การประเมินความเสี่ยงด้านการยศาสตร์และสภาพแวดล้อมการทำงาน กลุ่มอาชีพทำมะพร้าวขาว จังหวัดสมุทรสงคราม

ผู้แต่ง

  • อรัญ ขวัญปาน คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

ความเสี่ยงด้านการยศาสตร์, สภาพแวดล้อมการทำงาน, มะพร้าวขาว

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการและสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อประเมินความเสี่ยงด้านการยศาสตร์ และเพื่อศึกษาอาการไม่สบายทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อในส่วนต่างๆ ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทำมะพร้าวขาว เลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มโดยใช้การคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง และเก็บข้อมูลด้วยเครื่องมือวัดด้านสุขศาสตร์ ได้แก่ เครื่องวัดเสียง แสงสว่าง ความร้อน ความสั่นสะเทือน และฝุ่น และใช้แบบประเมิน ได้แก่ แบบประเมินอาการไม่สบายทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ และแบบประเมินท่าทางในการทำงาน (RULA) วิเคราะห์ผลด้วยสถิติเชิงพรรณนา คือ ความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน คือ One-sample t Tests, Independent-sample t Tests  และ One-way ANOVA

            ผลการวิจัย พบว่า การศึกษาผลการประเมินความเสี่ยงด้วยแบบประเมิน RULA ขั้นตอนการนำมะพร้าวโยนขึ้นรถ การปอกเปลือกมะพร้าวชั้นนอก การการกะเทาะกะลามะพร้าว ค่าเฉลี่ย = 7 ซึ่งหมายถึงงานนั้นมีปัญหาทางการยศาสตร์ และต้องมีการปรับปรุงทันที

             การตรวจวัดประเมินค่าแสงสว่าง ค่าความร้อน ค่าความสั่นสะเทือนในการทำงานมีค่าระดับที่ได้เป็นไปมาตรฐานค่าความเข้มกฎหมายกำหนดไว้ จากการตรวจวัดประเมินค่าเสียงพบว่า จุดที่ 1 การปอกผิวมะพร้าวขาว มีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน โดยมีค่าเฉลี่ย TWA8 เท่ากับ 59.91 dB(A) ซึ่งอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน แต่จุดที่ 2-4 มีค่าเกินเกณฑ์มาตรฐาน โดยมีค่าเฉลี่ย TWA8 เท่ากับ 129.62 dB(A), 119.6 dB(A) และ 111.45 dB(A) ตามลำดับ เกินค่ามาตรฐานที่กำหนด และการตรวจวัดประเมินค่าฝุ่น ค่าเฉลี่ยปริมาณฝุ่นละอองขนาด 2.5 ไมครอน ที่มีปริมาณมากที่สุดคือ จุดที่ 2 งานขนมะพร้าวขึ้นรถ (101.912 µg./m3) ขนาด 10 ไมครอน ที่มีปริมาณมากที่สุดคือ จุดที่ 1 งานปอกเปลือกมะพร้าวชั้นนอก (148.516 µg./m3) ด้านการประสบอุบัติเหตุ พบว่า เพศ อายุงาน และชั่วโมงการทำงานต่อวันที่ต่างกัน ไม่มีความแตกต่างของการเกิดอุบัติเหตุ

References

Buasie, S., Visam, D. (2020). The efficiency of the mask filtering dust PM2.5. Bangkok: Suan Sunandha Rajabhat University.

Khanaphan, K., P. (2019). Ergonomic Risk Assessment of Sugarcane cutting and carry on truck workers in Kumphawapi District, Udon Thani Province. Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences : Vol.3 No.1 January-March 2019

Kwanpan, K. , Pongsasanongkul, C. (2012). Operational safety of maintenance technicians Suan Sunandha Rajabhat University. Bangkok: Suan Sunandha Rajabhat University.

National Statistical Office. (2020). Summary of important results of the survey of informal workers 2020. Ministry of Digital for the economy and society.

Nillert, J. (2017). Ergonomics of sitting. Bangkok: Department of Orthopedic Surgery and Physical Therapy, Mahidol University.

Phirom, T., Worachetwarawat, P. (2012). Study of sedentary fatigue of sewing workers in the garment industry. Songkhla: Rajamangala University of Technology Sriwichai.

Wichairum, S. (2009). A study of Risk Factors of Construction worker. Bangkok: Graduate School, Dhurakij Pundit University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-31