การเปรียบเทียบการถ่ายเทความร้อนของฝ้าไวนิลกับฝ้ายิปซั่ม

ผู้แต่ง

  • จิระศักดิ์ พุกดำ สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรอาคาร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  • ติณณภพ แพงผม สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

ฝ้าเพดาน, ไวนิล, การถ่ายเทความร้อน, การพาความร้อน, การคายความร้อน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาค่าการถ่ายเทความร้อนผ่านฝ้าเพดานเข้าสู่ตัวบ้านโดยใช้ฝ้าเพดานที่ทำมาจากวัสดุไวนิลเปรียบเทียบกับฝ้าเพดานยิปซั่ม โดยวิเคราะห์ผลของการถ่ายเทความร้อนผ่านฝ้าเพดานเข้าสู่ตัวบ้านด้วยวิธีการพาความร้อน และพฤติกรรมการคายความร้อนของวัสดุในช่วงเวลากลางวัน และกลางคืน บ้านสองหลังถูกสร้างขึ้นมาใช้ในทดลอง โดยแต่ละหลังมีขนาด 1 m x 1 m x 1m มุงหลังคาด้วยกระเบื้องคอนกรีตแบบลอน โดยด้านใต้หลังคาไม่มีการติดตั้งฉนวนและมีมุมหลังคา 30º ผลการศึกษาพบห้องใต้หลังคามีค่าอุณหภูมิ 43.7-44 ºC อุณหภูมิที่ฝ้าเพดานไวนิลด้านบนและด้านล่างสูงกว่าฝ้าเพดานยิปซั่มในช่วงเวลากลางวันมีค่าเฉลี่ย 0.42ºC และ 0.65 ºC ขณะที่ในช่วงกลางคืนมีค่าอุณหภูมิต่ำกว่าฝ้าเพดานยิปซั่มเฉลี่ย 1.15ºC และ 1.1ºC อุณหภูมิห้องของบ้านทดสอบมีค่าต่ำกว่าบ้านอ้างอิงในช่วงเวลากลางคืนเฉลี่ย 0.8ºC ค่าการถ่ายเทความร้อนโดยการพาความร้อนของฝ้าไวนิลสูงกว่าฝ้าเพดานยิปซั่มเฉลี่ยตลอดทั้งวัน 2.37 W/m2.K และมีค่าต่ำกว่าในเวลากลางคืน 1.81 W/m2.K ในขณะที่ค่าการถ่ายเทความร้อนโดยใช้หัววัดมีค่าการคายความร้อนออกได้ดีกว่าฝ้ายิปซั่มเฉลี่ย 1.64 W/m2 ในเวลากลางคืน

References

Joshep Khedari, Jongjit Hirunlabh, Tika Bunnag. “Experimental study of a roof solar collector towards the natural ventilation of new houses”, Energy and Building, Vol.26, pp.159-164, May.1997

Phiraphat S, Prommas R, Tondee T, Puangsombut W., “Thermal performance of the PV roof solar collector”, in Proceeding of 5th International Conference on Sustainable Energy and Green Architecture, Thailand. 2016, pp.315-322.

Amornleetrakul O, Puangsombut W, Hirunlabh J., “Field investigation of the small house with the ventilated roof tile”, Advanced Materials Research, Vol. 931-932, pp. 1233-1237, May 2014.

Ne´stor Fonseca Diaz , Jean Lebrun, and Philippe Andre´, "Experimental study and modeling of cooling ceiling systems using steady-state analysis", international journal of refrigeration, Vol.33, pp. 793–805, June 2010.

Yong-Li Yuan, Xiang Zhou, and Xu Zhang, "Experimental Study of Heat Performance on CeilingRadiant Cooling Panel", 9th International Symposium on Heating, Ventilation, and Air Conditioning (ISHVAC) and the 3rd. International Conference on Building Energy and Environment (COBEE), Procedia Engineering 121, pp.2176 – 2183, 2015.

Chen Zhang, Martin Heine Kristensen, Jakob Søland Jensen, Per Kvols Heiselberg, Rasmus Lund Jensen, and Michal Pomianowski, "Parametrical analysis on the diffuse ceiling ventilation by experimental and numerical studies", Energy and Buildings, Vol 111, pp. 87–97, Jan 2016.

Martin Heine Kristensen, Jakob Søland Jensen, and Per Kvols Heiselberg, "Field study evaluation of diffuse ceiling ventilation in classroom during real operating conditions", Energy and Buildings, Vol.138, pp. 26–34, Mar 2017.

Nankongnab N, Puangsombut W, Insiripong S, Hirunlabh J, Khedari J, Shin UC., “Field investigation on hygrothermal performance of fullvent perforated soffit and ceiling”, Solar Energy, Vol. 80, pp. 936-948, Aug 2006.

Kwanchai Jantana and Jirasak Pukdum, “Experimental investigation on heat gain reduction using a vinyl perforated ceiling”, International Conference on Alternative Energy in Developing Countries and Emerging Economies, 25-26, Thailand, pp.586-591, May 2017.

Jirasak Pukdum, Somchai Thipeye, and Tinnapob Phengpom, “Heat gain reduction through ceiling by PV ventilation system” The Journal of Industrial Technology Suan Sunandha Rajabhat University, Vol 8, No. 1, pp.39-47, Jun 2020.

J. Yu, L. Sun, C. Ma, Y. Qiao, H. Yao, “Thermal degradation of PVC: a review”, Waste Manage. Vol. 48, pp.300–314, Feb 2016.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-13