การศึกษาและออกแบบเครื่องวัดการดื่มน้ำของไก่แสดงผลผ่านระบบ IOT
คำสำคัญ:
เครื่องวัดการดื่มน้ำของไก่ , เซ็นเซอร์วัดความดัน , อินเทอร์เน็ตทุกสรรพสิ่งบทคัดย่อ
งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการศึกษาและออกแบบเครื่องวัดการดื่มน้ำของไก่แสดงผลผ่านระบบ IoT (DWMCs) และทดสอบคุณสมบัติของเครื่อง DWMCs อุปกรณ์ดังกล่าวสร้างจากการใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ควบคุมเซ็นเซอร์วัดความดันเพื่อใช้วัดปริมาตรน้ำ แสดงผลผ่านระบบอินเทอร์เน็ตทุกสรรพสิ่ง (IoT) ใช้บริการ Cloud Platform ของ NETPIE ผลการทดสอบคุณสมบัติระหว่างเครื่อง DWMCs เปรียบเทียบกับเครื่องวัดมาตรฐาน ในการวัดปริมาตรน้ำ
ในห้องทดลอง พบว่า ค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์ความผิดพลาดมีค่าเท่ากับ 1.32% กล่าวคือ ในการวัดปริมาตรน้ำของเครื่อง DWMCs มีเปอร์เซ็นต์ความผิดพลาดต่ำสามารถนำมาทดสอบวัดการดื่มน้ำของไก่ได้ เมื่อทำการทดสอบการนำไปใช้จริงโดยการวัดการดื่มน้ำของไก่ระหว่างเครื่องมือวัด DWMCs เปรียบเทียบกับเครื่องวัดมาตรฐาน พบว่า มีค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์ความผิดพลาดเท่ากับ 1.35% จากการวิจัยเครื่อง DWMCs สามารถนำไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ในวัดการดื่มน้ำของไก่และผู้ใช้งานเครื่อง DWMCs สามารถตรวจสอบการดื่มน้ำของไก่ผ่านอินเตอร์เน็ตได้ตลอดเวลา
References
กองบรรณาธิการเกษตรกรก้าวหน้า. (2560). เลี้ยงไก่ไข่อารมณ์ดี. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แม่บ้าน.
เจษฎา ขจรฤทธิ์, ปิยนุช ชัยพรแก้ว, และหนึ่งฤทัย เอ้งฉ้วน. (2560). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Internet of Things ในการควบคุมระบบส่องสว่างสำหรับบ้านอัจฉริยะ. วารสารวิทยาการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, 7(1), 1-11.
ณัฐพล เวฬุบรรพ, อภิสิทธิ์ สกุลส่องบุญศิริ, และสุพพัต รุ่งเรืองศิลป์. (2562). ระบบเฝ้าระวังอุทกภัยผ่านเซ็นเซอร์ตรวจวัดระดับความสูงน้ำ กรณีศึกษา เขตเทศบาลนครศรีธรรมราช. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ “สารสนเทศศาสตร์วิชาการ 2019” (น.1-8). นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัย
วลัยลักษณ์.
ปฏิพัทธ ศรีแสง, ศุภกร กตาธิการกุล, และมารีนา มะหนิ. (2557). เครื่องวัดระดับน้ำเพื่อใช้ในการส่งข้อมูลผ่านเซนเซอร์ไร้สาย. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ, 17(3), 51-59.
พจนาฎ สุวรรณมณี. (2546). เซ็นเซอร์และทรานสดิวเซอร์เบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).
ศุภกร กตาธิการกุล, มารีนา มะหนิ, สุวิทย์ คงภักดี, และนันท์นภัส เพรชมณี. (2560). การวัดระดับน้ำโดยใช้เทคนิคการวัดประจุไฟฟ้า. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ, 20(3), 254-260.
ศุภกร กตาธิการกุล, สุเจนต์ พรมเหมือน, สุวิทย์ เพชรห้วยลึก, และปิติ พานิชายุนนท์. (2555). เครื่องมือวัดปริมาณน้ำฝนโดยเทคนิคการวัดค่าความจุไฟฟ้าแบบกึ่งทรงกระบอก. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ, 15(3), 243-249.
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติแห่งชาติ. (2559). Netpie: Internet of Things. สืบค้นเมื่อ 29 กรกฎาคม 2562, จาก https://www.nectec.or.th/innovation/innovation-software/netpie.html
วรพงศ์ ตั้งศรีรัตน์. (2548). เซนเซอร์และทรานสดิวเซอร์:ทฤษฎีและการประยุกต์ใช้ในระบบการวัดและระบบควบคุม. กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).
สนาม สุขารมณ์. (ม.ป.ป.). คุณลักษณะทรานส์ดิวเซอร์. สืบค้นเมื่อ 11 กรกฎาคม 2566, จาก http://www.tl.ac.th/document/a_sanam/sensor6.pdf
สมพงษ์ บัวแย้ม. (2561). เลี้ยงไก่ไข่ในเขตบ้านไว้ขาย-ไว้กิน. กรุงเทพฯ: ทานตะวัน.
เอกชัย ดีศิริ, ณัฐวุฒิ เต็มคำพร, นพดล กันไชย, วีระพงศ์ เพ็ชร์กระ, และพศวีร์ ศรีโหมด. (2563). การวัดปริมาณน้ำยาเครื่องล้างภาชนะผ่านเน็ตพาย. ใน การประชุมวิชาการเครือข่ายวิศวกรรมไฟฟ้า ครั้งที่ 12 (น. GN-05). นครนายก: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
เอกรินทร์ วิจิตต์พันธ์, ภานุมาศ โจพิงค์, ณัฐวัตร พ่อค้า, และนภารัตน์ ชูไพร. (2566). ระบบแจ้งเตือนเพื่อป้องกันปัญหาน้ำภายในบ้าน ผ่านแอปพลิเคชันไลน์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งรัตนโกสินทร์, 5(1), 82-93.
Chetpattananondh, K., Tapoanoi, T., Phukpattaranont, P., & Jindapetch, N. (2014). A self-calibration water level measurement using an interdigital capacitive sensor. Sensors and Actuators A: Physical, 209, 175-182.
Hrisko, J. (2020). MPS20N0040D Pressure Sensor Calibration with Arduino. Retrieved August, 1, 2023, from https://makersportal.com/blog/2020/6/4/mps20n0040d-pressure-sensor-calibration-with-arduino
Onchai, W., & Leelapatra, W. (2012). Design of Submersible Water Level Measuring Device. Proceeding of the Mae Fah Luang University International Conference 2012 (pp. 1-9). Chiang Rai: Mae Fah Luang University.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2024-05-29 (2)
- 2024-04-19 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 PSRU Journal of Science and Technology

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงแก้ไขตัวอักษรและคำสะกดต่างๆ ที่ไม่ถูกต้อง และต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร PSRU Journal of Science and Technology ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม และ
ผลการพิจารณาคัดเลือกบทความตีพิมพ์ในวารสารให้ถือมติของกองบรรณาธิการเป็นที่สิ้นสุด