ประสิทธิภาพของโปรแกรมน้ำหวานที่มีผลต่อความอดทน ในการทำงานของคนงาน
คำสำคัญ:
ประสิทธิภาพ, โปรแกรมน้ำหวาน, ความอดทนของผู้ปฏิบัติงาน, การทำงานท่ามกลางแจ้งบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบทางสุขภาพที่เกิดจากความร้อนต่อสุขภาพของพนักงานที่ทำงานท่ามกลางแดด และผลการได้รับน้ำหวานในการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานท่ามกลางแดดในโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู โดยใช้วิธีการสุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) พิจารณาจากความสมัครใจ ใช้เกณฑ์การคัดเข้า (Inclusion criteria) และเกณฑ์การคัดออก (Exclusion criteria) ได้จำนวน 50 คน
ผลการวิจัยพบว่า ในพื้นที่ก่อสร้างมีค่าความร้อนอยู่ระหว่าง 30.59-34.58 องศาเซลเซียส เฉลี่ยเท่ากับ 33.49 องศาเซลเซียส ซึ่งค่าความร้อนโดยเฉลี่ยมากกว่าค่ามาตรฐาน WBGT ที่ได้กำหนดไว้คือ 32 องศาเซลเซียส ผลกระทบจากความร้อนต่อการทำงานและสุขภาพของพนักงานก่อนเข้าโปรแกรมเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 3.53, S.D. = 1.04) หลังจากเข้าโปรแกรมผลกระทบจากความร้อนลดลงอยู่ในระดับน้อย ( = 2.00, S.D. = 0.93) ผลการทดสอบสมมุติฐาน พบว่า โปรแกรมน้ำหวานมีประสิทธิภาพ คือ ส่งผลให้งานดำเนินการต่อเนื่อง ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มขึ้น ส่งผลให้การทำงานของพนักงานได้รับอุบัติเหตุน้อยลง ทำให้การทำงานเป็นปกติ ลดอาการเครียดหงุดหงิด ลดอาการของโรคลมแดด ลดอาการผื่นคัน ผดแดง และช่วยลดอาการป่วยไข้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01)
References
KooWattanachai, N. “Heat Transfer”. Bangkok: physics-center publisher. 1990.
Mungthian, M., Rangsin, R., Imjaijit, W., Hattachot, P., Panichkul, S. “A qualitative study to find ways to prevent heat stroke. in the active duty military”. Phramongkutklao College of Medicine. 2012.
Jakreng, C. “Physical Heath Effects from Occupational Expossure to Natural Heat Among Salt Production Workers in Samutsongkham Provine”. Srinakharinwirot University. 2010.
Department of Disease. “Warns the public. Control ministry of public health”. 2019.
Pitakpong, A., Boonkerd, P. “Risk Assessment of Heat Stroke Disease of Civil Construction Workers Case Study: Road Construction Company, Phayao Province”. Journal of Science, Engineering and Technology. Vol.3 No.1 January-May 2021.
Shawpat. “Heat Stroke.Safety and Health at Work Promotion Association (Thailand)”. 2019.
Chanpen, P. “A comparative study of the anomalies of energy consumers in heat. After the replacement of sugar-salt and water”. Mahidol University. 1993.
Somprasri, P. “safety Engineering. Phetchaburi Rajabhat University”. 2001.
HD CARE. “Solving doubts, is each type of sugar good for the body”. Retrieved, January, 2, 2022. From https://www.honestdocs.co/each-sugar-grievance-is-good-for-the-body-or-not. 2020.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว