ความรู้ พฤติกรรม และความตระหนักของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในการใช้สารเคมีทางการเกษตรในจังหวัดพิษณุโลก
คำสำคัญ:
การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร, ระดับความรู้, การใช้สารเคมีทางการเกษตร, พฤติกรรม, ความตระหนักบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรู้ พฤติกรรมการใช้สารเคมีทางการเกษตร รวมถึงความตะหนักถึงอันตรายและผลกระทบของการใช้สารเคมีทางการเกษตรของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในอำเภอเมือง อำเภอบางกระทุ่ม อำเภอวังทอง อำเภอบางระกำ อำเภอเนินมะปราง และอำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลจากเกษตรกรผู้ปลูกข้าว 400 ราย ซึ่งทำการสุ่มตัวอย่างตามความสะดวก ผลการศึกษา พบว่า เกษตรกรผู้ปลูกข้าวมีการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการใช้และอันตรายของสารเคมีทางการเกษตร ร้อยละ 52.75 โดยแหล่งข้อมูลที่เกษตรกรผู้ปลูกข้าวได้รับข้อมูลมากที่สุดมาจากร้านขายสารเคมีทางการเกษตร ร้อยละ 72.51 เกษตรกรผู้ปลูกข้าวส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับการใช้และอันตรายของสารเคมีทางการเกษตรอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 49.00 พฤติกรรมการใช้และการป้องกันอันตรายจากสารเคมีทางการเกษตรของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวอยู่ในระดับปานกลาง (x̄=2.28±0.13) สำหรับความตระหนักถึงอันตรายจากการใช้สารเคมีทางการเกษตรของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวอยู่ในระดับมาก (x̄=4.18±0.05) โดยเกษตรกรผู้ปลูกข้าวมีความตระหนักถึงผลกระทบต่อตัวเกษตรกรผู้ปลูกข้าวเองมากที่สุด (x̄ =4.44±0.62) รองลงมา ได้แก่ ความตระหนักถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (x̄= 4.06±0.67) และความตระหนักถึงผลกระทบต่อผู้บริโภค (x̄=4.05±0.72) ตามลำดับ ดังนั้น การส่งเสริมให้ความรู้ความเข้าใจและวิธีปฏิบัติที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้และป้องกันอันตรายจากสารเคมีทางการเกษตรที่ถูกต้องจะนำไปสู่การลดอัตราการเจ็บป่วยจากการทำนา และอาจสามารถลดผลกระทบต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อมได้
References
กนกวรรณ วรชินา, นิภา มหารัชพงศ์, และปาจรีย์ อับดุลลากาซิม. (2565). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันตนเองในการใช้สารเคมกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปีจังหวัดนครพนม. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 15(3), 252-265.
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2566). ข้อมูลพื้นฐานด้านการเกษตร. สืบค้นเมื่อ 8 มิถุนายน 2566, จาก https://www.opsmoac.go.th/phitsanulok-dwl-files-451991791885.
กาญจนารัตน์ โสกูล, และรัชนีกร ทบประดิษฐ์. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อความตระหนักต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมในการใช้สารเคมีทางการเกษตรของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวตำบลหนองกง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ (รายงานวิจัย). บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
ทองพูล แก้วกา. (2557). ความเสี่ยงในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ของเกษตรกรตำบลวังทอง อำเภอนาวัง จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2(4), 117-128.
ธนานันต์ นุ่มแสง, และธนิตา ตันตระรุ่งโรจน์. (2561). การทดสอบความเที่ยงตรงและความเชื่อมั่นของแบบประเมินกลยุทธ์ในการรับมือกับความเครียดแบบสั้นฉบับภาษาไทย. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 63(2), 189-198.
ธัญญาภรณ์ ไทยอู่, สรัญญา ถี่ป้อม, สุดาวดี ยะสะกะ, และวิโรจน์ จันทร์. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชของคนงานรับจ้างฉีดพ่นสารเคมี ตำบลดงประคำ อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก. วารสารควบคุมโรค, 43(3), 293-305.
นัสพงษ์ กลิ่นจำปา, และดาริวรรณ เศรษฐีธรรม. (2562). พฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรตำบลป่าไม้งาม อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารวิชาการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา, 25(2), 26-34.
พิมพ์ชนก สังข์แก้ว, เบญจวรรณ จันทร์แก้ว, และวีร์ พวงเพิกศึก. (2563). การพัฒนาชุมชนต้นแบบข้าวอินทรีย์ กรณีศึกษาเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในพื้นที่จังหวัดเชียงราย. วารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 7(1), 1-14.
พิมพ์ลดา ภิรมย์จิตร, และสุชาดา ภัยหลีกลี้. (2557). ความรู้ และพฤติกรรมการใช้สารเคมีกาจัดศัตรูพืชของเกษตรกรบ้านนาเหล่า อําเภอนาวัง จังหวัดหนองบัวลําภู. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชนมหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2(3), 299-309.
มณีรัตน์ สวนม่วง, อัมรินทร์ คงทวีเลิศ, มลินี สมภพเจริญ, และดุสิต สุจิรารัตน. (2562). ความรู้และพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของคนงานรับจ้างฉีดพ่น. วารสารสุขศึกษา, 42(2), 2-11.
วธัญณ์ชนก จงสมัคร, ชัยธัช จันทร์สมุด, และธันวา ใจเที่ยง.(2563). ความรู้และพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยในพื้นที่เทศบาลตำบลลำพันชาดอำเภอวังสามหมอ จังหวัดดอุดรธานี.วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 31(1), 262-267.
ศิริกัญญา ฤทธิ์แปลก, ภัคศรัญย์ นวสรณ์สิริ, ชนะชัย บุริทัด, และกิตติพศ เยี่ยมพูล. (2561). บทความวิชาการเรื่อง ปัญหาสุขภาพของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ยาง และอ้อย. กาญจนบุรี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.
สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดพิษณุโลก. (2566). จำนวนครัวเรือนเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียน. สืบค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2566, จาก http://www2.phitsanulok.go.th:81/bigdata/64/Index.Php.
สำนักโรคจากการประกอบอาชีพ. (2561) รายงานข้อมูลแรงงานด้านการเกษตรและประมง. สืบค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2566, จาก http://envocc.ddc.moph.go.th/.
สำนักงานพัฒนาชุมชมจังหวัดพิษณุโลก. (2561). รายงานคุณภาพชีวิตของประชาชนจังหวัดพิษณุโลก. สืบค้น 4 มีนาคม 2565, จาก https://phitsanulok.cdd.go.th/wp-content/ uploads/sites/38/2018/07/07.
อภิมัณฑ์ สุวรรณราช, และปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์. (2558). พฤติกรรมการป้องกันตนเองจากอันตรายในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรในเขตพื้นที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเหมืองแบ่ง ตำบลหนองหญ้าปล้อง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 3(3), 395-407.
Best, J.W. (1977). Research in Education. 3rd ed. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice Hall, Inc.
Bloom, B.S. (1971). Handbook on Formative and Summative Evaluation of Student, Learning. New York: Mc Graw-Hill Co.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2024-05-29 (2)
- 2023-12-20 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 PSRU Journal of Science and Technology

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงแก้ไขตัวอักษรและคำสะกดต่างๆ ที่ไม่ถูกต้อง และต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร PSRU Journal of Science and Technology ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม และ
ผลการพิจารณาคัดเลือกบทความตีพิมพ์ในวารสารให้ถือมติของกองบรรณาธิการเป็นที่สิ้นสุด