การพัฒนาหมึกพิมพ์สกรีนจากวัสดุธรรมชาติ โดยใช้สารยึดติดจากเมล็ดมะขาม สารให้สีจากผลก้างปลาเครือและผงมะเกลือ

ผู้แต่ง

  • วีระ โชติธรรมาภรณ์ สาขาวิชาอุตสาหกรรมการพิมพ์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

หมึกพิมพ์สกรีน, เมล็ดมะขาม, ผลก้างปลาเครือ, ผงมะเกลือ, ค่าความดำ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองโดยมีวัตถุประสงค์ในการวิจัย 1) เพื่อพัฒนาหมึกพิมพ์สกรีนโดยใช้สารยึดติดจากเมล็ดมะขามโดยบดเป็นผง สารให้สีจากผลก้างปลาเครือและผงมะเกลือ 2)เพื่อวิเคราะห์การยึดติดของเมล็ดมะขามและสารให้สีจากผลก้างปลาเครือและผงมะเกลือ โดยทดลองผสมสารยึดติดที่มีสัดส่วนของผงเมล็ดมะขาม 5 กรัม 10 กรัม และ 15 กรัมในน้ำ 100 มิลลิลิตร ในการทดลองทำหมึกพิมพ์สกรีนจากผงเมล็ดมะขาม โดยสีที่หนึ่งเป็นสีม่วง ใช้สารให้สีจากผลก้างปลาเครือ และสีที่สองเป็นสีดำ ใช้สารให้สีจากผงมะเกลือที่ส่วนผสมน้ำ 100 มิลลิลิตร : ผงเมล็ดมะขาม 10 กรัม : ผลก้างปลาเครือ : 10 กรัม 20 กรัม 30 กรัม 40 กรัม 50 กรัม และการใช้สารให้สีจากผงมะเกลือที่ส่วนผสมน้ำ 100 มิลลิลิตร : ผงเมล็ดมะขาม 10 กรัม : ผงมะเกลือ : 10 กรัม 20 กรัม 30 กรัม 40 กรัม 50 กรัม หมึกพิมพ์ที่ผสมในสัดส่วนต่าง ๆ นำมาทดลองพิมพ์ลงบนผ้าฝ้ายด้วยระบบการพิมพ์สกรีน และวัดค่า L* a* b* วันละ 1 ครั้ง เป็นระยะเวลา 7 วันด้วยเครื่องสเปกโทรโฟโตมิเตอร์ (Spectrophotometer) และทดสอบความทนทานของสีต่อการซัก (wash fastnesss) จำนวน 5 ครั้ง และทำการวัดค่า L* a* b* และการวัดค่าความเข้ม ผลการวิจัยจากการทดลองพิมพ์สารยึดติดที่สัดส่วนของน้ำ 100 มิลลิลิตร ต่อผงเมล็ดมะขาม 10 กรัม พบว่า ภาพพิมพ์มีความคมชัดครบถ้วนมากที่สุด ค่าการไหลของหมึกพิมพ์ 0.33 เซนติเมตร/นาที 2.17 เซนติเมตร/นาที และ 8.57 เซนติเมตร/นาที และค่าความหนืด 1037 มิลลิปาลคาล (mPas) และใช้หมึกพิมพ์จากผลก้างปลาเครือที่สัดส่วนของน้ำ 100 มิลลิลิตร : ผงเมล็ดมะขาม 10 กรัม : ผลก้างปลาเครือ 30 กรัม พบว่า สีของภาพที่พิมพ์ออกมาสม่ำเสมอกัน คมชัด มีความเรียบเนียนมากที่สุด และมีค่า L* 63.75 a*2.89 b* -5.08 และ ค่าความดำท่ากับ 1.78 สำหรับหมึกพิมพ์จากผงมะเกลือ พบว่า น้ำ 100 มิลลิลิตร : ผงเมล็ดมะขาม 10 กรัม : ผงมะเกลือ 30 กรัม ผลการพิมพ์ได้สีที่ออกมาสม่ำเสมอกัน คมชัด และมีค่า L* 30.99 a*2.57 b* -8.23 และค่าความดำเท่ากับ 1.83 ในส่วนผลการคงทนต่อการซักของหมึกพิมพ์จากสารให้สีผลก้างปลาเครือพบว่า L* ตั้งแต่ซักครั้งที่ 1 มีความเปลี่ยนแปลงไปในค่าสว่างมากขึ้น และค่า a* เปลี่ยนแปลงไปในสีแดงน้อยลงและค่า b* มีความเปลี่ยนแปลงไปในสีน้ำเงินมากขึ้น และค่าความดำลดลงเหลือค่าเท่ากับ 1.45 ในส่วนหมึกพิมพ์จากสารให้สีผงมะเกลือของค่า L* มีความเปลี่ยนแปลงไปในสว่างมากขึ้นจากการซักครั้งแรก ค่า a* มีความเปลี่ยนแปลงไปในสีแดงมากขึ้นจากการซักครั้งแรก ค่า b* มีความเปลี่ยนแปลงไปในสีน้ำเงินน้อยลงจากการซักครั้งแรกและค่าความดำลดลงมีค่าเท่ากับ 1.50

References

ChanThip Suesat. (16 June 2010). Chemicals in the textile industry. [Online]. Available: http://www.chemtrack.org/News-Detail.asp?TID=4&ID=24

Viorica Cazac, Jana Cîrja, Emilia Balan and Cristina Mohora, “The study of the screen printing quality depending on the surface to be printed,” 22nd International Conference on Innovative Manufacturing Engineering & Energy (IManE&E 2018), Chisinau, Moldova. vol. 178, 31 May - 2 June 2018, pp. 1-6.

Wichan Wanphonthong. “Dyeing with Natural Colors” Journal of the Department of Science Service, vol. 53, no. 168, pp. 35-37, May 2005.

Helmut Kipphan, Handbook of Print Media, 1st ed. Germany: Springer-Verlag Berlin Heidelberg, 2001.

Pratoomtong Trirat, “Screen ink, Development of screen inks from natural mordant and colorant,” Art and Architecture Journal Naresuan University, vol. 8, no. 1, January - June 2017. pp. 182-195,

Wirunporn Srimuang and Chanasda Chullasthira, “An Extracted Substance of Tamarind Seed for Design Creation on Cotton Fabric,” National Academic Conference “Homepoom No. 3 : Wisdom to the Future : Wisdom to the Future” Faculty of Architecture Khon Kaen University Thailand, 15-16 June 2017, pp. 457-466.

Wancheng Sittikijyothin. (2016). Physicochemical properties of gum extracted from seeds found in Thailand. [Online]. Available: https://doi.nrct.go.th/ListDoi/listDetail?Resolve_DOI=10.14457/BUU.res.2011.53

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30