSJ.), vol. 9, no. 1, pp. 40-49, January-June, 2022.
K. Chantasit, K. Muisee and S. Chitphutthanakul, “Hydroponic system with LED grow light and Automatic temperature control system for Ramphan Community, ThaMai District, Chanthaburi Province,” Research, p.1-46, 2020.
P. Ongsupharom, “Develop mushroom cultiv ation semi automatic,” Research, p. 4-74, 2020.
J. Best, “Research in Education,” Prentice Hall, Inc., New Jersey, 1977.
R. Likert, “A Technique for the Measurement of Attitudes,” Archives of Psychology, vol. 140, pp. 1-55, 1932.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว