การพัฒนาแผ่นแปะไฮโดรเจลรอบดวงตาจากสารสกัดตำรับยาห้าราก

ผู้แต่ง

  • วรวุฒิ สมพืช สาขาวิชาการการแพทย์แผนไทย คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • นิอาซีซะห์ สุหลงเส็น สาขาวิชาการการแพทย์แผนไทย คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • ปวีณ์ธิดา วิชัยดิษฐ สาขาวิชาการการแพทย์แผนไทย คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • สุกาญจนา กำลังมาก สาขาวิชาการการแพทย์แผนไทย คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • ยมล พิทักษ์ภาวศุทธิ สาขาวิชาการการแพทย์แผนไทย คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ

คำสำคัญ:

ไฮโดรเจล, ยาห้าราก, อาการปวดตา

บทคัดย่อ

ยาห้ารากเป็นตำรับยาแผนโบราณที่บรรจุอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ มีสรรพคุณแก้ไข้ ตัวร้อน ในสารสกัดยาห้ารากประกอบด้วยสารพฤกษเคมี เช่น อัลคาลอยด์ ฟลาโวนอยด์ และ   เทอร์พินอยด์ ซึ่งมีคุณสมบัติต้านการอักเสบและต้านอนุมูลอิสระ จึงมีความเป็นไปได้ที่จะนำมาพัฒนาแผ่นไฮโดรเจลบรรเทาอาการปวดตา งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความคงสภาพของสารสกัดตำรับยาห้ารากที่สกัดด้วยน้ำและพัฒนาสูตรแผ่นไฮโดรเจลจากสารสกัดตำรับยาห้าราก ผลการศึกษาความคงสภาพในสภาวะเร่งที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส สลับกับอุณหภูมิ 45 องศาเซลเซียส จำนวน 6 รอบ พบว่า สารสกัดตำรับยาห้ารากไม่มีความเปลี่ยนแปลงทางกายภาพหลังทดสอบ การพัฒนาตำรับแผ่นไฮโดรเจลจากสารสกัดตำรับยาห้ารากทั้งหมด 15 สูตร พบว่า สูตรที่ดีที่สุดประกอบด้วยสารสกัดยาห้าราก 69% w/w กลีเซอรีน 20% w/w เจลาติน 8% w/w คาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส 1% w/w โพลีไวนิลแอลกอฮอล์ 0.60% w/w โพลีไวนิลไพโรลิดอน 0.40% w/w และฟีโนสแตท 1% w/w ตามลำดับ แสดงว่า สารสกัดตำรับยาห้ารากสามารถนำมาพัฒนาแผ่นไฮโดรเจลเพื่อนำไปทดสอบประสิทธิผลของการบรรเทาอาการปวดตาในระดับคลินิกได้

References

กองการประกอบโรคศิลปะ. (2542). ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม. นนทบุรี: สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.

กัมปนาท หวลบุตตา. (2560). พอลิเมอร์ที่ใช้ทางเภสัชกรรม (Pharmaceutical polymers). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา, คณะเภสัชศาสตร์.

ขวัญฤทัย กิ่วไธสง. (2560), การประเมินอายุการเก็บรักษาผงปรุงรสมาซาลา (รายงานวิชาสหกิจศึกษา). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม, คณะวิทยาศาสตร์, ภาควิชาเทคโนโลยีการอาหาร.

ชลาลัย โชคดีศรีจันทร์, ปภัสรา สังข์สุข, ณัฏฐพิชชา คุณสันติพงษ์, ปาริฉัตร วิชัย, ปัญญา พลหนูแม้ม, รัตนาภรณ์ กานกายันต์, และณัฐนนท์ เหลากลม. (2562). การเปรียบประสิทธิผลยาพอกตาระหว่างสูตรยาฟ้าทะลายโจรเดี่ยวและสูตรตำรับในผู้ป่วยที่มีอาการปวดกระบอกตา. ใน การประชุม Graduate School Conference ครั้งที่ 3 (น. 808-815). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ธนาภา เลิศชยันตี, สุธาสินี ทัพพสารพงศ์, และณัฐวดี กันพิพิธ. (2563). คุณสมบัติและฤทธิ์ต้านออกซิเดชันของไฮโดรเจลที่ผสมเซริซินจากรังไหมพันธ์ J 108. วารสารวิจัย มข.(ฉบับบัณฑิตศึกษา), 20(3), 123-124.

ธนภัทร ทรงศักดิ์. (2559). การสกัดสารสำคัญจากพืชสมุนไพรด้วยคลื่นไมโครเวฟ. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2567, จาก https://goo.gl/MVtX23

นัยนา บุญทรง, ศรีสมพร ปรีเปรม, และวราภรณ์ พุทลัน. (2563). การวิเคราะห์ปริมาณเบอจีนินในสารสกัดแคลลัสกิ่งและรากของมะเดื่อชุมพร (Ficus racemosa) โดยวิธีโครมาโทกราฟีของเหลวสมรรถนะสูง. KKU Research Journal (Graduate Studies), 22(2), 87-98.

พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์. (2560). เจลาติน. สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2565, จาก https://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/1008/gelatin

วิยดา กวานเหริน, และกิ่งกาญจน์ บรรลือพืช. (2561). ความเป็นพิษต่อเซลล์ ฤทธิ์ต้านการอักเสบและต้านอนุมูลอิสระของตำรับยาห้ารากที่สกัดด้วยน้ำ. วารสารวิชชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 43(67), 19.

สุดารัตน์ หอมนวล. (2560). ตำรับยาห้าราก จากบัญชียาหลักแห่งชาติ. อุบลราชธานี: หน่วยการศึกษาต่อเนื่องคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

สุนทร ตรีนันทวัน. (2555). ฟิล์มเคลือบผิวผลไม้จากเยื่อฟางข้าว CMC. สืบค้นเมื่อ 28 ธันวาคม 2565, จาก http://edtech.ipst.ac.th/index.php/2011-07-29-04-02-00/18-2011-08-09-06-29-06/372-2012-07-09-02-32-53

สุพนิต จึงแย้มปิ่น. (2560). การพัฒนาเจลาตินผสมเชลแลคสำหรับใช้เป็นแผ่นแปะยากรดกาลิคผ่านผิวหนัง. (ปริญญานิพนธ์วิศวกรรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, คณะวิศวกรรมศาสตร์, สาขาวิชาวิศวกรรมวัสดุ.

โสภิดา วิศาลศักดิ์กุล, อรวัลภ์ อุปถัมภานนท์, กุลวดีสังข์ สนิท, สุภา จุฬคุปต์, และสุทัศนีย์ บุญโญภาส. (2559). การพัฒนาผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพจากแป้งเมล็ดขนุน. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา, 21(2), 216-228.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2561). แผนอุดมศึกษาระยะยาว 20 ปี พ.ศ. 2561–2580. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

Azwanida, N.N. (2015). A review on the extraction methods use in medicinal plants, principle, strength and limitation. Medicinal and Aromatic Plants, 4(196), 2167-0412.

Bunluepuech, K., & Tewtrakul, S. (2009). Anti-HIV-1 integrase activity of Thai Medicinal Plants. Songklanakarin Journal of Science and Technology. 31(3), 289-292.

Handa, S.S. (2008). An overview of extraction techniques for medicinal and aromatic plants. Extraction technologies for medicinal and aromatic plants, 1(1), 21-40.

Jongchanapong, A., Singharachai, C., Palanuvej, C., Ruangrungsi, N., & Towiwat, P. (2010). Antipyretic and antinociceptive effects of Ben-cha-Lo-Ka-Wi-Chian remedy. Journal of Health Research, 24(1), 15-22.

Mariod, A.A., & Fadul, H. (2013). Gelatin, source, extraction and industrial applications. Acta Scientiarum Polonorum Technologia Alimentaria, 12(2), 135-147.

Rakwathin, J. (1997). Approach for light stability testing of drugs. Bangkok: Niyomvitta.

Sae-Lim, P., Yuenyongsawad, S., & Panichayupakaranant, P. (2019). Chamuangone-Enriched Garcinia cowa Leaf Extract with Rice Bran Oil: Extraction and Cytotoxic Activity against Cancer Cells. Pharmacognosy Magazine, 15(61), 183-188.

Suedee, A. (2017). Microwave-Assisted Extraction of Active Compounds from Medicinal Plants. EAU Heritage Journal Science and Technology, 11(1), 1-14.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-11

How to Cite

สมพืช ว., สุหลงเส็น น., วิชัยดิษฐ ป., กำลังมาก ส. ., & พิทักษ์ภาวศุทธิ ย. . (2024). การพัฒนาแผ่นแปะไฮโดรเจลรอบดวงตาจากสารสกัดตำรับยาห้าราก. PSRU Journal of Science and Technology, 9(3), 1–13. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/Scipsru/article/view/255887

ฉบับ

บท

บทความวิจัย