การขยายพันธุ์ฟิโลเดนดรอน ไวท์ปริ้นเซส และฟิโลเดนดรอน เวอร์รูโคซัมในหลอดทดลองด้วยระบบไบโอรีแอคเตอร์แบบจมชั่วคราว

ผู้แต่ง

  • ศุภาวีร์ แสงจันทร์จิรเดช สาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
  • ชญานนท์ แก้วพรหม สาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
  • ขจรพงศ์ ดาศรี สาขาวิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
  • นันทพร สุทธิประภา สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
  • ขวัญเดือน รัตนา สาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

การขยายพันธุ์ , ระบบอาหารเหลว , ฟิโลเดนดรอน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อขยายพันธุ์ฟิโลเดนดรอน ไวท์ปริ้นเซส และฟิโลเดนดรอน เวอร์รูโคซัม ด้วยระบบไบโอรีแอคเตอร์แบบจมชั่วคราว (Temporary immersion bioreactor system; TIBs) วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design; CRD) และทำ
การเพาะเลี้ยงชิ้นส่วนต้นอ่อนทั้งสองพันธุ์ที่ปลอดเชื้อในอาหารเหลวสูตรของ Murashige และSkoog (MS) ที่เติม 6-Benzyladenine (BA) 0 1 และ 2 มก./ล. ความถี่ในการให้อาหารทุก 6 ชั่วโมง เป็นเวลา 5 นาที เปรียบเทียบกับชุดควบคุม คือ อาหารกึ่งแข็งสูตร MS ที่ปราศจากสารควบคุมการเจริญเติบโต เพาะเลี้ยงเป็นเวลา 8 สัปดาห์ ในสภาพมีแสง พบว่า ต้นอ่อนฟิโลเดนดรอน ไวท์ปริ้นเซส ที่เพาะเลี้ยงด้วยระบบ TIBs ในอาหารเหลวทุกสูตร มีร้อยละการรอดชีวิตและการเกิดยอดสูงกว่าชุดควบคุมที่เป็นอาหารกึ่งแข็งอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยอาหารสูตร MS ที่ปราศจากสารควบคุมการเจริญเติบโตที่เพาะเลี้ยงในระบบ TIBs มีจำนวนต้นเฉลี่ยสูงสุด 3.10 ต้นต่อชิ้นส่วน และความสูงเฉลี่ยสูงสุด 5.50 มม.ต่อต้น สำหรับการเพาะเลี้ยงต้นอ่อนฟิโลเดนดรอน เวอร์รูโคซัม ที่เพาะเลี้ยงด้วยระบบ TIBs ในอาหารเหลวที่เติม BA 1 มก./ล. พบว่า สามารถชักนำให้มีจำนวนใบและรากเฉลี่ยสูงสุด คือ 4.20 ใบ และ 1.60 รากต่อชิ้นส่วน ตามลำดับ และอาหารที่เติม BA 2 มก./ล. สามารถชักนำให้ต้นพืชมีความสูงเฉลี่ยสูงสุด 16.20 มม.ต่อต้น จากนั้นย้ายต้นอ่อนทั้งสองพันธุ์ออกปลูกและอนุบาลในโรงเรือนในสภาพแวดล้อมภายนอก โดยใช้วัสดุปลูก 3 ชนิด ได้แก่ พีทมอส พีทมอสผสมเพอร์ไลท์ (4 : 1) และพีทมอสผสมเวอร์มิคูไลท์  (4 : 1) เป็นเวลา 4 สัปดาห์ พบว่า ฟิโลเดนดรอนทั้งสองพันธุ์มีร้อยละการรอดชีวิต 100% โดยพีทมอสผสมเพอร์ไลท์ (4 : 1) สามารถชักนำให้ต้นอ่อนฟิโลเดนดรอนทั้งสองพันธุ์มีความสูงเฉลี่ยสูงสุด จากผลการศึกษาที่ได้สามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อการขยายพันธุ์พืชในสกุลฟิโลเดนดรอนชนิดอื่นให้ได้จำนวนมากในระยะเวลาอันสั้น เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ต่อไป

References

กิตติศักดิ์ โชติกเดชาณรงค์. (2563). การขยายพันธุ์หญ้าหวานโดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในระบบแช่ชั่วคราว. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา, 25(1), 313-325.

ครองใจ โสมรักษ์. (2019). ผลของสีฝักและวัสดุปลูกต่อการงอก และการเจริญเติบโตของต้นกล้าครามฝักงอ. วารสารเกษตรพระวรุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 16(2), 375–386.

ดลยา หนูแก้ว, ณัฏฐ พิชกรรม, และพูนพิภพ เกษมทรัพย์. (2554). การศึกษาวัสดุปลูกอัดเม็ดเพื่อทดแทนดินผสม. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร, 42(ฉบับพิเศษ), 111-114.

ณิชารีย์ เธียรชาติสกุล, นงนุช เลาหะวิสุทธิ์, และสมเกียรติ สีสนอง. (2562). การใช้ระบบไบโอรีแอคเตอร์แบบจมชั่วคราวในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่ออนูเบียสสบาร์เทอรีบรอดลีฟ. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า, 37(1), 23-31.

ณัฏฐิยา เกื้อทาน, และวรุณยุพา จุ้ดศรี. (2566). การขยายพันธุ์ต้นฟิโลเดรนดรอนพิงค์ปริ้นเซส (Philodendron erubescens) โดยเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ. วารสารเกษตรและอาหาร มรวอ., 2(1), 16-21.

ภวพล ศุภนันทนานนท์. (2561). ไม้ใบ (Foloage Plants). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ๊นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

วัลยา มงคลสวัสดิ์, ทัศนัย ปัญจันทร์สงห์, และพาริณี โลมาอินทร์. (2566). ผลของ BA TDZ และ NAA ต่อการเจริญเติบโตของฟิโลเดนดรอนเบอร์กิ้น PHILODENDRON ‘BIRKIN’ ในสภาพปลอดเชื้อ. PSRU Journal of Science and Technology, 8(1), 27-36.

สุมนทิพย์ บุนนาค. (2556). การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชและการถ่ายยีนสู่พืช. ขอนแก่น : ภาควิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Alawaadh, A.A., Dewir, Y.H., Alwihibi, M.S., Aldubai, A.A., El-Hendawy, S., & Naidoo, Y. (2020). Micropropagation of Lacy Tree Philodendron (Philodendron bipinnatifidum Schott ex Endl.). HORTSCIENCE, 55(3), 294–299.

Etienne, H., & Berthouly, M. (2002). Temporary immersion systems in plant micropropagation. Plant Cell, Tissue and Organ Culture, 69, 215–231.

Gomes, H.T., Bartos, P.M.C., Balzon, T.A., & Scherwinski-Pereira, J.E. (2016). Regeneration of somatic embryos of oil palm (Elaeis guineensis) using temporary immersion bioreactors. Industrial Crops and Products, 89, 244–249.

Klanrit, P., Kitwetcharoen, H., Thanonkeo, P., & Thanonkeo, S. (2023). In Vitro Propagation of Philodendron erubescens ‘Pink Princess’ and Ex Vitro Acclimatization of the Plantlets. Horticulturae, 9(688), 1-10.

Kunakhonnuruk, B., Inthima, P., & Kongbangkerd, A. (2019). In Vitro Propagation of Rheophytic Orchid, Epipactis flava Seidenf. A Comparison of Semi-Solid, Continuous Immersion and Temporary Immersion Systems. Biology, 8(72), 1-8.

Kunakhonnuruk, B., Kongbangkerd, A., & Inthima, P. (2019). Improving large-scale biomass and plumbagin production of Drosera communis A.St.-Hil. by temporary immersion system. Industrial Crops & Products, 137, 197–202.

Mayo, S.J., Bogner, J., & Boyce, P.C. (1997). The Genera of Araceae. Belgium: The European Union by Continental Printing.

Wongsa, T., Kongbangkerd, A., & Kunakhonnuruk, B. (2023). Optimal Growth and Biomass of Centella asiatica Using a Twin-Bottle Temporary Immersion Bioreactor. Horticulturae, 9(638), 1-9.

Ziv, M. (2005). Simple bioreactors for mass propagation of plants. Plant Cell, Tissue and Organ Culture, 81, 277–285.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-11

How to Cite

แสงจันทร์จิรเดช ศ. . ., แก้วพรหม ช. . ., ดาศรี ข. ., สุทธิประภา น., & รัตนา ข. (2024). การขยายพันธุ์ฟิโลเดนดรอน ไวท์ปริ้นเซส และฟิโลเดนดรอน เวอร์รูโคซัมในหลอดทดลองด้วยระบบไบโอรีแอคเตอร์แบบจมชั่วคราว. PSRU Journal of Science and Technology, 9(3), 94–108. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/Scipsru/article/view/257054

ฉบับ

บท

บทความวิจัย