การยับยั้งเชื้อแบคทีเรียของสารสกัดหยาบจากพืชสมุนไพรที่พบบริเวณ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ต่อเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดกลิ่นเท้า

Main Article Content

ปวีณา วัดบัว
คุณานนท์ อั้นเต้ง
ณัฐวุฒิ วงษ์วิชา
ธนพล วัฒนาธร
อภิรักษ์ อินทชิต
นิจิโรจน์ จรัสบวรพันธ์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาฤทธิ์การยับยั้งเชื้อแบคทีเรียของสารสกัดหยาบจากพืชสมุนไพรที่พบบริเวณโรงเรียน นายร้อยพระจุลจอมเกล้า 20 ชนิด ที่มีผลต่อเชื้อแบคทีเรีย Bacillus subtilis, Staphylococcus aureus และเชื้อแบคทีเรียรหัส F1, F2 ที่ได้จากเท้าของผู้ที่มีกลิ่นเท้า โดยสารสกัดหยาบสกัดด้วยน้ำ, 70% เอทานอล, และ 70% ไอโซโพรพานอล เมื่อนำไปทดลองด้วยวิธี agar well diffusion ผลการทดลองพบว่า มีสารสกัดหยาบที่สามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย B. subtilis, S. aureus, F1 และ F2 จำนวน 22, 11, 17 และ 16 ชนิด ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่า มีสารสกัดหยาบจำนวน 11 ชนิด สามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรียทั้ง 4 ชนิดได้ เมื่อนำสารสกัดทั้ง 11 ชนิด มาหาค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่มีฤทธิ์ในการยับยั้ง (MIC) และฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (MBC) ต่อเชื้อแบคทีเรียทั้ง 4 ชนิด พบว่ามีค่าอยู่ในช่วง 1.56 – 12.5 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร ยกเว้นสารสกัดด้วย 70% ไอโซโพรพานอล จากใบพลูและต้นลูกใต้ใบที่ไม่สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย B. subtilis และสารสกัดด้วย 70% ไอโซโพรพานอล จากต้นลูกใต้ใบ และสารสกัดด้วย 70% เอทานอล จากใบพลู ใบทับทิม ต้นน้ำนมราชสีห์ และสารสกัดด้วย 70% ไอโซโพรพานอล จากต้นลูกใต้ไม่สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย S. aureus ได้ สำหรับค่า MIC และ MBC ของยาปฏิชีวนะ chloramphenicol ต่อเชื้อแบคทีเรียทั้ง 4 ชนิด มีค่าอยู่ในช่วง 3.75 – 7.5 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร และค่า MIC และ MBC ของยาปฏิชีวนะ ampicillin ต่อเชื้อแบคทีเรีย B. subtilis, F1 และ F2 มีค่าอยู่ในช่วง 12.5 – 25.0 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ส่วนเชื้อแบคทีเรีย S. aureus พบว่า ยาปฏิชีวนะ ampicillin ไม่สามารถยับยั้ง ได้ ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปต่อยอดความรู้สร้างผลิตภัณฑ์ที่ใช้แก้ปัญหากลิ่นเท้าโดยใช้สารสกัดหยาบจากพืชสมุนไพรได้อีกด้วย

Article Details

How to Cite
[1]
วัดบัว ป., อั้นเต้ง ค., วงษ์วิชา ณ., วัฒนาธร ธ., อินทชิต อ., และ จรัสบวรพันธ์ น., “การยับยั้งเชื้อแบคทีเรียของสารสกัดหยาบจากพืชสมุนไพรที่พบบริเวณ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ต่อเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดกลิ่นเท้า”, Crma. J., ปี 14, ฉบับที่ 1, น. 131–143, ธ.ค. 2016.
บท
บทความวิจัย

References

ประวิตร พิศาลบุตร, 2546. เหงื่อออกมากที่ฝ่าเท้า เท้าเหม็น. นิตยสารใกล้หมอ, 27.

วรรณา โรจน์บุญถึง, 2550. ประสิทธิภาพของสมุนไพรในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่เจริญในรองเท้า. ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต. วิทยาศาสตรบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

จารวี สุขประเสริฐ และสุบงกช ทรัพย์แดง, 2555. การศึกษาผลของตัวทำละลายในการสกัดสมุนไพรที่มีผลต่อการยับยั้งแบคทีเรีย. กรมวิทยาศาสตร์บริการ. 1(1): 99-109.

Arumugam S., et al., 2012. Screening of Antibacterial Propoties of Indian Medicinal Plants against Multi Drug Resistant Diabetic Foot Ulcer Isolates. International Journal of Phytopharmacology. 3(2): 139-146.

จิราภรณ์ บุราคร และ เรือนแก้ว ประพฤติ, 2555. ผลของสารสกัดสมุนไพรพื้นบ้านไทย 7 ชนิด ต่อการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. 10(1): 11-22.

Kostecki, K., et al., 2004. Dihydrophenanthrenes and other antifungal stilbenoids from Stemona cf. pierrei. Phytochemistry, 65(1): 99-106.

NCCLS (National Committee for Clinical Laboratory Standards), 2002. Performance standards for antimicrobial susceptibility testing. (Vol. Twelfth Information Supplement M100-S12 NCCLS): Wayn, PA.

Zampini, I.C., Vattuone, M.A., and Isla, M.I., 2005. Antibacterial activity of Zuccagnia punctata Cav. Ethanolic Extracts. Journal of Ethnopharmacology, 102: 450-456.

ปวีณา วัดบัว, 2551. การยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Aeromonas caviae และ Aeromonas sobria ที่ก่อโรคในปลาดุก ของสารสกัดพืชสมุนไพรไทย 41 ชนิด. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สรรพคุณของว่านสี่ทิศ ประโยชน์ของว่านสี่ทิศ, 2558. [Online] http://frynn.com/ว่านสี่ทิศ.

สุทธิศักดิ์ สุขในศิลป์ และคณะ, 2551. ประสิทธิภาพ ของสารต้านการเจริญของจุลินทรีย์ของสารสกัดจากเมล็ดมะม่วง. รายงานวิจัยย่อย ภาควิชาเทคโนโลยีทางอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 1-29

ปนิศา นมัสการ, สุภาพร รัตนพลที และอนุชสรา คำตัน, 2555. การศึกษาเปรียบเทียบสารสกัดจากใบสาบเสือกับยาปฏิชีวนะในการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรีย. วิทยาศาสตรบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ปวีณา วัดบัว และคณะ, 2549. สารสกัดพืชสมุนไพรไทยที่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื่อแบคทีเรียก่อโรคในปลาดุก, Aeromonas sobria. ใน: เอกสารการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 32 (วทท. 32). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 10 - 12 ตุลาคม 2549.

ศศิธร วุฒิวณิชย์, 2547. ประสิทธิภาพของสารสกัดหยาบจากพืชสมุนไพรในการยับยั้งการเจริญของ Erwinia carotovora subsp. carotovora เชื้อสาเหตุโรคเน่าเละของผัก. วิทยาสารกำแพงแสน. 2(2): 73.

หน่วยปฏิบัติการวิจัยเคมีสารสนเทศ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์, 2557. ผักกะสัง. [Online] http://thrai.sci.ku. ac.th/node/910.

อัจฉรัตน์ สุวรรณภักดี และคณะ, 2555. ประสิทธิภาพของน้ำมันหอมระเหยจากตระไคร้และตะไคร้หอมในการยับยั้งเชื้อก่อโรคเต้านมอักเสบในโคนม: Staphylococcus aureus, Streptococcus agalactiae และ Escherichia coli. วารสารแก่นเกษตร, 40 (ฉบับพิเศษ 2): 230 - 235.

ดิเรก ทองคำกิจ และคณะ, 2553. ชุดสมุนไพรดับกลิ่นเท้า. นวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ หุ่นยนต์ และโครงงานวิทยาศาสตร์ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

ศรัญญา พรศักดา และคณะ, 2553. ผลของสารสกัดจากมะเขือพวงในการยับยั้งแบคทีเรียก่อโรค Escherichia coli, Staphylococcus aureus และ Salmonella typhimurium. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร. 40(3/1)(พิเศษ): 573-576.

นุศวดี พจนานุกิจ และสมใจ ขจรชีพพันธุ์งาม, 2553. การเปรียบเทียบการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียของสารสกัดจากเปลือกมังคุด ขมิ้นชัน และใบบัวบก. วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น

แสงจันทร์ เอี่ยมธรรมชาติ, 2525. การศึกษาผลของสมุนไพรบางชนิดในวงศ์ซิงกิเบอเรซี (Zingiberraceae) ต่อการเจริญของเชื้อแบคทีเรียบางชนิด. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ทัศนีย์ นลวชัย และจิตรา ดวงแก้ว, 2559. ผลของสารสกัดสมุนไพรต่อการยับยั้งเจริญเติบโตของเชื้อ Aromonas hydrophila. แก่นเกษตร. 44(ฉบับพิเศษ 1): 124-129.

Biswas et al., 2013. Antimicrobial activities of leaf extracts of guava (Psidium guajava L.) on two gram-negative and gram-positive bacteria. International Journal of Microbiolgy. 2013: 1-7.

วันทนี สว่างอารมณ์ และพาฝัน จันทร์เล็ก, 2555. การเปรียบ เทียบผลของสารสกัดจากพืชสมุนไพรต่อการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus และ Escherichia coli. ก้าวทันโลกวิทยาศาสตร์. 12(2): 47-57.

Wadbua et al., 2007. The antibacterial activity of Syzygium javanica extract on catfish infected bacteria, Aeromonas caviae and Aeromonas sobria. In the first Biochemistry and Molecular (BMB) Conference: Biochemistry and Molecular biological biology for the integration of life.

Oliveira et al., 2007. Antimicrobial activity of Syzygium cumini (Myrtaceae) leaves extract. Brazilian Journal of Microbiology. 38(2): 381-384.

Cowan, 1999. Plant products as antimicrobial agents. Clinical Microbiology Reviews. 12(4): 564-582.

Pankey, G.A. and Sabath, L. D., 2003. Clinical Relevance of Bacteriostatic versus Bactericidal Mechanisms of Action in the Treatment of Gram-Positive Bacterial Infections. Clinical Infection Diseases. 38: 864-870.