การพัฒนาสมรรถนะการสร้างนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษาครู โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบย้อนกลับและการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

ผู้แต่ง

  • กรรณิการ์ ภิรมย์รัตน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

สมมรถนะการสร้างนวัตกรรม, คุณธรรมจริยธรรม, คณะครุศาสตร์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินสมรรถนะการสร้างนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษาครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบย้อนกลับและการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน และ 2) เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะการสร้างนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษาครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา จำแนกตามสาขาวิชา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนัน จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินสมรรถนะการสร้างนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ซึ่งเป็นแบบมาตรประเมินค่า 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test แบบ Independent

ผลการศึกษาพบว่า 1) นักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยมีสมรรถนะการสร้างนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม โดยรวมอยู่ในระดับดีมาก 2) นักศึกษาสาขาวิชาสังคมศึกษามีสมรรถนะการสร้างนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม โดยรวมอยู่ในระดับดีมาก 3) ผลการเปรียบเทียบสมรรถนะการสร้างนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยและสาขาวิชาสังคมศึกษา พบว่า นักศึกษาทั้งสองสาขาวิชามีสมรรถนะการสร้างนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมโดยรวมไม่แตกต่างกัน

References

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2543). การวัดด้านจิตพิสัย. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). คุณธรรมขั้นพื้นฐาน 8 ประการ. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

ประกาศคุรุสภา เรื่อง การรับรองปริญญาตามมาตรฐานวิชาชีพ หลักสูตร 4 ปี พ.ศ.2563. (2563, 2 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 137 ตอนพิเศษ 140 ง. หน้า 13-15.

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. (2562). หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2562). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัย.

พิสณุ ฟองศรี. (2551). วิจัยชั้นเรียน: หลักการและเทคนิคปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: ด่านสุทธาการพิมพ์.

พีระ พนาสุภน. (2558). [ออนไลน์]. การออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบมองย้อนกลับ. [สืบค้นเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2564]. จาก http://www.peerapanasupon.com/wp-content/uploads/2014/06/Backward-Design-21stCentury.pdf.

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2552). การออกแบบการเรียนรู้ย้อนกลับ. สารานุกรมวิชาชีพครู เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา.

ทิศนา แขมมณี. (2552). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพมหานคร: ด่านสุทธาการพิมพ์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น: ฉบับปรับปรุงใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

Heather, L. R. & Katherine, D. K. (2017). A Planning Tool for Incorporating Backward Design, Active Learning, and Authentic Assessment in the College Classroom. College Teaching, 65(1), 17-27.

อัครินทร์ ทองขาว. (2561). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือที่มีการจัดกิจกรรมแบบย้อนกลับเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณโดยใช้เครือข่ายสังคมสำหรับนักศึกษาปริญญาตรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, มหาสารคาม.

นราวิชญ์ ศรีเปารยะ และพงศ์ประเสริฐ หกสุวรรณ. (2562). การพัฒนาระบบการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศการศึกษา สำหรักนักศึกษาวิชาชีพครู. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 13(1), 247-262.

ธีราภรณ์ พลายเล็ก ธีรภัทร กิจจารักษ์ และวันวิสาข์ หมื่นจง. (2564). การศึกษาสมรรถนะการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ของนักศึกษาครู สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(10), 337-350.

สุธี ไทยเกิด. (2563). การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะของครูวิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1, 5(2), 14-25.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-12-2022