ผลของการพ่นโพแทสเซียมซิลิเกตทางใบต่อความแข็งแรง และลดการเกิดโรคราแป้งขององุ่นพันธุ์บิวตี้ซีดเลส
คำสำคัญ:
ซิลิกอน, องุ่น, ราแป้ง, ความต้านทาน, ความเครียดของพืชบทคัดย่อ
ปัจจัยทางสภาพภูมิอากาศและศัตรูพืชเป็นสาเหตุหลักของการสูญเสียผลผลิตองุ่นในประเทศไทย ปัจจุบันมีการใช้ซิลิกอน (Si) เป็นธาตุเสริมประโยชน์เพื่อสร้างความแข็งแรงแก่ธัญพืชอย่างแพร่หลาย แต่บทบาทของ Si ต่อการเพิ่มความแข็งแรงในองุ่นนั้นยังมีข้อมูลที่จำกัด การทดลองครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโพแทสเซียมซิลิเกต (K2SiO3) ต่อการส่งเสริมความแข็งแรงและลดการเกิดโรคราแป้งขององุ่น วางแผนการทดลองแบบสุ่มบล็อกสมบูรณ์ (RCBD) จำนวน 4 ซ้ำ โดยทำการพ่นสารละลายโพแทสเซียมซิลิเกต อัตรา 0 1000 2000 และ 3000 มก./ลิตร/ต้น ในองุ่นพันธุ์บิวตี้ซีดเลสที่ระยะดอกบาน-ติดผลทุก 10 วัน จำนวน 7 ครั้ง จากนั้นเก็บข้อมูลการเจริญเติบโต ผลผลิต ดัชนีผลแตก และดัชนีการเกิดโรคราแป้งในใบและผลองุ่นของทุกระยะการเจริญเติบโต กรรมวิธีละ 200 ซ้ำย่อย ผลการทดลองพบว่า สารละลายโพแทสเซียม ซิลิเกตความเข้มข้น 1000 มก./ลิตร สามารถลดดัชนีผลแตก ดัชนีการเกิดโรคราแป้งในใบและผลอย่างชัดเจนที่ระยะผลเปลี่ยนสีถึง 27.50 30.65 และ 34.65% ตามลำดับ ขณะที่ความเข้มข้น 2000 และ 3000 มก./ลิตร ยิ่งลดดัชนีผลแตก ดัชนีการเกิดโรคราแป้งในใบและผลได้สูงสุดถึง 92.56 79.03 และ 70.83% ตามลำดับ ซึ่งสูงกว่าความเข้มข้น 1000 มก./ลิตร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้การพ่นสารละลายโพแทสเซียมซิลิเกตทุกความเข้มข้นสามารถเพิ่มปริมาณคลอโรฟิลล์ในใบและปริมาณผลผลิตให้สูงขึ้นเล็กน้อย ดังนั้นจึงสามารถสรุปได้ว่าโพแทสเซียมซิลิเกต มีบทบาทสำคัญในด้านการส่งเสริมความแข็งแรงของเซลล์พืชให้ทนทานต่อการแตกและการเข้าทำลายของเชื้อสาเหตุโรคพืชมากกว่าการส่งเสริมการเจริญเติบโตและการเพิ่มผลผลิตขององุ่น
References
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน). (2559). องุ่นพันธุ์ Beauty Seedless. สืบค้นเมื่อ 9 ธันวาคม 2562, จาก https://web2012.hrdi.or.th/knowledge/detail.
สุรศักดิ์ นิลนนท์. (2555). เทคโนโลยีการผลิตองุ่นและการทำไวน์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สุรีย์วัลย์ เมฆกมล, กาญจนา วิชิตตระกูลถาวร, และเรณู สุวรรณพรสกุล. (2559). ผลของโพแทสเซียมซิลิเกตในการควบคุมโรคราแป้งและราน้ำค้างของแตงกวาญี่ปุ่นภายใต้สภาพโรงเรือนและแปลงปลูกของเกษตรกร. วารสารเกษตร, 32(1), 51-59.
Arnon, D.I., & Stout, P.R. (1939). The essentiality of certain elements in minute quantity for plants with special reference to copper. Plant Physiol., 14, 371-375.
Bassiony, S.S., & Ibrahim, M.G. (2016). Effect of silicon foliar sprays combined with moringa leaves extract on yield and fruit quality of “flame seedless” grape (Vitis vinifera L.). J. Plant Production, Mansoura Univ. 7(10), 1127-1135.
Cherif, M., Asselin, A., & Balanger, R.R. (1994). Defense responses induced by soluble silicon in cucumber roots infected by Pythium spp. Phytopathology, 84, 236-242.
Epstein, E. (1994). The anomaly of silicon in plant biology. Proc. Natl. Acad. Sci., 91, 11-17.
Fawe, A., Abou-Zaid, M., Menzier, J.G., & Belanger, R.R. (1998). Silicon-mediated accumulation of flavonoid phytoalexins in cucumber. Biochem. Cell Biol., 88, 396-401.
Guerriero, G., Hausman, J.F., & Legay, S. (2016). Silicon and the plant extracellular matrix. Front. Plant Sci., 7, 463.
Liang, Y.C., Sun, W.C., Si, J., & Romheld, V. (2005). Effects of foliar and root applied silicon on the enhancement of induced resistance to powdery mildew in Cucumis sativus. Plant Pathol., 54, 678-685.
Ma, J.M. (2004). Role of silicon in enhancing the resistance of plants to biotic and abiotic stresses. Soil Sci. Plant Nutr., 50(1), 11-18.
Ma, J.F., & Takahashi, E. (2002). Soil, fertilizer, and plant silicon research in Japan. Amsterdam: Elsevier Science.
Marschner, H. (1995). Mineral nutrition of higher plants. (2nd Edition). London: Academic Press.
Menzies, J.G., Ehret, D.L., Glass, A.D.M., Helmer, T., Koch, C., & Seyward, F. (1991). Effects of soluble silicon on the parasitic fitness of Sphaerotheca juliginea on Cucumis sativus. Phytopathology, 81, 84-88.
Ng, L.C., Adila, Z.N., Sharul Hafiz, E.M., & Aziz, A. (2021). Foliar spray of silicon enhances resistance against Pyricularia oryzae by triggering phytoalexin responds in aerobic rice. Eur. J. Plant Pathol., 159, 673–683.
Rashad Y.M., El-Sharkawy, H.H.A., Belal, B.E.A., Abdel Razik, E.S., & Galilah, D.A. (2021). Silica nanoparticles as a probable anti-oomycete compound against downy mildew, and yield and quality enhancer in grapevines: field evaluation, molecular, physiological, ultrastructural, and toxicity investigations. Front. Plant Sci., 12, 763365. Doi: 10.3389/fpls.2021.763365.
Ramteke, S.D., Urkude, V., Parhe, S.D., & Bhagwat, S.R. (2017). Berry cracking; its causes and remedies in grapes – a review. Trends Biosci., 10(2), 549-556.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2024-05-29 (2)
- 2023-08-23 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 PSRU Journal of Science and Technology

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงแก้ไขตัวอักษรและคำสะกดต่างๆ ที่ไม่ถูกต้อง และต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร PSRU Journal of Science and Technology ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม และ
ผลการพิจารณาคัดเลือกบทความตีพิมพ์ในวารสารให้ถือมติของกองบรรณาธิการเป็นที่สิ้นสุด