ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากเห็ดราทำลายไม้
คำสำคัญ:
เห็ดราทำลายไม้, อนุมูลอิสระ, สารต้านอนุมูลอิสระ, สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพบทคัดย่อ
งานศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดเห็ดราทำลายไม้ จำนวน 13 ไอโซเลต (NK0001 NK0049 NK0182 NK0317 NW1820 NW1821 NW1826 NW1836 NW1838 NW1842 NW1847 NW1850 และ NW1851) ที่ได้รับจากศูนย์ความเป็นเลิศ ด้านความหลากหลายของจุลินทรีย์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยเลี้ยงเห็ดราทำลายไม้ในอาหาร Potato Dextrose Broth; PDB เป็นเวลา 14 วัน จากนั้นกรองเส้นใยและทำให้แห้งด้วยตู้อบลมร้อน (45 องศาเซลเซียส) และนำมาสกัดโดยการแช่ยุ่ยด้วยเอทานอลเป็นเวลา 48 ชั่วโมง กรองสารสกัด และปรับปริมาตรเป็น 10 มิลลิลิตร ด้วยเอทานอล เมื่อตรวจสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดด้วย 2,2-Diphenyl-1-picrylhydrazyl (DPPH) free radical scavenging capacity assay พบว่า สารสกัดเห็ดราทำลายไม้ (1000 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร) สามารถยับยั้งอนุมูลอิสระในช่วง 5.47-90.06 % โดยเห็ดราทำลายไม้ที่มีศักยภาพสูงในการยับยั้งอนุมูลอิสระ (ค่าการยับยั้งมากกว่า 50%) คือ NW1851 (90.06%) NK001 (78.86%) NW1836 (69.12%) NW1842 (67.48%) NW1826 (62.81%) และ NW1820 (59.68%) และพบว่า สารสกัดจาก NW1851 มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงที่สุดโดยมีค่า IC50 เท่ากับ 39.96 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร นอกจากนี้จากการตรวจสอบปริมาณสารประกอบฟีนอลิก ฟลาโวนอยด์ และแทนนินทั้งหมดในสารสกัดเห็ดราทำลายไม้ พบว่า เห็ดราทำลายไม้ไอโซเลต NW1851 มีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกและแทนนินทั้งหมดสูงที่สุดเท่ากับ 2.17 มิลลิกรัมสมมูลกรดแกลลิกต่อกรัมสารสกัด และ 1.34 มิลลิกรัมสมมูลกรดแทนนิกต่อกรัมสารสกัด ตามลำดับ ขณะที่เห็ดราทำลายไม้ไอโซเลต NK0049 มีปริมาณฟลาโวนอยด์สูงที่สุดเท่ากับ 1.20 มิลลิกรัมสมมูลเคอซิทินต่อกรัมสารสกัด งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าเห็ดราทำลายไม้มีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระมีความเหมาะสม
ในการนำไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมอาหาร ยา เครื่องสำอางได้ในอนาคต
References
น้ำฝน เบ้าทองคำ, และถนอมนวล พรหมบุญ. (2556). การศึกษาสารต้านอนุมูลอิสระและปริมาณสารฟีนอลิกทั้งหมดของเห็ดป่าจากป่าชุมชนบ้านน้ำจาง จังหวัดเพชรบูรณ์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์, สาขาวิชาชีววิทยา.
บุหรัน พันธุ์สวรรค์. (2556). อนุมูลอิสระ สารต้านอนุมูลอิสระ และการวิเคราะห์ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 21(3), 275-286.
พรพิมล กิจวิชา. (2558). การศึกษาฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดหยาบพอลิแซ็กคาไรด์จากเส้นใยของเชื้อเห็ดตับเต่า. (ปัญหาพิเศษปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต). โครงการจัดตั้งภาควิชาเคมี คณะศิลปะศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ภาวดี ช่วยเจริญ. (2561). การศึกษาผลของการต้มต่อฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและสารประกอบฟีนอลิครวมในเห็ดออรินจิ เห็ดหูหนูดำ เห็ดนางฟ้า และเห็ดหอม. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 6 (น.382-390). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สุทธิดา วิทนาลัย. (2565). ฤทธิ์ทางชีวภาพและฟีนอลิกของสารสกัดเมล็ดของสารสกัดเมล็ดและเปลือกของลางสาด. PSRU Journal of Science and Technology, 7(1), 83-99.
โอภา วัชระคุปต์, บังอร วงศ์รักษ์, และศศิลักษณ์ ปยะสุวรรณ. (2550). สารต้านอนุมูลอิสระ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: นิวไทยมิตรการพิมพ์.
Chandra, P., Arora, D.S., Pal, M., & Sharma, R.K. (2019). Antioxidant potential and extracellular auxin production by white rot fungi. Appl. Biochem. Biotechnol., 187(2), 531-539.
Ganesan, V., Hariram, M., Vivekanandhan, S., & Muthuramkumar, S. (2020). Periconium sp. (endophytic fungi) extract mediated sol-gel synthesis of ZnO nanoparticles for antimicrobial and antioxidant applications. Mater. Sci. Semicond. Process., 105, 104739.
Halliwell, B., & Gutteridge, J.M.C. (2003). Free radicals in biology and medicine. U.K : Oxford university Press.
Hameed, A., Hussain, S.A., Yang, J., Ijaz, M.U., Liu, Q., Suleria, H., & Song, Y. (2017). Antioxidants potential of the filamentous fungi (Mucor circinelloides). Nutrients, 9(10), 1101.
Tavares, D.G., Barbosa, B.V.L., Ferreira, R.L., Duarte, W.F., & Cardoso, P.G. (2018). Antioxidant activity and phenolic compounds of the extract from pigment-producing fungi isolated from Brazilian caves. Biocatal. Agric. Biotechnol., 16, 148-154.
Vaz, J.A., Barros, L., Martins, A., Morais, J.S., Vasconcelos, M.H., & Ferreira, I.C.F.R. (2011). Phenolic profile of seventeen Portuguese wild mushrooms. LWT - Food Sci. Technol., 44(1), 343-346.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 PSRU Journal of Science and Technology

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงแก้ไขตัวอักษรและคำสะกดต่างๆ ที่ไม่ถูกต้อง และต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร PSRU Journal of Science and Technology ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม และ
ผลการพิจารณาคัดเลือกบทความตีพิมพ์ในวารสารให้ถือมติของกองบรรณาธิการเป็นที่สิ้นสุด