ประสิทธิภาพของผักตบชวาต่อการดูดซับฟอสเฟตในน้ำเสีย จากกระบวนการผลิตปลาร้า

ผู้แต่ง

  • ปิยนุช ใจแก้ว คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาลัยวิทยาศรีนครินทร์วิโรฒ
  • ชาญชัย คหาปนะ ศูนย์พัฒนาและวิเคราะห์สมบัติของวัสดุ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
  • ณภัทร โพธิ์วัน คณะวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

การดูดซับ, ฟอสเฟต, ผักตบชวา, น้ำเสียจากกระบวนการผลิตปลาร้า

บทคัดย่อ

บทความนี้ทำการศึกษาเกี่ยวกับวัสดุดูดซับจากผักตบชวาสำหรับดูดซับฟอสเฟตในน้ำเสียจากกระบวนการผลิตปลาร้า โดยนำผักตบชวาที่ผ่านการบดและร่อนผ่านตะแกรงขนาด 2 มิลลิเมตรนำไปปรับสภาพด้วยการแช่ในสารละลาย NaOH ที่ระดับความเข้มข้นต่าง ๆ กัน ผลการศึกษาพบว่าความเข้มข้นของ NaOH ที่ใช้มีผลต่อค่าความจุในการดูดซับไอโอดีนและหมู่ฟังก์ชันที่เป็นองค์ประกอบของวัสดุและลักษณะทางสัณฐานวิทยา สำหรับร้อยละการดูดซับฟอสเฟตในตัวอย่างน้ำเสียจากการผลิต ปลาร้าของวัสดุดูดซับ พบว่า ผักตบชวาที่ผ่านการปรับสภาพด้วย NaOH 0.7 โมลาร์ มีค่าร้อยละการดูดซับฟอสเฟต เท่ากับ 83.11 ในขณะที่ผลการศึกษาไอโซเทอร์มมีการดูดซับของวัสดุดูดซับที่ไม่ผ่านการปรับสภาพและวัสดุดูดซับที่ผ่านการปรับสภาพด้วย NaOH พบว่า ไอโซเทอร์มมีการดูดซับฟอสเฟตของผักตบชวาที่ผ่านการปรับสภาพด้วย NaOH สอดคล้องกับแบบจำลองการดูดซับของแลงเมียร์ โดยมีค่าความจุในการดูดซับฟอสเฟตสูงสุดเท่ากับ 2.39 มิลลิกรัมต่อกรัม กล่าวได้ว่า ผักตบชวาที่ผ่านการปรับสภาพด้วยสารละลายเบสมีประสิทธิภาพในการดูดซับฟอสเฟตและมีความน่าสนใจสำหรับนำไปประยุกต์ใช้ในกระบวนการบำบัดน้ำเสียต่อไป

References

J. Ponlasan, T. Pattamapitoon,, O. Phewnil., and K. Chunkao., “Wastewater Treatment from Pla Som Production Process through Constructed Wetland”. In: Proceedings of the 13th KU-KPS Conference; 8-9 December 2016. Nakhon Pathom. pp. 1547-1553. 2016. (in Thai).

S. Benyoucef., and M Amrani., “Adsorption of phosphate ions onto low-cost Aleppo pine adsorbent Desalination”, vol 275(1), pp.231-236. 2011.

K. Krishnan., and A. Haridas,. “Removal of phosphate from aqueous solutions and sewage using natural and surface modified coir pith”. Journal of Hazardous Materials, Vol. 152, pp. 527-535. 2008.

P. Prasannam,, “Removal of heavy metal ions from solution using ion exchangers based on hydroxyethyl cellulose”. M.S. thesis, Dept. Eng., Silpakorn University. 2004. (in Thai).

D. Kolodynska., R.Wnetrzak, , J.J. Leahy., and et al.. “Kinetic and Adsorptive Characterization of Biochar in Metal Ions Removal”. Chemical Engineering Journal, Vol.197, pp. 295-305. 2012.

ASTM Committee on Standards. Standard Test Method for Determination of Iodine number of Activated carbons. In annual Book of ASTM Standards. pp. 112-125.

APHA-AWWA. Standard methods for the examination of water and wastewater 4500 - P. 22th Edition. Washington, DC: APHA-AWWA- WEF. 2012.

S. Waiyasusri., “Phosphate removal in wastewater by adsorption on calcium carbonate and calcium oxide from eggshell”. The Journal of KMUTNB. Vol. 26(3), pp. 475-486. 2016. (in Thai).

W Wan Ngah., and M. Hanafiah., “Removal of heavy metal ions from wastewater by chemically modified plant wastes as adsorbents”. Bioresource Technology. Vol.99, pp.3935–3948. 2008.

A.E. Ofomaja., E.B. Naidoo., and S.J. Modise., “Removal of copper (II) from aqueous solution by pine and base modified pine cone powder as biosorbent”. Journal of Hazardous Materials, Vol.168, pp. 909–917. 2009.

S. Pillai., D. Mullassery., B. Fernandez., and et al. “Biosorption of Cr (VI) from aqueous solution by chemically modified potato starch: Equilibrium and kinetic studies”. Ecotoxicology and Environmental Safety. Vol. 92, pp.199-205. 2013.

S. Polpasert., “Pretreatment of lignocellulose materials for ethanol production”. Journal of Science and Technology. Vol 5, pp. 641-649. 2014. (in Thai).

F. Nady.j E. Ola., and B. Laila., “Effectiveness of alkali-acid treatment in enhancement the adsorption capacity for rice straw: The removal of methylene blue dye”. Physical chemistry. pp.1-15. 2013.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30