This is an outdated version published on 2024-04-19. Read the most recent version.

ผลของปริมาณชาดอกปอเทืองต่อปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระ และคุณลักษณะของเครื่องดื่มชาหมัก

ผู้แต่ง

  • ผกามาศ จุลศรี -
  • ณภาภัช ไชยน้ำอ้อม
  • นภาพร เวชกามา

คำสำคัญ:

ปอเทือง , ชาหมัก , สารต้านอนุมูลอิสระ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของปริมาณชาดอกปอเทืองต่อปริมาณ   สารต้านอนุมูลอิสระและคุณลักษณะระหว่างกระบวนการหมักชาดอกปอเทือง ตลอดจนการทดสอบทางประสาทสัมผัสของผลิตภัณฑ์ชาดอกปอเทืองหมัก โดยการแปรผันปริมาณชาดอกปอเทือง 10 30 และ 50 กรัมต่อลิตร ผลการทดลอง พบว่า ปริมาณชาดอกปอเทืองที่เหมาะสมที่สุดในกระบวนการหมักชาดอกปอเทือง คือ 10 กรัมต่อลิตร ซึ่งมีปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระเพิ่มขึ้นในช่วง 7 วันแรกของการหมักอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) จนมีค่าสูงสุดเท่ากับ 0.49 มิลลิกรัมโทรลอกซ์ต่อมิลลิลิตร ในการหมักวันที่ 21 ในขณะที่ปริมาณกรดทั้งหมด (% เทียบกับกรดอะซิติก) เพิ่มขึ้นในระหว่างกระบวนการหมัก และ pH มีค่าลดลง ส่วนปริมาณของแข็งละลายได้ทั้งหมดมีแนวโน้มค่าลดลงและจำนวนแบคทีเรียและยีสต์เพิ่มขึ้นในช่วง 7 วันแรกของกระบวนการหมัก นอกจากนี้ผลการตรวจสอบค่าสีของชาดอกปอเทืองหมัก พบว่า L* (ค่าความสว่าง)
จะลดลง และค่า b* (ค่าความเป็นสีเหลือง) จะเพิ่มขึ้นในน้ำชาเริ่มต้นตามปริมาณของชาดอกปอเทืองที่เพิ่มขึ้น แต่ไม่พบเปลี่ยนแปลงของค่าสีที่ชัดเจนในระหว่างกระบวนการหมัก และจากการทดสอบทางประสาทสัมผัสของชาดอกปอเทืองหมักโดยผู้ทดสอบที่ไม่ได้ฝึกฝน พบว่า คะแนนความชอบโดยรวมของชาดอกปอเทืองหมักปริมาณ 10 กรัมต่อลิตร มีคะแนนความพึงพอใจสูงที่สุดเท่ากับ 7.13 ดังนั้นสามารถนำข้อมูลจากกระบวนการผลิตชาดอกปอเทืองหมักจากชาดอกปอเทืองปริมาณเริ่มต้น 10 กรัมต่อลิตร เพื่อพัฒนาเครื่องดื่มชาหมักจากชาดอกปอเทืองได้ต่อไปในอนาคต

References

ขนิษฐา พันชูกลาง, ฤทัยวรรณ บุญครองชีพ, วนิดา เพ็ชร์ลมุล, และอภิชาติ พันชูกลาง. (2564). ปริมาณฟีนอลรวม แทนนิน และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในชาปอเทือง. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 29(4), 653-665.

นันธิดา ลิ่มเสฎโฐ. (2557). สารต้านอนุมูลอิสระในผลิตภัณฑ์ ใบชา ใบหม่อน และใบมะรุม (รายงานการวิจัย). สงขลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

นิสา ร่มส้มซ่า, จุฑามาศ พรสันเทียะ, ทิพย์วรินทร์ ริมลำดวน, และกุณฑิกา เวชกลาง. (2564). คุณสมบัติทางชีวภาพของผลิตภัณฑ์คอมบูชาที่เกิดขึ้นในระหว่างกระบวนการหมัก. วารสารนเรศวรพะเยา, 14(1), 75-87.

ปฏิญญา มั่นเกษตรกิจ, และสกุณณี บวรสมบัติ. (2561). การพัฒนาผลิตภัณฑ์คอมบูชาจากชาดำ โดยใช้เชื้อบริสุทธิ์. ใน การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 8 (น. 1344-1355) กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

พรพิมล ควรรณสุ. (2548). ผลของพันธุ์และระดับการขัดสีข้าวต่อการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบทางเคมีระหว่างการหมักไวน์ข้าว. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะวิทยาศาสตร์, สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ.

สถาบันเทคโนโลยีจิรดา. (2562). Kombucha ชาหมักเครื่องดื่มสุดฮิต พบงานวิจัยไทยใช้อัญชัน มะตูม ดอกกระเจี๊ยบ ช่วยเพิ่มสรรพคุณ. สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2564, จาก http://omni-recipes.com/2019/01/10/kombucha/?fbclid=IwAR2X8ZLRI8j4edtYH3q9VltrnSDeya7P-eSOuPHYo5jVXkLKRSOXlmLeJo

Aloulou, A., Hamden, K., Elloumi, D., Ali, M.B., Hargafi, K., Jaouadi, B., Ayadi, F., Elfeki, A., & Ammar, E. (2012). Hypoglycemic and antilipidemic properties of Kombucha tea in alloxan-induced diabetic rats. BMC Complementary & Alternative Medicine, 12(63). https://doi.org/10.1186/1472-6882-12-63

AOAC. (2000). Official methods of analysis. (17th ed.). USA: Association of Official Analytical Chemists.

Cobley, L.S., & Steele, W.M. (1976). An Introduction to the Botany of Tropical Crops. (2nd ed.). London: Longman Group Limited.

Cook, C.G., & White, G.A. (1996). Crotalaria juncea: A potential multi-purpose fiber crop. In J. Janick (Ed.), Proceeding of National Symposium on New Crops (pp. 389-394). ASHS Press: Arlington.

Jayabalan, R., Chen, P.N., Hsieh, Y.S., Prabhakaran, k., Pitchai, P., Marimuthu, S., Thangaraj, P., Swaminathan, K., & Yun, S.E. (2011). Effect of solvent fractions of Kombucha tea on viability and invasiveness of cancer cells-characterization of dimethyl 2-(2-hydroxy-2-methoxypropylidine) malonate and vitexin. Indian Journal of Biotechnology, 10, 75-82.

Jayabalan, R., Malbasa, R.V., Loncar, E.S., Vitas, J.S., & Sathishkumar, M. (2014). A review on kombucha tea-microbiology composition, fermentation beneficial effects toxicity and tea fungus. Comprehensive Reviews in Food Science and Food Safety, 13(4), 538-550.

Jayabalan, R., Marimuthu, S., & Swaminathan, K. (2007). Changes in content of organic acids and tea polyphenols during Kombucha tea fermentation. Food Chemistry, 102(1), 392-398.

Nurikasari, M., Puspitasari, Y., & Siwi, R.P.Y. (2017). Characterization and analysis kombucha tea antioxidant activity based on long fermentation as a beverage functional. Journal of Global Research in Public Health, 2(2), 90-96.

Sreeramulu, G., Zhu, Y., & Knol, W. (2000). Kombucha fermentation and its antimicrobial activity. Journal of Agricultural and Food Chemistry, 48(6), 2589–2594.

Wanyo, P., Siriamornpun, S., & Meeso, N. (2011). Improvement of quality and antioxidant properties of dried mulberry leaves with combined far-infrared radiation and air convection in Thai tea process. Food and Bioproducts Processing, 89(1), 22-30.

Yang, Z.W., Ji, B.P., Zhou, F., Li, B., Luo, Y., Yang, L., & Li, T. (2009). Hypocholesterolaemic and antioxidant effects of kombucha tea in high-cholesterol fed mice. Journal of the Science of Food and Agriculture, 89(1), 150-156.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-19

Versions

How to Cite

จุลศรี ผ. ., ไชยน้ำอ้อม ณ. . ., & เวชกามา น. . (2024). ผลของปริมาณชาดอกปอเทืองต่อปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระ และคุณลักษณะของเครื่องดื่มชาหมัก. PSRU Journal of Science and Technology, 9(1), 40–54. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/Scipsru/article/view/254339

ฉบับ

บท

บทความวิจัย