การประเมินความถูกต้องของข้อมูลความเข้มข้นก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ จากดาวเทียม Sentinel-5P ในกรุงเทพมหานครช่วงมาตรการปิดเมือง จำกัดการระบาดของโควิด-19

ผู้แต่ง

  • ปริชาติ เวชยนต์ ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • ฑิตยา โมกข์บุรุษ ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • พัทธ์ธีรา ตาชูชาติ ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • พิชามญชุ์ ชยาภิวัฒน์ ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

ไนโตรเจนไดออกไซด์, Sentinel-5P, มาตรการปิดเมืองจำกัดการระบาดของโควิด-19, กรุงเทพมหานคร

บทคัดย่อ

ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) เป็นแก๊สที่เป็นพิษกับระบบทางเดินหายใจของมนุษย์ โดยข้อมูลมลพิษทางอากาศจะทำการตรวจวัดโดยสถานีพื้นผิวของกรมควบคุมมลพิษเป็นหลัก ซึ่งมีความแม่นยำสูง แต่เนื่องจากเป็นการตรวจวัดเฉพาะจุดไม่ครบคลุมทุกพื้นที่ ดังนั้น การตรวจวัดด้วยดาวเทียม จึงเป็นวิธีทางเลือกที่ได้รับความนิยม แต่เนื่องจากยังให้ค่าความถูกต้องไม่สูงมาก การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการประเมินความถูกต้องและแก้ค่าอคติของข้อมูลความเข้มข้นก๊าซ NO2 จากดาวเทียม Sentinel-5P แล้วนำมาทดสอบโดยใช้การวิเคราะห์เปรียบเทียบเพื่อหาผลกระทบจากมาตรการปิดเมืองจำกัดการระบาดของโควิด-19 มาตรการปิดเมืองนี้ส่งผลให้มีการลดลงของมลพิษทั่วโลก ผลการประเมินพบว่า ข้อมูลความเข้มข้นก๊าซ NO2 จากดาวเทียม Sentinel-5P มีค่าความถูกต้องร้อยละ 36.14 (R = 0.3614) และ มีค่าคลาดเคลื่อน 8.98x10-4 mol/cm2 (RMSE = 0.000898) เมื่อใช้วิธีแก้ค่าอคติแล้ว ทำให้ข้อมูลความเข้มข้นก๊าซ NO2 มีความถูกต้องเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 68.60 (R = 0.6860) และ มีค่าคลาดเคลื่อนลดลงเป็น 5.02x10-4 mol/cm2 (RMSE = 0.000502) แต่มีแนวโน้มประมาณค่าได้ต่ำกว่าสถานีช่วงที่มีความเข้มข้นก๊าซ NO2 สูง เมื่อนำมาวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของความเข้มข้นก๊าซ NO2 ในช่วงมาตรการปิดเมืองจำกัดการระบาดของโควิด-19 พบว่าแสดงแนวโน้มไม่สอดคล้องกันระหว่างสถานีพื้นผิวและข้อมูลจากดาวเทียม Sentinel-5P ผลที่ได้จากการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าสามารถใช้ข้อมูลจากดาวเทียม Sentinel-5P ในการตรวจติดตามสถานการณ์มลพิษได้ เนื่องจากครอบคลุมพื้นที่ได้กว้าง แต่ต้องมีการปรับปรุงความถูกต้องของข้อมูลให้สูงขึ้น

References

Pollution Control Department, Ministry of Resources Nature and Environment, Situation Report Pollution of Thailand 2020, Bangkok: Style Creative House Co., Ltd., 2021

P. Uttamang, V.P. Aneja, and A.F. Hanna, "Assessment of gaseous criteria pollutants in the Bangkok Metropolitan Region, Thailand," Atmos. Chem. Phys., vol. 18, pp. 12581–12593. August, 2018.

U. Ackermann-Liebrich, "Respiratory and Cardiovascular Effects of NO2 in Epidemiological Studies," In: Encyclopedia of environmental health (J. O. Nriagu, Ed.). Elsevier, Burlington, pp. 840-844. March, 2011.

P. Wetchayont, "Investigation on the Impacts of COVID-19 Lockdown and Influencing Factors on Air Quality in Greater Bangkok, Thailand," Advances in Meteorology, vol. 2021, Article ID 6697707, 11 pages. Februry, 2021.

D. Griffin, X.Y. Zhao, C.A. McLinden, et al., “High-resolution mapping of nitrogen dioxide with TROPOMI: first results and validation over the Canadian oil sands,” Geophys Res. Lett., vol. 46, pp. 1049–1060. January, 2019.

I. Ialongo, H. Virta, H. Eskes, J. Hovila, and J. Douros, “Comparison of TROPOMI/ Sentinel-5 Precursor NO2 observations with ground-based measurements in Helsinki,” Atmos. Meas. Tech., vol. 13, pp. 205–218, December, 2020.

J. Bai, X. Chen, A. Dobermann, H. Yang, K. G. Cassman, and F. Zhang, “Evaluation of NASA satellite- and model-derived weather data for simulation of maize yield potential in China,” Agronomy Journal, vol. 102, no. 1, pp. 9–16, January, 2010.

P. Wetchayont, T. Hayasaka, T. Satomura, S. Katagiri and S. Baimoung, “Retrieval of rainfall by combining rain gauge, ground-based radar and satellite measurements over Phimai, Thailand,” Scientific Online Letters on the Atmosphere, vol. 9, pp. 166-169, November, 2013.

P. Wetchayont, K. Waiyasusri, K. Sumpradit, and P. Nongnang. "Development of GIS Application for Satellite Rainfall Bias Correction," The Journal of Industrial Technology: Suan Sunandha Rajabhat University, vol. 8, no.1, pp. 13-21, June, 2020.

P. Wetchayont, T. Hayasaka, P. Khatri, "Air Quality Improvement during COVID-19 Lockdown in Bangkok Metropolitan, Thailand: Effect of the Long-range Transport of Air Pollutants," Aerosol Air Qual. Res. 21, 200662. June, 2021.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30

How to Cite

เวชยนต์ ป., โมกข์บุรุษ ฑ., ตาชูชาติ พ., & ชยาภิวัฒน์ พ. (2022). การประเมินความถูกต้องของข้อมูลความเข้มข้นก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ จากดาวเทียม Sentinel-5P ในกรุงเทพมหานครช่วงมาตรการปิดเมือง จำกัดการระบาดของโควิด-19. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 10(1), 62–71. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/fit-ssru/article/view/248896