การปรับปรุงกระบวนการผลิตมะพร้าวขาว จังหวัดสมุทรสงคราม

ผู้แต่ง

  • ฤดี นิยมรัตน์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • สมเกียรติ กอบัวแก้ว คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ไสว ศิริทองถาวร คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

การปรับปรุงกระบวนการ, กระบวนการผลิตมะพร้าวขาว, จังหวัดสมุทรสงคราม

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องการปรับปรุงกระบวนการผลิตมะพร้าวขาว จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการผลิตมะพร้าวขาว จังหวัดสมุทรสงคราม ตั้งแต่เริ่มกระบวนการผลิต ปอกเปลือก กะเทาะกะลา ขูดผิวเนื้อมะพร้าว เป็นมะพร้าวขาวพร้อมจำหน่าย และเพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิตมะพร้าวขาว จังหวัดสมุทรสงคราม เทคนิคที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ECRS ห่วงโซ่คุณค่า ความสูญเปล่า 7 ประการ และเครื่องมือคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลได้แก่ผู้บริหารและพนักงานของโรงงานผลิตมะพร้าวขาว จังหวัดสมุทรสงคราม ผลการศึกษาพบว่ากระบวนการผลิตมะพร้าวขาวมีปัญหาเรื่องเครื่องจักรดึงกากใยมะพร้าวหยุดทำงาน มีกิจกรรมที่ไม่เพิ่มคุณค่าจำนวน 1 กิจกรรม และกิจกรรมที่ไม่เพิ่มคุณค่าแต่จำเป็นจำนวน 10 กิจกรรม นำสู่การปรับปรุงกระบวนการผลิต โดย (1) ทำมาตรฐานการทำงานสำหรับการใส่ลงในเครื่องดึงกากใยมะพร้าว (2) รวมกิจกรรมการเตรียมขนส่งเคลื่อนย้ายภายในซึ่งเป็นกิจกรรมที่ไม่เพิ่มคุณค่าแต่จำเป็น ให้เป็นกิจกรรมเดียวกับการปฏิบัติของกิจกรรมหลัก (3) เปลี่ยนภาระงานหลักและปรับเปลี่ยนจำนวนพนักงานตามกระบวนการที่เปลี่ยนแปลง และ (4) ตัดกิจกรรมที่ไม่เพิ่มคุณค่า และกิจกรรมที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการควบคุมคุณภาพกระบวนการผลิตและสินค้าที่ได้ ผลการนำแผนการปรับปรุงกระบวนการไปใช้งานโดยพบว่า หลังการปรับปรุงกระบวนการผลิตมะพร้าวขาว จังหวัดสมุทรสงครามมีจำนวนกิจกรรมลดลง 12 กิจกรรม ระยะทางการเคลื่อนที่รวมลดลง 2.6 เมตร และเวลาที่ใช้ตลอดรอบกระบวนการลดลง 17.11 นาที

References

Ornkapat Bualom, Development of the Business Community, A Case Study of the Business Community Development of Coconut Products of the Samut Songkhram Province, Nonthaburi: Faculty of Business Administration and Information Technology, Rajamangala University of Technology Suvarnabhumi, 2014.

Samut Songkhram Provincial Agriculture and Cooperatives Office, Agricultural and Cooperative Development Plan of Samut Songkhram Province (2018-2022), Samut Songkhram: Author, 2020.

Community Organizations Development Institute (Public Organization), Performance Report for Fiscal Year 2020 (1 October 2019-30 September, Bangkok: Ministry of Social Development and Human Security, 2020.

Ohno, T., Toyota Production System; Beyond large scale production. Portland, Oregon: Productivity Press, 1988.

Achara Pongpittaya. (2017). Improving the Production Process of Calico Using ECRS Principles, A Case Study of a Company in Phra Pradaeng District, Samut Prakan Province. Journal of Management Science Review, Thepsatri Rajabhat University, 8(2), 40-49.

Krittin Choonchuonchoti. (2014). The Improvement of Production Process Efficiency: A Case Study: Lan Dao Drinking Water, Mae Fah Luang University, Chiang Rai Province. Retrived from https://tdc.thailis.or.th/

Jintarat Srisuphan. (2014). Process Improvement in an Automotive Parts Factory. Industrial Management Engineering, Department of Industrial Management, King Mongkut’s University of Technology North Bangkok.

Kritchai Anakkamanee, 5S and Visual Management, Basic Principles that should not be overlooked, Bangkok: Thailand Productivity Institute, 2018.

Porntipa Ongkunaruk, Condition and Direction of Community Logistics Development, Bangkok: Department of Agro-Industrial Technology, Faculty of Agro-Industry, Kasetsart University, 2020.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-31