จริยธรรมในการตีพิมพ์

         วารสารวิชาการ สถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1  ได้กำหนดความรับผิดชอบทางจริยธรรมของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการพิมพ์เผยแพร่บทความ ดังนี้

         1. บทบาทหน้าที่และจริยธรรมของบรรณาธิการและกองบรรณาธิการ (Editor)

    • พิจารณาตรวจสอบความซ้ำซ้อนหรือพิมพ์ซ้ำของบทความที่ส่งมาพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร
    • พิจารณาความสอดคล้องของบทความวิจัยกับเป้าหมายและขอบเขตของวารสารเป็นหลัก
    • ตรวจสอบความถูกต้องของบทความวิจัยตามข้อกำหนดและเงื่อนไขต่างๆที่วารสารได้วางไว้
    • ใช้เหตุผลตามหลักวิชาการในการพิจารณาคุณภาพบทความวิจัย โดยไม่มีอคติต่อผู้นิพนธ์
    • ต้องไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้นิพนธ์หรือผู้ประเมินบทความที่ส่งมาพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร
    • ตรวจสอบข้อมูล ความน่าเชื่อถือและถูกต้อง ตามมาตรฐานและจริยธรรมในแต่ละสาขา

         2. บทบาทหน้าที่และจริยธรรมของผู้นิพนธ์ (Author)

    • ชื่อผู้นิพนธ์ที่ระบุไว้ในบทความ ต้องเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในกระบวนการดำเนินการวิจัย
    • บทความที่ส่งพิมพ์เผยแพร่ ต้องไม่เคยมีการพิมพ์เผยแพร่ในวารสารอื่นใดมาก่อน
    • สาระหรือรูปภาพที่ใช้ประกอบการนิพนธ์ ต้องระบุในรายการอ้างอิงอย่างครบถ้วน
    • บทความที่ส่งพิมพ์เผยแพร่ ต้องไม่มีการสร้างข้อมูลเท็จ หรือตกแต่งข้อมูล แต่ประการใด
    • การเก็บข้อมูล มีความน่าเชื่อถือและถูกต้อง ตามมาตรฐานและจริยธรรมในแต่ละสาขา
    • ต้องรับผิดชอบต่อความถูกต้องของเนื้อหาสาระต่างๆที่ระบุไว้ในบทความที่ส่งพิมพ์เผยแพร่
    • ขอให้แนบหนังสือรับรองจริยธรรมจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์หรือสัตว์ทดลอง หากผลงานเป็นการวิจัยและทำการทดลองในคนหรือสัตว์ทดลอง ที่อาจส่งผลกระทบต่อศักดิ์ศรี สิทธิ ความปลอดภัย และสุขภาวะของคน ทั้งนี้การอนุมัติให้ลงตีพิมพ์ขึ้นอยู่กับการพิจารณาจากกองบรรณาธิการวารสารฯ ถือเป็นที่สิ้นสุด

         3. บทบาทหน้าที่และจริยธรรมของผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ (Reviewer)

    • ประเมินบทความโดยใช้หลักการทางวิชาการเป็นฐาน เฉพาะสาขาที่ตนเชี่ยวชาญเท่านั้น
    • ประเมินในด้านคุณค่าทางวิชาการ ความถูกต้องของกระบวนการ และการอ้างอิงที่ถูกต้อง
    • ประเมินโดยคำนึงถึงคุณภาพของบทความตามสภาพจริงปราศจากอคติหรือความขัดแย้งใดๆ
    • ต้องไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้นิพนธ์บทความที่ส่งมาพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร