This is an outdated version published on 2023-12-20. Read the most recent version.

ความสัมพันธ์ระหว่างจุดความร้อนจากการเผาฟางข้าวในที่โล่ง ต่อการเปลี่ยนแปลงปริมาณฝุ่น PM2.5 ในจังหวัดนครสวรรค์

ผู้แต่ง

  • ปฏิวิชช์ สาระพิน -
  • ทินพันธุ์ เนตรแพ
  • ฤทัยรัตน์ โพธิ
  • อนุวัตน์ แสงอ่อน
  • ชำมะเลียง เชาว์ธรรม

คำสำคัญ:

ฝุ่นPM2.5 , จุดความร้อน , เผาในที่โล่ง , ฟางข้าว

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อตรวจหาจำนวนจุดความร้อนโดยใช้เซ็นเซอร์ระบบโมดิส (Moderate Resolution Imaging Spectroradiometer; MODIS) ที่ติดตั้งบนดาวเทียม Terra และ Aqua และนำข้อมูลที่ได้ไปประเมินการเผาไหม้ฟางข้าวในที่โล่งที่ส่งผลต่อปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า 2.5 ไมโครเมตร (PM2.5) ในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ ระหว่างปีเพาะปลูก พ.ศ. 2563/2564 โดยรวบรวมข้อมูลฝุ่น PM2.5 รายวัน เฉลี่ย 24 ชั่วโมง จากสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ ผลการวิจัย พบว่า ถ้ามีการเผาฟางข้าวทั้งหมดในปีเพาะปลูก พ.ศ. 2563/2564 มีปริมาณฝุ่น PM2.5 จากข้าวนาปีและนาปรังประมาณ 10,075.86 กิโลกรัม และ 1,461.46 กิโลกรัม ตามลำดับ โดยพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ พบจุดความร้อนสูงสุด ในเดือนธันวาคม เดือนมกราคม และเดือนกุมภาพันธ์ ตามลำดับ ส่วนอำเภอที่มีความเปราะบางต่อการเผาในพื้นที่การเกษตรมากที่สุด ได้แก่ หนองบัว ท่าตะโก และไพศาลี นอกจากนี้การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ พบว่า จำนวนจุดความร้อนที่ปรากฏมีความสัมพันธ์กับความเข้มข้นของฝุ่น PM2.5 ในอากาศ จากผลการศึกษาดังกล่าว สามารถใช้เป็นข้อมูลสนับสนุน เพื่อนำไปสู่แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 และการเผาในพื้นที่นาข้าวของจังหวัดนครสวรรค์ รวมทั้งกลุ่มจังหวัดในเขตภาคเหนือตอนล่าง ได้อย่างถูกต้อง ทันเหตุการณ์ และมีประสิทธิภาพ

References

เกวลิน อินลวง, ชาคริต โชติอมรศักดิ์, วนิสา สุรพิพิธ, และ Ronald Macatangay. (2566). ความสัมพันธ์ของจุดความร้อนในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยและพื้นที่โดยรอบต่อค่าความเข้มข้น PM 2.5: กรณีศึกษาช่วงฤดูหมอกควัน ปี พ.ศ. 2562. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 33(2), 588-602.

เข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง. (2661). การติดตามจุดความร้อนจากการเผาเศษวัสดุทางการเกษตรเพื่อดำเนินการลดผลกระทบตามมาตรการแก้ไขปัญหาหมอกและควันไปในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.

เจน ชาญณรงค์. (2565). องค์ความรู้ไฟป่าและการเผาในที่โล่ง. กรุงเทพฯ: สมาคมวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย, ศูนย์วิชาการเพื่อขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ (ศวอ).

พงศ์ธร เพียรพิทักษ์. (2564). การจัดการเศษวัสดุทางการเกษตรเพื่อลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และสารก่อมลพิษทางอากาศในพื้นที่เกษตรกรรม 9 จังหวัด. กรุงเทพฯ: กรมพัฒนาที่ดิน, กองวิจัยและพัฒนาจัดการที่ดิน.

สำนักงานจังหวัดนครสวรรค์. (2564). ข้อมูลสำคัญจังหวัดนครสวรรค์ ประจำปี 2564. นครสวรรค์: สำนักงานจังหวัดนครสวรรค์, กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัดนครสวรรค์.

สำนักงานเกษตรจังหวัดนครสวรรค์. (2566). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาข้าวอย่างยั่งยืน จังหวัดนครสวรรค์ พ.ศ. 2566–2570. นครสวรรค์: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรมส่งเสริมการเกษตร.

สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ. (2561). สถานการณ์ไฟป่าจากภาพถ่ายดาวเทียม. สืบค้นเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2565, จาก https://fire.gistda.or.th.

หน่วยวิจัยเพื่อการจัดการพลังงานและเศรษฐนิเวศ. (2565). โครงการวิจัย เรื่อง การเฝ้าระวังและเตือนภัยปัญหาหมอกควันโดยเครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศระบบเซ็นเซอร์ Dust Boy ในประเทศไทย ระยะที่ 3. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Adeleke, A., Apidechkul, T., Kanthawee, P., Suma, Y., & Wongnuch, P. (2017). Contributing Factors and Impacts of Open Burning in Thailand: Perspectives from Farmers in Chiang Rai Province, Thailand. Journal of Health Research, 31(2), 159-167.

He, G., Liu, T., & Zhou, M. (2019). Straw Burning, PM 2.5 and Death: Evidence from China. Emerging Markets Economics: Environmental & Social Aspects eJournal, 2019-66.

Junpen, A., Pansuk, J., Kamnoet, O., Cheewaphongphan, P., & Garivait, S. (2018). Emission of Air Pollutants from Rice Residue Open Burning in Thailand, 2018. Atmosphere, 9, 449.

Tansey, K., Beston, J., Hoscilo, A., Page, S.E., & Paredes Herna´ndez, C.U. (2008). Relationship between MODIS fire hot spot count and burned area in a degraded tropical peat swamp forest in Central Kalimantan, Indonesia. Journal of Geophysical Research Atmospheres, 13, D23112.

Thepnuan, D., & Chantara, S. (2566). Characterization of PM2.5–bound Polycyclic Aromatic Hydrocarbons in Chiang Mai, Thailand during Biomass Open Burning Period of 2016. Applied Environmental Research, 42(3), 11-24.

Tianwei, W., Ke, M., Peihong, F., & Wei, H. (2022). Crop residual burning correlations with major air pollutants in mainland China. Frontiers in Environmental Science, 10, 1002610.

Tipayarom, D., & Oanh, N.T.K. (2007). Effects from Open Rice Straw Burning Emission on Air Quality in

the Bangkok Metropolitan Region. Science Asia, 33, 339-345.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-20

Versions

How to Cite

สาระพิน ป., เนตรแพ ท. . ., โพธิ ฤ. . ., แสงอ่อน อ. ., & เชาว์ธรรม ช. . . (2023). ความสัมพันธ์ระหว่างจุดความร้อนจากการเผาฟางข้าวในที่โล่ง ต่อการเปลี่ยนแปลงปริมาณฝุ่น PM2.5 ในจังหวัดนครสวรรค์. PSRU Journal of Science and Technology, 8(3), 54–68. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/Scipsru/article/view/253255