การพัฒนายางฟองน้ำธรรมชาติผสมผงถ่านเปลือกเสาวรสเพื่อผลิตเบาะรองนั่งด้วยวิธีออกแบบการทดลอง
คำสำคัญ:
ยางฟองน้ำธรรมชาติ, เปลือกเสาวรส , เบาะรองนั่งบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาสูตรส่วนผสมในการผลิตยางฟองน้ำธรรมชาติผสมผงถ่านเปลือกเสาวรสที่เหมาะสมสำหรับนำไปใช้ในการผลิตเบาะรองนั่งด้วยวิธีออกแบบการทดลองแบบแฟกทอเรียลเต็มรูปแบบ (2k Full Factorial Design) โดยศึกษา 2 ปัจจัย คือ ปริมาณสารโซเดียมซิลิโคฟลูออไรด์ และปริมาณถ่านเปลือกเสาวรส ทำให้ได้อัตราส่วนระหว่างปริมาณสารโซเดียมซิลิโคฟลูออไรด์ : ปริมาณถ่านเปลือกเสาวรสในการทดลอง คือ 1 : 1 0.5 : 15 0.75 : 10 0.5 : 5 และ 1 : 15 กรัม ตามลำดับ จากการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณสมบัติความหนาแน่นและความแข็ง Shore 00 พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อความหนาแน่น คือ ปริมาณผงถ่านเปลือกเสาวรส ส่วนปัจจัยที่ส่งผลต่อค่าความแข็ง Shore OO ได้แก่ ปริมาณสารโซเดียมซิลิโคฟลูออไรด์และปริมาณผงถ่านเปลือกเสาวรส โดยสูตรส่วนผสมในการผลิตยางฟองน้ำธรรมชาติผสมผงถ่านเปลือกเสาวรสที่เหมาะสมที่สุดคือสูตรที่มีอัตราส่วนเท่ากับ 1 : 15 กรัม เนื่องจากมีความหนาแน่นและค่าความแข็งแบบ Shore มากที่สุด ซึ่งเหมาะสำหรับนำไปใช้ในการผลิตเบาะรองนั่ง โดยมีความแม่นยำในการทำนายสูงถึง 83.18% จากผลงานวิจัยสามารถใช้เป็นข้อมูลในการเตรียมยางฟองน้ำธรรมชาติผสมผงถ่านเปลือกเสาวรสเพื่อผลิตเบาะรองนั่งที่ผลิตจากวัสดุจากธรรมชาติ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และช่วยลดปริมาณเปลือกเสาวรสที่เหลือทิ้งจากการแปรรูปได้
References
กนกวรรณ ยันตะบุศย์, และพันธกานต์ แก้วอาษา. (2563). สมบัติทางกายภาพของยางโฟมธรรมชาติเสริมแรงด้วยเส้นใยตาล. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 22(3), 75-81.
กูซูซานา ยาวออาซัน. (2561). การพัฒนาสูตรยางฟองน้าจากน้ำยางธรรมชาติเพื่อผลิตสื่อการสอนสำหรับเด็ก. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 6(1), 66-75.
จันทร์จิรา โต๊ะขวัญแก้ว. (2562). การวิเคราะห์คุณค่าทางภาชนะเศษวัสดุเหลือใช้ของกล้วยหินและการใช้เสริมเป็นอาหารไก่พื้นเมือง. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ครั้งที่ 5 (น.739-744). เพชรบูรณ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.
ฉัตรพล พิมพา. (2565). การหาสภาวะที่เหมาะสมของเครื่องจักรในกระบวนการผลิตมันเทศโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนทับน้ำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิศวกรรมศาสตร์และนวัตกรรม, 15(1), 113-122.
ชัยวุฒิ วัดจัง, ศันศนีย์ ศรีจันทร์, เสาวลักษณ์ บุญยอด, และสราวุธ ประเสริฐศร. (2561). ผลิตภัณฑ์หมอนขิดยางพาราบ้านศรีฐาน จังหวัดยโสธร. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่, 10(1), 1-18.
ธันวมาส กาศสนุก, และคงเดช พะสีนาม. (2563). การออกแบบและสร้างเครื่องสับย่อยผักตบชวา. วารสารมทร.อีสาน, 13(3), 57-68.
ธีรพล ฟ้าคำตัน. (2563). การพัฒนาผลิตภัณฑ์เปลือกเสาวรสแช่อิ่มอบแห้ง และการศึกษาความพึงพอใจของผู้บริโภค ในเขตชุมชนเทศบาลตำบลแม่คำ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ, 13(1), 165-177.
นาซีเราะห์ แวดอเลาะ, รอฮานีย์ เปาะเยะ, และดาริกา จาเอาะ. (2562). การพัฒนาโฟมยางดูดซับเสียงโดยใช้ซัลโฟนิลไฮดราไซด์. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเครือข่ายภาคใต้ ครั้งที่ 4 (น. 617–626). ยะลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
นุชจิรา ดีแจ้ง, และศรารัตน์ มหาศรานนท์. (2562). การพัฒนาวัสดุดูดซับเสียงแบบรูพรุนของโฟมยางพาราที่เติม ผงถ่านจากซังข้าวโพด. Rattanakosin Journal of Science and Technology, 1(2), 27-36.
ปิ่ณชณัณ สุวรรณชนะ, และสมเกียรติ ตั้งจิตสิตเจริญ. (2564). การปรับปรุงความแข็งแรงของสร้อยข้อมือสายหนังโดยการประยุกต์การออกแบบการทดลอง. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 28(2), 87-99.
พรสวรรค์ อมรศักดิ์ชัย, ณัฐนนท์ พลชัย, และอมรรัตน์ ม่วงอ่อน. (2564). ผลของการกระตุ้นทางเคมีที่มีต่อ ถ่านกัมมันต์จากใบสับปะรด. Rattanakosin Journal of Science and Technology, 3(2), 36-44.
ยศวรรธน์ จันทนา, และนรัตว์ รัตนวัย (2565). ปัจจัยที่เหมาะสมเพื่อการปรับตั้งค่าเครื่องหั่นใบตะไคร้ด้วยเทคนิคออกแบบการทดลอง. วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 14(19), 83-95.
วัฒนา อัจฉริยะโพธา, และเบญจางค์ อัจฉริยะโพธา. (2565). การสกัดเพคตินจากเปลือกเสาวรสสีม่วงด้วยกรดผลไม้ภายใต้สภาวะที่เหมาะสม. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 41(6), 285-293.
สัจจะ ประสงค์ทรัพย์. (2563). เสาวรส. สืบค้นเมื่อ 25 มิถุนายน 2565, จาก: http://hort.ezathai.org/?p=8464.
อัสมา สายอ, อรญาณีย์ เจะปอ, นูรซูฮาดา บินดุลเล๊าะ, และดาริกา จาเอาะ. (2563). การพัฒนาโฟมยางดูดซับเสียงจากน้ำยางธรรมชาติ. ใน การประชุมวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 2 (น. 333-342). เลย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
ฮาซัน ดอปอ, ซีตีไซยีดะห์ สายวารี, สุกรี เส็มหมาด, และอัชมาน อาแด. (2565). ศึกษาสมบัติและการบำบัดส้นเท้าแตกของแผ่น โฟมรองฝ่าเท้าจากน้ำยางธรรมชาติที่มียูเรียเป็นสารตัวเติม. วารสารวิทยาศาสตร์ประยุกต์, 21(1), 1-17
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2024-05-29 (2)
- 2023-12-20 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 PSRU Journal of Science and Technology

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงแก้ไขตัวอักษรและคำสะกดต่างๆ ที่ไม่ถูกต้อง และต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร PSRU Journal of Science and Technology ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม และ
ผลการพิจารณาคัดเลือกบทความตีพิมพ์ในวารสารให้ถือมติของกองบรรณาธิการเป็นที่สิ้นสุด