การพัฒนาเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบตากแห้งโดยตรงสำหรับอบแห้งกล้วยน้ำว้าใช้ในระดับชุมชน

ผู้แต่ง

  • กฤษฎางค์ ศุกระมูล คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • สัญลักษณ์ กิ่งทอง คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • จรูญ แก่นจันทร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • สถาปัตย์ ชะนากลาง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • สถาปัตย์ ชะนากลาง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • มนัญญา คำวชิระพิทักษ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

เครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบตากแห้งโดยตรง, กล้วยน้ำว้า, ชุมชน

บทคัดย่อ

การลดปริมาณความชื้นในกล้วยน้ำว้าเป็นขั้นตอนสำคัญในการรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ทำได้โดยการตากแดดโดยตรงหรือด้วยเครื่องอบแห้ง ในบทความนี้จะนำเสนอการพัฒนาเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบตากแห้งโดยตรง ตามด้วยการตรวจสอบทดลองเกี่ยวกับการอบแห้งกล้วยน้ำว้า เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของเครื่องอบแห้งกับการตากแดดแบบเปิด เปลี่ยนรูปพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานความร้อนโดยตัวสะสมพลังงานแสงอาทิตย์จากนั้นใช้พัดลมระบายอากาศที่ติดตั้งบริเวณห้องอบแห้งมีการถ่ายเทความร้อนแบบพาบังคับภายในห้องอบแห้ง ความกว้าง 1.20 เมตร ยาว 0.80 เมตร สูง 1.00 เมตร ตะแกรงหรือถาดในตู้อบ ใช้ตะแกรงแสตนเลส ขนาด 55x75 เซนติเมตร จำนวน 2 แผ่นมีประตูเปิดตู้แบบบานพับ ผนังโดยรอบรวมทั้งพื้นเป็นฉนวนกันความร้อน มีความหนา 2.5 เซนติเมตร โครงสร้างตู้อบทำด้วยอลูมิเนียมหนา 1.5 มิลลิเมตร ทาสีดำเพื่อดูดซับความร้อนได้ดีจากการศึกษาการกระจายความร้อนของตู้ทั้งสองแบบพบว่าตู้อบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์มีการกระจายความร้อนที่ต่ำกว่าเครื่องอบแห้งแบบลมร้อน มีช่วงอุณหภูมิอยู่ระหว่าง 31-78 องศาเซลเซียสในช่วงที่ทดลอง 09.00-16.00 น. มีอุณหภูมิเฉลี่ย เท่ากับ 62.68 องศาเซลเซียส ข้อดีของการใช้การอบแห้งชนิดนี้คือสามารถป้องกันลมฝน เชื้อรา ฝุ่นละออง มูลนก จุลินทรีย์และอื่น ๆการปนเปื้อนระหว่างการอบแห้งกล้วยน้ำว้า และใช้พลังงานทดแทนจากพลังงานแสงอาทิตย์

References

Khama R, Aissani F and Alkama R. (2016). Design and performance of an industrial-scale indirect solar dryer. Journal of Engineering Science and Technology, 11( 9), 1263-1281.

Fuller R J. (1993). Solar Drying of Horticultural Produce: Present Practice and Future Prospects. Postharvest News and Information 4(5): 31 N-136 N.

Nnaemeka R. Nwakuba Osita C. Chukwuezie Gladys U. Asonye Sabbas N. Asoegwu. Influence of process parameters on the energy requirements and dried sliced tomato quality. First published: 17 February. (2020). Engineering Reports. Wiley Online Library. https://doi.org/10.1002/eng2.12123

S. VijayaVenkataRamana, S. Iniyanb, Ranko Goicc. A review of solar drying technologies. (2012). Renewable and Sustainable Energy Reviews. 16 2652– 2670.

Esper A, Lutz K, Muhlbauer W. Development and testing of plastic film solar air heaters. (1989). Solar Wind Technol; 6(3): 189–95.

Ahmad NT. Agricultural solar air collector made from low cost plastic packing film. (2001). Renew Energy 23(3–4):663–71.

Saleh A, Badran I. Modeling and experimental studies on a domestic solar dryer. (2009). Renew Energy 34(10): 2239–45.

Tiris C, Tiris M, Dincer I. Experiments on a new small-scale solar dryer. (1996). Appl Therm Eng 16(2): 183–7.

Khanna ML, Singh NM. Industrial solar drying. Solar Energy (1967) 11(2):87–9.

Lutz K, Muhlbauer W, Muller J, Reisinger G. Development of a multi-purpose solar crop dryer for arid zones. (1987). Solar Wind Technol 4 (4): 417–24.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-13