กระบวนการพัฒนาน้ำยาประสานไม้อัดที่ผลิตจากเศษไม้ไผ่
คำสำคัญ:
น้ำยาประสานไม้อัด, ไม้อัดจากเศษไม้ไผ่, กระบวนการผลิตไม้อัดบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ นำเสนอผลงานที่เกิดจากการพัฒนากระบวนการผลิตไม้อัด จากเศษไม้ไผ่ ที่เป็นวัสดุเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิต เข่ง ตะกร้า ชะลอม ฯลฯ ซึ่งเป็นอาชีพของชาวบ้านในตำบลลุ่มสุ่ม อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี แต่เดิมกระบวนการผลิตไม้อัด จากเศษไม้ไผ่ ชาวบ้านจะต้องใช้น้ำยาประสานไม้อัด จากโรงงานผลิตไม้อัด และนำมาอัดผ่านความร้อน ทำให้มีต้นทุนค่าใช้จ่ายที่สำคัญและต้องพึ่งพาโรงงานผลิตไม้อัดอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น ผู้วิจัยจึงคิดหาวัสดุทดแทนน้ำยาประสานไม้อัดจากโรงงานอุตสาหกรรม พร้อมทั้งทดลองหาเงื่อนไขด้วยอุณหภูมิที่เหมาะสมกับน้ำยาประสานทดแทน และนำไปถ่ายทอดสู่ชุมชน โดยคัดเลือกใช้น้ำยาประสานใหม่ที่ผลิตจาก กาวลาเท็กซ์ โฟม กาวต่อไม้ เรซิน ปูนซิเมนต์ เมื่อใช้น้ำยาประสานทั้ง 5 ชนิดนี้แล้วนำมาเปรียบเทียบความแข็งกับน้ำยาประสานจากโรงงานอุตสาหกรรม น้ำยาประสานที่มีความแข็งแรงใกล้เคียงน้ำยาประสานเดิมมีกระบวนการอัดและให้ความร้อนใกล้เคียงกับกระบวนการเดิมที่ชาวบ้านดำเนินการอยู่ โดยทดลองทำแผ่นไม้จากน้ำยาประสานใหม่ และทดสอบมีช่วงเวลาการให้ความร้อน 5 – 23 นาที ในช่วงอุณหภูมิ 100 – 180 องศาเซลเซียส ทำให้ทราบว่าน้ำยาประสานไม้อัดที่ทำจากโฟมมีคุณสมบัติให้ค่าความแข็งแรงที่สุด นำมาทดลองหาค่าความเหมาะสมของระยะเวลาการให้ความร้อน ช่วงอุณหภูมิ และปริมาณโฟมพร้อมกับทินเนอร์ ผลการทดลอง พบว่า โฟมเมื่อนำมาผสมทินเนอร์ที่ปริมาณโฟม 380 กรัม ทินเนอร์ 300 กรัม จะได้น้ำยาประสานที่ดีที่สุด ให้ความร้อนที่ 90 องศาเซลเซียส กดเป็นเวลานาน 20 นาที สามารถรับน้ำหนักได้ดีที่สุดที่ 56 กิโลกรัม
References
Sirin Bunnag, Supakorn Boonyuen and Thanpisit Phuangchik. “A Study on Physical Characteristics of Some Bamboo”, Thai Journal of Science and Technology, Vol 10, No 3, pp 315-326, 2021.
Suthat Dechwisit “Bamboo for bamboo love,” Agro-communica publisher, pp 200, 1994.
Thanpisit Puangchick and Bhornchai Harakotr. “A Survey, Collecting and Characterization of Natural Bamboo in Kanchanaburi Province, Thailand.” Thai Journal of Science and Technology, Vol 7, No 4, pp 382-392, 2018.
Yoosuk, E., Patcharavongsiri, M., Sutchana, K., and Sermsri, N. “Local Product Development for Bamboo Plywood of Kanchanaburi Thailand.” PalArch's Journal of Archaeology of Egypt/Egyptology, Vol 17, No 2, pp 418-429, 2020.
Natpinit, P., Chantrawongphaisal, B., Kongsomboon, C., and Hongcharoensri, P. “Physical Properties of Cement Fibers from Napier Grass,” Udon Thani Rajabhat University Journal of Sciences and Technology, Vol 7, No 2, pp 129-146, 2019.
Wanvipa Chaichan, Aneak Sawain and Weerasak Chaichan. “Optimum Ratio for Co-producing Plant Pot from Organic Residues,” Journal of Southern Technology, Vol.12, No.1, pp 193-205, 2019.
Thailand Industrial Standards Institute “industrial product standards. FLAT PRESSED PARTICLEBOARDS. TIS. 876-2547,” Ministry of Industry, pp 17, 2004.
Premnat Chumprom, Charoon Charoennetkul and Watthanaphon Cheewawuttipong. “Thermal insulation bamboo weaving sheet from wood sawdust/natural rubber composites,” The 27th National Convention on Civil Engineering, Chiang Rai, THAILAND, pp MAT06-1-7, 2022.
Kitchai Jitkhajornwanich. “Adhesive.” NAJUA: Architecture”, Design and Built Environment, Vol 22, pp 93-110, 2007.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว