อิทธิพลของกระบวนการหมักต่อการปลดปล่อยธาตุอาหารไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม
คำสำคัญ:
ปุ๋ยหมัก, ธาตุอาหาร, ไนโตรเจน, ฟอสฟอรัส, โพแทสเซียมบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการปลดปล่อยธาตุอาหารไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ภายใต้สภาวะการหมักในกระสอบที่สามารถระบายอากาศได้ซึ่งมีวัตถุดิบหมัก ประกอบด้วย มูลสุกร มูลโค กากน้ำตาล รำละเอียด น้ำหมักปลา และมูลค้างคาว ในสัดส่วนร้อยละ 53.89 37.50 3.43 3.15 1.14 และ 0.94 ตามลำดับ ทำการหมักเป็นระยะเวลา 105 วัน โดยเก็บตัวอย่างปุ๋ยหมักในวันที่ 0 3 7 14 21 28 35 42 49 63 77 91 และ 105 จากการศึกษาปุ๋ยหมักแบ่งตามอุณหภูมิได้เป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะเริ่มผสม (วันที่ 0) ระยะอุณภูมิสูง (1-27) และระยะที่ปุ๋ยหมักพัฒนาเต็มที่ตั้งแต่วันที่ 28 เป็นต้นไป พบว่า การย่อยสลายอินทรียวัตถุของจุลินทรีย์ทำให้ปริมาณอินทรียวัตถุและอัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจนมีแนวโน้มลดลงสัมพันธ์กับระยะเวลาการหมักอย่างมีนัยสำคัญ (r=-0.387, P<0.05 และ r=-0.630, P<0.01 ตามลำดับ) และปริมาณธาตุอาหารไอออนที่มีประจุเพิ่มขึ้นสอดคล้องกับค่าการนำไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นและสัมพันธ์กับระยะเวลาหมัก (r=0.895, P<0.01) โดยอินทรียวัตถุที่ถูกย่อยสลายปลดปล่อยธาตุอาหารไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมเพิ่มขึ้นด้วยอัตรา 0.0737 0.1681 และ 0.1217 มิลลิกรัมต่อวัน ตามลำดับ และมีค่าสูงสุดวันที่ 49 จากนั้นมีแนวโน้มลดลงเมื่อสิ้นสุดกระบวนการหมัก นอกจากนี้ในช่วงท้ายของการหมักปุ๋ยมีค่าการนำไฟฟ้าสูงกว่ามาตรฐานกรมวิชาการเกษตรเล็กน้อย จึงไม่ควรเก็บไว้นานเกิน 63 วัน จะทำให้คุณภาพของปุ๋ยหมักมีแนวโน้มลดลงและไม่เหมาะแก่การนำไปใช้
References
ณัฏฐ์ชยธร ขัตติยะพุฒิเมธ, และชุลีมาศ บุญไทย อิวาย. (2561). ผลของระยะเวลาการเก็บรักษาต่อคุณภาพของปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน. วารสารดินและปุ๋ย, 40(2), 31-38.
ประกาศกรมวิชาการเกษตร. (2557). ราชกิจจานุเบกษา, 131 (ตอนพิเศษ 29 ง), 4.
Abdellah, Y.A.Y., Li, T., Chen, X., Cheng, Y., Sun, S., Wang, Y., Jiang, C., Zhang, H., & Li, C. (2021). Role of psychrotrophic fungal strains in accelerating and enhancing the maturity of pig manure composting under low-temperature conditions. Bioresource Technology, 320, 124402.
Do, T., Le, V., Ngo, C., Do, T., & Dang, T. (2021). Biological characteristics and classification of thermophilic actinomycetes showed extracellular hydrolytic enzymes producing ability isolated from compost. E3S Web of Conferences, 265, 04008.
Heaton, L., Fullen, M., & Bhattacharyya, R. (2016). Critical Analysis of the van Bemmelen Conversion Factor used to Convert Soil Organic Matter Data to Soil Organic Carbon Data: Comparative Analyses in a UK Loamy Sand Soil. Espaço Aberto, 6, 35-44.
Insam, H., & de Bertoldi, M. (2007). Chapter 3 Microbiology of the composting process. In L. F. Diaz, M. de Bertoldi, W. Bidlingmaier, & E. Stentiford (Eds.), Waste Management Series (8, 25-48): Elsevier.
Latimer, G.W. (2012). Official Methods of Analysis of AOAC International. (19th ed.). Gaithersburg: AOAC International.
Li, C., Li, H., Yao, T., Su, M., Ran, F., Han, B., Li, J., Lan, X., Zhang, Y., Yang, X., & Gun, S. (2019). Microbial inoculation influences bacterial community succession and physicochemical characteristics during pig manure composting with corn straw. Bioresource Technology, 289, 121653.
Tong, B., Wang, X., Wang, S., Ma, L., & Ma, W. (2019). Transformation of nitrogen and carbon during composting of manure litter with different methods. Bioresource Technology, 293, 122046.
Wang, L., Li, Y., Prasher, S.O., Yan, B., Ou, Y., Cui, H., & Cui, Y. (2019). Organic matter, a critical factor to immobilize phosphorus, copper, and zinc during composting under various initial C/N ratios. Bioresource Technology, 289, 121745.
Wang, Y., Tang, Y., & Yuan, Z.(2022).Improving food waste composting efficiency with mature compost addition. Bioresource Technology, 349, 126830.
Yu, H., Xie, B., Khan, R., & Shen, G. (2019). The changes in carbon, nitrogen components and humic substances during organic-inorganic aerobic co-composting. Bioresource Technology, 271, 228-235.
Zhou, J.-M. (2017). The Effect of Different C/N Ratios on the Composting of Pig Manure and Edible Fungus Residue with Rice Bran. Compost Science & Utilization, 25(2), 120-129.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2024-05-29 (2)
- 2023-04-21 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 PSRU Journal of Science and Technology

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงแก้ไขตัวอักษรและคำสะกดต่างๆ ที่ไม่ถูกต้อง และต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร PSRU Journal of Science and Technology ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม และ
ผลการพิจารณาคัดเลือกบทความตีพิมพ์ในวารสารให้ถือมติของกองบรรณาธิการเป็นที่สิ้นสุด