การศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมและคุณสมบัติ ของกระถางเพาะชำอินทรีย์จากผักตบชวาและแกลบ
คำสำคัญ:
กระถางเพาะชำอินทรีย์ , ผักตบชวา, แกลบ, ธาตุอาหารบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมในการขึ้นรูปกระถางเพาะชำอินทรีย์จากผักตบชวาและแกลบดิบ ปริมาณธาตุอาหารหลักในวัตถุดิบ ปริมาณธาตุอาหารหลักในกระถางเพาะชำอินทรีย์ ศึกษาความแข็งแรงและการดูดซับน้ำของกระถางเพาะชำอินทรีย์จากผักตบชวาและแกลบดิบ และยังได้นำกระถางเพาะชำอินทรีย์จากผักตบชวาและแกลบดิบไปทดลองปลูกมะเขือเทศ การศึกษาปริมาณไนโตรเจน พบว่า กระถางเพาะชำอินทรีย์มีค่าระหว่าง 3.425-5.013% ปริมาณฟอสฟอรัสมีค่าระหว่าง 0.015-0.028% และปริมาณโพแทสเซียมมีค่าระหว่าง 0.808-2.213%การทดสอบความแข็งแรงอยู่ระหว่าง 15.467x103-49.467x103 N/m2 ส่วนการทดสอบการดูดซับน้ำอยู่ระหว่าง 25.496-43.531% และผลการนำกระถางเพาะชำอินทรีย์จากผักตบชวาและแกลบดิบไปทดลองปลูกมะเขือเทศ พบว่า กระถางเพาะชำอินทรีย์ สูตรที่ 3 อัตราส่วนระหว่างผักตบชวาต่อแกลบดิบต่อกาวแป้งเปียก 80 : 20 : 300 มีค่าเฉลี่ยจำนวนใบและค่าเฉลี่ยความสูงมากที่สุด ดังนั้นในงานวิจัยนี้เป็นทางเลือกในการนำวัสดุที่เป็นปัญหาสิ่งแวดล้อม และวัสดุที่เป็นผลพลอยได้ทางการเกษตรมาทำกระถางเพาะชำอินทรีย์ อีกทั้งกระถางเพาะชำอินทรีย์ที่พัฒนาขึ้นยังเป็นกระถางที่ช่วยเพิ่มปริมาณธาตุอาหารให้กับกล้าไม้
เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
References
กรมวิชาการเกษตร. (2548). ปุ๋ยอินทรีย์การผลิต การใช้ มาตรฐานและคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 17). กรุงเทพฯ: กรมวิชาการเกษตร.
กิตติชัย โสพันนา, วิชชุดา ภาโสม, นกวรรณ วรดง, และอนันตสิทธิ์ ไชยวังราช. (2558). การประดิษฐ์และสมบัติของกระถางชีวภาพ. SNRU Journal of Science and Technology, 7(2), 1-7.
เกตุสุดา พรมพินิจ, จุฑารัตน์ รอดพ่วง, และสหรัฐ จันจาเร. (2564). การพัฒนาภาชนะเพาะชำจากเศษชีวมวลสำหรับพืชเก็บเกี่ยวราก. (ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม.
จักรพงษ์ กางโสภา, และบุญมี ศิริ. (2562). การเปลี่ยนแปลงความงอก ความแข็งแรง และการเจริญเติบโตของต้นกล้าผักกาดหอม (Lactuca sativa L. ) หลังการพอกเมล็ดพันธุ์ร่วมกับฟอสฟอรัส. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า, 37(2), 274-283.
ชัยวัช โซวเจริญสุข. (2565). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม ปี 2565-2567: อุตสาหกรรมข้าว. สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2566, จาก https://www.krungsri.com/getmedia/305ada9b-d04a-43ab-808e-332becf8c14a/IO_Rice_220203_TH_EX.pdf.aspx
นัยนันทน์ อริยกานนท์. (2561). ผักตบชวากับการบำบัดสารมลพิษในน้ำ. วารสารสิ่งแวดล้อม, 22(3), 51.
ประไพพรรณ จันทร์ทิพย์. (2559). การทำปุ๋ยหมักผักตบชวาร่วมกับกากตะกอนส่วนเกินจากระบบบำบัดน้ำเสียของโรงงานน้ำยางข้น และกากตะกอนจากโรงงานยางแท่ง STR 20. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขานครินทร์, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อม.
สุทธวรรณ สุพรรณ, ประดับรัฐ ประจันเขตต์, และสิริแข พงษ์สวัสดิ์. (2559). การใช้แบคทีเรียตรึงไนโตรเจนร่วมกับวัสดุตัวกลางชีวภาพเพื่อการส่งเสริมการเจริญของพืช. Progress in Applied Science and Technology, 6(2), 17-28.
สุรชัย สังข์งาม, และวิโรจน์ เชาว์วิเศษ. (2566). กระถางเพาะกล้าไม้ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจากกากตะกอน น้ำมันปาล์มและผักตบชวา. Journal of Advanced Development in Engineering and Science, 13(38), 96-107.
อรรถพล เปลื้องไธสง, ธรรมเรศ เชื้อสาวถี, และวิทยา ตรีโลเกศ. (2566). การศึกษาอัตราส่วนของแกลบที่ผสมกับปุ๋ยหมักเปลือกมันสำปะหลังต่อสมบัติดินในพื้นที่ดินเค็ม จังหวัดบุรีรัมย์. Khon Kaen Agriculture Journal, 51(1), 162-171.
Bansal, O.P., & Singh, A. (2022). A review on microplastic in the soils and their Impact on soil microbes, crops and humans. International Journal of Research - GRANTHAALAYAH, 10(9), 245–273.
Iwuagwu, M.O., Ogbonnaya, C.I., & Onwuchekwa, O. (2020). Complementary effects of rice husk and nitrogen fertilizer on the growth, yield and nutrient uptake of cocoyam (Colocasia esculenta (L.)). Schott American Journal of Plant Biology, 4, 1-11.
Nilawonk, W. (2012). Effects of vermicompost on plant-available nitrogen content in organic cropping soils in Chiang Mai, Thailand. In 5th Annual International Symposium on Agriculture. 16-19 July 2012, Athens: Greece.
Rommens, W., Maes, J., Dekeza, N., Inghelbrecht, P., Nhiwatiwa, T., Holsters, E., Ollevier, F., Marshall, B., & Brendonck, L. (2003). The impact of water hyacinth (Eichhornia crassipes) in a eutrophic subtropical impoundment (Lake Chivero, Zimbabwe) Water quality. Archiv für Hydrobiologie, 158(3), 389-405.
Sarangi, M., Bhattacharyya, S., & Behera, R.C. (2009). Effect of temperature on morphology and phase transformations of nanocrystalline silica obtained from rice husk. Phase transitions, 82(5), 377-386.
Schettini, E., Santagata, G., Malinconico, M., Immirzi, B., Mugnozza, S., & Vox, G. (2013). Recycled wastes of tomato and hemp fibers for biodegradable pots: Physico-chemical characterization and field performance. Resour Conserv Recycl, 70(3), 9-19.
Senathirajah, K., Attwood, S., Bhagwat, G., Carbery, M., Wilson, S., & Palanisami, T. (2021). Estimation of the mass of microplastics ingested–A pivotal first step towards human health risk assessment. Journal of Hazardous Materials, 404, 124004.
Srisunont, T., Wongsakoonkan, W., Tongphanpharn, N., Ratanasongtham, P., & Srisunont, C. (2024). A brief overview of biodegradable pots for sustainable environment in Thailand. Curr. Appl. Sci. Technol, 24(5), 1-13.
Sullivan, D.M., & Andrews, N.D. (2012). Estimating plant-available nitrogen release from cover crops. U.S.A.: A Pacific Northwest Extension Publication, Oregon State University.
Thomas, B.T., Olanrewaju-Kehinde, D.S.K., Popoola, O.D., & James, E.S. (2015). Degradation of plastic and polythene materials by some selected microorganisms isolated from soil. World Applied Sciences Journal, 33(12), 1888-1891.
Yu, H., Fan P., Hou J., Dang Q., Cui D., Xi B., & Tan W. (2020). Inhibitory effect of microplastics on soil extracellular enzymatic activities by changing soil properties and direct adsorption: An investigation at the aggregate-fraction level. Environmental Pollution, 267, 115544.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 PSRU Journal of Science and Technology

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงแก้ไขตัวอักษรและคำสะกดต่างๆ ที่ไม่ถูกต้อง และต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร PSRU Journal of Science and Technology ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม และ
ผลการพิจารณาคัดเลือกบทความตีพิมพ์ในวารสารให้ถือมติของกองบรรณาธิการเป็นที่สิ้นสุด