การจัดการด้านความปลอดภัยในการทำงาน : กรณีศึกษา กระบวนการผลิตน้ำตาลมะพร้าว

ผู้แต่ง

  • อรัญ ขวัญปาน สาขาวิชาเทคโนโลยีความปลอดภัยและอาชีวอนามัย คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ธรรมรักษ์ ศรีมารุต สาขาวิชาเทคโนโลยีความปลอดภัยและอาชีวอนามัย คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • รุจิพรรณ แฝงจันดา สาขาวิชาเทคโนโลยีความปลอดภัยและอาชีวอนามัย คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • สุภัสสร ฉิมเฉิด สาขาวิชาเทคโนโลยีความปลอดภัยและอาชีวอนามัย คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ณัฐพร อารีรัชกุล สาขาวิชาเทคโนโลยีความปลอดภัยและอาชีวอนามัย คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

ความเสี่ยงด้านการยศาสตร์, สภาพแวดล้อมการทำงาน, ขั้นตอนการผลิตน้ำตาลมะพร้าว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิริยาบถที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการทำงาน และประเมินความเสี่ยงด้านการยศาสตร์ในกระบวนการผลิตน้ำตาลมะพร้าว เลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มโดยใช้การคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง และเก็บข้อมูลด้วยเครื่องมือวัดด้านสุขศาสตร์ ได้แก่ แสงสว่าง (Light), ดัชนีความร้อน (WBGT), ฝุ่นละออง (pm10, pm2.5), ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO), สารอินทรีย์ระเหยง่าย (TVOCs) และใช้แบบประเมินท่าทางในการทำงาน (RULA, REBA) วิเคราะห์ผลด้วย ความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาความสัมพันธ์ด้วย Pearson correlation

ผลการวิจัย พบว่าการศึกษาผลการประเมินความเสี่ยงด้วยแบบประเมิน RULA ขั้นตอนการเคี่ยวน้ำตาล การเข็นรถนำน้ำตาลมะพร้าวพักใส่ถาด ความเสี่ยงระดับ 4 ซึ่งงานนั้นเริ่มมีปัญหา ควรทำการศึกษาเพิ่มเติมและรีบดำเนินการปรับปรุง ขั้นตอนการนั่งตักน้ำตาลมะพร้าวใส่บรรจุภัณฑ์ และขั้นตอนสุดท้ายการตรวจคุณภาพ และบรรจุใส่กล่อง ความเสี่ยงระดับ 3 ซึ่งงานนั้นควรมีการศึกษาเพิ่มเติมและติดตามวัดผลอย่างต่อเนื่องอาจจะจำเป็นที่จะต้องมีการออกแบบงานใหม่ การประเมินความเสี่ยงด้วยแบบประเมิน REBA ขั้นตอนการเคี่ยวน้ำตาล ความเสี่ยงระดับ 5 ความเสี่ยงสูงมาก ควรปรับปรุงทันที ขั้นตอนการเข็นรถนำน้ำตาลมะพร้าวพักใส่ถาด และการนั่งตักน้ำตาลมะพร้าวใส่บรรจุภัณฑ์ ความเสี่ยงระดับ 4-5 ความเสี่ยงสูงถึงสูงมาก ควรวิเคราะห์เพิ่มเติมและควรปรับปรุงทันที และขั้นตอนสุดท้ายการตรวจคุณภาพ และบรรจุใส่กล่อง ความเสี่ยงระดับ 3 ซึ่งงานนั้นความเสี่ยงปานกลาง ควรวิเคราะห์เพิ่มเติมและควรได้รับการปรับปรุง

การประเมินดัชนีความร้อน (WBGT), ค่าฝุ่นละอองในพื้นที่ปฏิบัติงาน (pm10, pm2.5), และก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) พบว่า เป็นไปมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด ส่วนการประเมินค่าแสงสว่าง (light) พบว่า ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กฎหมายกำหนด ค่าเฉลี่ย= 17.4-149.3 lux (มาตรฐาน 200-300 lux) และสารอินทรีย์ระเหยง่าย (TVOCs) จุดที่ 1 ค่าเฉลี่ย = 236.3 ppb อยู่ในเกณฑ์ปานกลาง และจุดที่ 2 ค่าเฉลี่ย = 115.5 ppb อยู่ในเกณฑ์ดี ด้านการประสบอุบัติเหตุ พบว่า มีการเกิดอุบัติเหตุจากหกล้ม วัตถุกระเด็นเข้าตา โดนของมีคมบาด และถูกกระแทกจากของแข็ง และพบว่า พฤติกรรมการใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล มีสัมพันธ์ปานกลางกับวัตถุกระเด็น เข้าตา (r=.548, p<.05)  มีสัมพันธ์สูงกับโดนของมีคมบาด (r=.764, p<.01)  และถูกกระแทกจากของแข็ง (r=.721, p<.01) พฤติกรรมการยกของที่มีน้ำหนักมากมีสัมพันธ์ปานกลางกับโดนของมีคมบาด (r=.655, p<.01) ถูกกระแทกจากของแข็ง (r=.617, p<.05) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

References

Khanaphan, K., Pongsasanongkul, C., “Ergonomic Risk Assessment of Sugarcane cutting and carry on truck workers in Kumphawapi District”, Udon Thani Province. Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences, Vol.3, No.1, January-March, 2019.

Kwanpan, K. Pongsasanongkul, C. “Operational safety of maintenance techniciansSuan Sunandha Rajabhat University. Bangkok: Suan Sunandha Rajabhat University”

Nillert, J. Ergonomics of sitting. Bangkok: Department of Orthopedic Surgery and Physical Therapy, Mahidol University, 2017.

NSO. (2020), “Survey of Informal Workers”, Retrieved, January, 2, 2022. from http://www.nso.go.th/sites/2014/

Wongsakoonkan, W., Ju-ngam, B. and Klunbut, P. “Management of Lighting Problems in the Workplace” Journal of Safety and Health, Vol. 14, No. 1, January –June, 2021.

Suwan, K., Thongsri, C., “Risk assessment and analyze the work for the safety of the work Informal workers in the white coconut industry Samut Songkhram Province”, 2019.

TISI. “Thai Community Product Standard, Certificatelist samut songkhram Province”, 2018.

Tiamkao, S. “Repetitive strain injury”, Retrieved, January, 2, 2022 from https://haamor.com/ 2014.

WHO, Copenhagen, “Directive for the assessment of the indoor air, published by the working group on indoor air in the Ministry of Sustainability and Tourism (BMNT) and the Commission for Clean Air of the Austrian Academy of Sciences” (KRL). Vienna. 2014.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29