การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมในแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์
คำสำคัญ:
การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม, การทดลอง, แบบสุ่มสมบูรณ์, แบบสุ่มสมบูรณ์ภายในบล็อกบทคัดย่อ
การวิเคราะห์การทดลองทั่วไปจะมีการควบคุมปัจจัยภายนอกที่อาจมีผลต่อค่าที่สังเกตได้จากหน่วยทดลอง แต่ในการทดลองบางประเภท ผู้ทดลองไม่สามารถควบคุมปัจจัยภายนอกที่อาจแทรกซ้อนเข้ามาในหน่วยทดลองได้ หากผู้ทดลองนำค่าที่ได้จากการสังเกตในหน่วยทดลองไปวิเคราะห์ความแปรปรวน เพื่อพิจารณาอิทธิพลของทรีตเมนต์ต่าง ๆ ผลที่ได้จากการวิเคราะห์จะไม่มีความน่าเชื่อถือ ดังนั้นหากการทดลองต้องการศึกษาอิทธิพลที่เกิดจากปัจจัยที่สนใจในการวิเคราะห์จะต้องแยกปัจจัยที่ไม่สนใจเหล่านี้ออกก่อน เพื่อให้ทราบผลของปัจจัยที่สนใจอย่างแท้จริง วิธีการวิเคราะห์ตามวิธีนี้ เรียกว่า การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมหรือการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบโคแวเรียนซ์ ในการทดลอง เรียกปัจจัยที่ไม่สนใจเหล่านี้ว่า ตัวแปรร่วมหรือปัจจัยร่วม การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมนั้น ตัวแปรอิสระหรือระดับปัจจัยนั้นเป็นตัวแปรเชิงกลุ่ม ส่วนตัวแปรร่วมและตัวแปรตามเป็นตัวแปรเชิงปริมาณ ซึ่งการจัดผังการทดลองก็จัดตามแผนการทดลองที่สนใจ เช่น แบบสุ่มสมบูรณ์ แบบสุ่มสมบูรณ์ภายในบล็อกหรือแบบอื่น ๆ แต่ในบทคาวมนี้จะอธิบายเฉพาะจัดตามผังการทดลองแบบ เท่านั้น
References
M. C. Douglas, Design and Analysis of Experiments, Singapore: John Wiley and Sons (Asia) Inc, 2002.
S. Sinsomboon, agricultural experiment planning, Bangkok: Department of Applied Statistics Faculty of Science King Mongkut's University of Technology Ladkrabang, 2002.
Y. Kaiyawan, Planning an Experiment for Research, Bangkok: Chulalongkorn University Press, 2002.
P. Chutima, Engineering Experiment Design, Bangkok: Chulalongkorn University Press, 2002.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว