ผลของวัสดุปลูกต่อการเจริญเติบโตของไมโครกรีนโต้วเหมี่ยว
คำสำคัญ:
โต้วเหมี่ยว , ไมโครกรีน , วัสดุปลูกบทคัดย่อ
การทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของวัสดุปลูกต่อการงอกของเมล็ด การเจริญเติบโต และคุณภาพของผลผลิตไมโครกรีนโต้วเหมี่ยว ทำการทดลอง ณ โรงเรือนปลูกพืชเศรษฐกิจ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ จำนวน 4 กรรมวิธี คือ 1) ดิน : แกลบดำ อัตราส่วน 1 : 1 2) ดิน : ขุยมะพร้าว อัตราส่วน 1 : 1 3) ดิน : แกลบดำ : ขุยมะพร้าว อัตราส่วน 1 : 1 : 1 และ 4) ดิน ทำการเพาะไมโครกรีนโต้วเหมี่ยวเป็นเวลา 10 วัน จากผลการทดลอง พบว่า กรรมวิธีที่ 1 ดิน : แกลบดำ มีผลทำให้ดัชนีการงอก 45.22 และความสูงต้น 10.27 เซนติเมตรต่อต้น มีค่าสูงกว่ากรรมวิธีอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ยังมีเปอร์เซ็นต์ความงอกและน้ำหนักสดของต้นสูงกว่ากรรมวิธีอื่น คือ 54.00% และ 2.23 กรัมต่อต้น ตามลำดับ กรณีกรรมวิธีที่ 2 ดิน : ขุยมะพร้าว มีผลทำให้น้ำหนักสดของราก 0.56 กรัมต่อต้น ความยาวของราก 13.79 เซนติเมตรต่อต้น และปริมาณน้ำตาล 0.0354 องศาบริกซ์ต่อต้น ซึ่งมีค่าสูงกว่ากรรมวิธีอื่น สำหรับกรรมวิธีที่ 4 ดิน มีผลทำให้ มีปริมาณเส้นใยสูงที่สุด คือ 2.06%น้ำหนักสด ในขณะที่กรรมวิธีที่ 3 ดิน : แกลบดำ : ขุยมะพร้าว ในภาพรวมทำให้ไมโครกรีนโต้วเหมี่ยวมีการงอก การเจริญเติบโตและคุณภาพของต้นอ่อนน้อยกว่ากรรมวิธีอื่น จากผลการวิจัยสามารถใช้เป็นข้อมูลในการปรับใช้วัสดุเพาะต้นอ่อนโต้วเหมี่ยวให้มีส่วนผสมของดินและแกลบดำจะได้ต้นอ่อนที่โตเร็ว ต้นอวบ น้ำหนักดี รสชาติหวานอร่อยเป็นที่นิยมของผู้บริโภคทั้งเพื่อการบริโภคในเครัวเรือน หรือผลิตเพื่อจำหน่ายสร้างรายได้ โดยเฉพาะกลุ่มผู้รักสุขภาพ เพราะเป็นพืชผักที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง สะอาด ปลอดภัยจากโรคแมลงและสารเคมีอันตราย
References
กษิเดช ฉันทกุล, อัญชลี ศิริโชติ, และดุสิตา ถิระวัฒน์. (2556). ผลของระยะการเจริญเติบโตต่อคุณภาพของถั่วลันเตางอก (โต้วเหมียว). วิทยาศาสตร์เกษตร, 44(3), 208-212.
กัญญารัตน์ เหลืองประเสริฐ, และไกรยศ แซ่ลิ้ม. (2565). ความสัมพันธ์ของวัสดุปลูกที่ต่างกันต่อการเจริญของไมโครกรีนผักบุ้ง. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย, 14(2), 485-496.
กัญญารัตน์ เหลืองประเสริฐ, ชนิกาญจน์ จันทร์มาทอง, และไกรยศ แซ่ลิ้ม. (2022). ผลของระยะเวลาการให้แสงต่อการเติบโตของไมโครกรีนผักบุ้ง. PSRU Journal of Science and Technology, 7(3), 35-46.
ณัฐวรรณ พรมมา, สุทินันท์ จันทร์ดา, นันทา เป็งเนตร์, และพีระศักดิ์ ฉายประสาท. (2559). คุณค่าทางโภชนาการของต้นอ่อนถั่วลันเตาที่ระยะการเจริญเติบโตต่างๆ. วิทยาศาสตร์เกษตร, 47(3), 221-224.
ปณาลี ศรีแดงบุตร. (2557). ปริมาณคลอโรฟิลล์ วิตามินซี เส้นใยอาหาร และคาร์โบไฮเดรตในเมล็ดถั่วเหลืองงอก. (ปัญหาพิเศษปริญญาตรี). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, คณะเกษตร, ภาควิชาพืชสวน.
วันชัย จันทร์ประเสริฐ. (2553). สรีรวิทยาเมล็ดพันธุ์. กรุงเทพฯ: ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
อินทิรา ลิจันทร์พร, นันท์ชนก นันทะไชย, ปาลิดา ตั้งอนุรัตน์, และภูรินทร์ อัครกุลธร. (2564). ผลของน้ำผักไชยา (Cnidoscolus chayamansa) เข้มข้นต่อคุณภาพของแยมกระเจี๊ยบแดงลดน้ำตาล. Journal of Applied Research on Science and Technology, 20(2), 1-11.
อุมาวดี ลิ้มเสถียรกุล. (2546). การเจริญเติบโตของผักกาดหอมพันธุ์ red oak ที่ปลูก ในวัสดุขุยมะพร้าวผสมทราย เมื่อได้รับธาตุ อาหารไนโตรเจน แคลเซียม และโพแทสเซียม ในระดับความเข้มข้นแตกต่างกัน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, คณะเกษตรศาสตร์.
Gioia, D.F., Renna, M., & Santamaria, P. (2017). Minimally processed refrigerated fruits and vegetables: Sprouts, microgreens and baby leaf vegetables. (2nd edition). US: Springer.
ISTA. (2013). International Rules for Seed Testing: Rule 2013. International Seed Testing Association, Zurich, Switzerland. Seed Science and Technology, 26(5), 1055-1063.
Minh, G.H., & Thuong, V.T. (2022). Selection of suitable growing substrates and quality assessment of Brassica microgreens cultivated in greenhouse. Academia Journal of Biology, 44(2), 1-10.
Santos, J., Herrero, M., Mendiola, A.J., Oliva-Teles, T.M., Ibanez, E., Delerue-Matos, C., & Oliveira, P.M.B.P. (2014). Assessment of nutritional and metabolic profiles of pea shoots: The new ready-to-eat baby-leaf Vegetable. Food Research International, 58, 105-111.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2024-05-29 (2)
- 2023-08-23 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 PSRU Journal of Science and Technology

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงแก้ไขตัวอักษรและคำสะกดต่างๆ ที่ไม่ถูกต้อง และต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร PSRU Journal of Science and Technology ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม และ
ผลการพิจารณาคัดเลือกบทความตีพิมพ์ในวารสารให้ถือมติของกองบรรณาธิการเป็นที่สิ้นสุด