ความหลากชนิดของพันธุ์ปลาในลำน้ำชีสู่ความยั่งยืนของชุมชนในจังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • นันทิญา มณีโชติ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • นิชาภา เฉตระการ
  • นิภาศักดิ์ คงงาม

คำสำคัญ:

ความหลากชนิดพันธุ์ปลา, ลำน้ำชี, จังหวัดสุรินทร์, ความยั่งยืนของชุมชน

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหลากชนิดของพันธุ์ปลาในลำน้ำชีบริเวณตอนกลางจนถึงตอนปลายสายน้ำของลำน้ำชีในจังหวัดสุรินทร์ เก็บตัวอย่างปลาโดยใช้ข่ายดักปลาขนาดช่องตา 2 3 4 และ 5 เซนติเมตร เดือนละ 1 ครั้ง โดยเก็บตัวอย่างในฤดูฝน (เดือนพฤษภาคม-กันยายน 2561) และฤดูหนาว (เดือนตุลาคม-มีนาคม 2562) ใน 2 สถานี พบชนิดพันธุ์ปลา รวมทั้งสิ้น 8 อันดับ 19 วงศ์ 47 ชนิด โดยพบชนิดปลาในอันดับ Cypriniformes มากที่สุด 22 ชนิด รองลงมา คือ ปลาในอันดับ Perciformes พบจำนวน 10 ชนิด อันดับ Siluriformes 7 ชนิด คิดเป็นร้อยละ 46.8 21.3 และ 14.9 ตามลำดับ โดยพบว่า ปลาในวงศ์ Cyprinidae เป็นวงศ์เด่นที่มีจำนวนชนิดมากที่สุด 18 ชนิด รองลงมา คือ วงศ์ Cobitoidae 4 ชนิด ทั้งนี้พบชนิดที่เป็นพันธุ์ปลาต่างถิ่น 3 ชนิด โดยชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน ในแหล่งน้ำ จำนวน 1 ชนิด คือ ปลาซัคเกอร์ พบปลาต่างถิ่นประเภทที่ไม่รุกราน 2 ชนิด คือ ปลาไน และปลานิล และพบปลาที่มีสถานภาพที่มีแนวโน้มเกือบอยู่ในข่ายใกล้การสูญพันธุ์ จำนวน 1 ชนิด คือ ปลาแดงน้อย เมื่อพิจารณาการแพร่กระจายทั้ง 2 สถานี (เขตอำเภอเมืองสุรินทร์ และอำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์) พบว่า มีชนิดปลาที่มีการแพร่กระจายกว้าง โดยพบทั้ง 2 สถานีตลอดฤดูกาลมี 31 ชนิด และพบชนิดที่มีการแพร่กระจายแคบพบเฉพาะในสถานีที่ 1 คือ ปลาไน ส่วนที่พบเฉพาะสถานีที่ 2 คือ ปลากระสง และปลากดหิน ตลอดการศึกษา พบว่า ในช่วงฤดูหนาวพบจำนวนพันธุ์ปลามีปริมาณสูงกว่าช่วงฤดูฝนใน ทั้ง 2 สถานี สำหรับชนิดวงศ์เด่น พบว่า บริเวณสถานีที่ 2 มีความหลากชนิดและปริมาณของพันธุ์ปลาสูง แต่มีการกระจายไม่สม่ำเสมอในแต่ละชนิด และมีบางชนิดที่มีปริมาณสูงกว่าชนิดอื่นๆ ทั้งนี้การสำรวจชนิดพันธุ์ปลาในลำน้ำชีในครั้งนี้ถือเป็นข้อมูลพื้นฐานทางด้านทรัพยากรธรรมชาติที่มีคุณค่าต่อชุมชนในท้องถิ่นทั้งหน่วยงาน องค์กรต่างๆ สามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการแผนการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากความหลากชนิดของพันธุ์ปลาให้เกิดความยั่งยืนของชุมชนต่อไป

References

โครงการชลประทานบุรีรัมย์. (2547). ลุ่มน้ำลำชี. สืบค้น 18 มิถุนายน 2561, จาก http://ridceo.rid.go.th/buriram/lumchi_basin.html

ชวลิต วิทยานนท์. (2547). ปลาน้ำจืดไทย. กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์.

ฐานข้อมูลเพื่อการรายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย. (2559). ข้อมูลตัวชี้วัด “สัดส่วนของเกณฑ์คุณภาพน้ำแหล่งน้ำผิวดินที่สำคัญทั่วประเทศ” สืบค้น 8 มิถุนายน 2561, จาก http://www.onep.go.th/env_data/2016/01_49/

ณัฐนันท์ เที่ยงธรรม, และพูลทรัพย์ ศิริสานต์. (2554). การสำรวจพรรณปลาในห้วยบังกอในช่วงฤดูฝนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครพนม. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 1(2). 16-23.

สิงหา วงศ์โรจน์. (2547). การศึกษาอนุกรมวิธานของปลาน้ำจืดในพื้นที่กรุงเทพมหานครฝั่งตะวันออก. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาวิชาชีววิทยา.

อภิชาติ เติมวิชชากร, ชวลิต วิทยานนท์, ยู่อี้ เกตเพชร, ประเทศ ซอรักษ์, และประเสริฐ ภราดรพานิชย์กุล. (2546). สัตว์น้ำต่างถิ่นในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

Berra, T.M. (2001). Freshwater fish distribution. California: Academic press.

Kottelat, M. (1991). (2001). Fishes of Laos. Sri Lanka: Gunaratne Offset Ltd.

Nelson, J.S. (2006). Fishes of the world. (4th ed.). New York: John Wiley and Son, Inc.

Rainboth, W.J. (1996). FAO species identification field guide for fishery purposes, Fish of the Cambodian Mekong. Rome: Food and Agriculture Organization of the United Nations (FAO).

Smith, H.M. (1945). The Freshwater Fish of Siam or Thailand. Washinhton, D.C.: U.S. Government Printing Office.

Vidthayanon, C. (2005). Thailand Red Data: Fishes office of Natural Resources and Environmental Policy and Planning. Bangkok.

Vidthayanon, C. (2008). Field Guide to Fishes of the Mekong Delta. Vientiane: Mekong River Commission.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-13