ความหลากหลายทางพันธุกรรมของพืชบางชนิดในสกุลหงส์เหิน ที่พบในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ศูนย์การศึกษาสามพร้าวโดยการใช้เครื่องหมายโมเลกุลอาร์เอพีดี

ผู้แต่ง

  • ทัศนัย ปัญจันทร์สิงห์ Udon Thani Rajabhat University
  • วัลยา มงคลสวัสดิ์
  • สุกานดา บุญรักษา
  • วิบูล เป็นสุข

คำสำคัญ:

พืชสกุลหงส์เหิน, เครื่องหมายโมเลกุลอาร์เอพีดี

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมในพืชบางชนิดในสกุลหงส์เหิน โดยการใช้เครื่องหมายโมเลกุล RAPD ร่วมกับลักษณะสัณฐานวิทยาเบื้องต้น โดยสำรวจและเก็บตัวอย่างศึกษาสัณฐานวิทยา จากนั้นนำตัวอย่างมาสกัดดีเอ็นเอด้วยวิธี CTAB ที่ดัดแปลงจาก Doyle & Doyle (1987) กับพืชทั้งหมด 9 ตัวอย่าง เพิ่มปริมาณดีเอ็นเอโดยด้วยเทคนิค PCR RAPD เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมด้วยวิธี UPGMA พบว่า จาก 25 ไพรเมอร์สามารถเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอได้กับทุกตัวอย่าง จำนวน 4 ไพรเมอร์ ได้แก่ OPA-03 OPC-05 OPC-06 และ OPX-12 โดยปรากฏแถบดีเอ็นเอทั้งหมด 141 แถบ มีขนาดประมาณ 250-2,500 คู่เบส และเมื่อสร้างแผนภาพความสัมพันธ์ทางพันธุกรรม พบว่า มีค่าอยู่ในช่วง 0.420-0.938 โดยสามารถจัดกลุ่มพืชออกเป็น 2 กลุ่ม ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาด้านลักษณะสัณฐานวิทยาของพืช คือ ลักษณะของเกสรเพศผู้ที่เป็นหมัน (Staminode) และรยางค์ โดยแบ่งออกได้ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 เกสรเพศผู้ที่เป็นหมัน (Staminode) มีลักษณะกางออกจากหลอดกลีบดอก (Floral tube) รยางค์มี 2 คู่ คือ Globba siamensis (Hemsl.) Hemsl. ส่วนกลุ่มที่ 2 เกสรเพศผู้ที่เป็นหมัน (Staminode) มีลักษณะแนบลงกับหลอดกลีบดอก (Floral tube) รยางค์มี 2 คู่ หรือไม่มีรยางค์ คือ Globba laeta K. Larsen Globba sp. และ Curcuma angustifolia Roxb. ทั้งนี้ทั้งนั้นเครื่องหมายโมเลกุลอาร์เอพีดี (RAPD) มีประโยชน์ต่อการจัดจำแนกชนิดของพืชสกุลหงส์เหินและสกุลที่ใกล้เคียงได้

References

เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์, สุนิสา แสงวิโรจน์ภัทร์, ปราโมทย์ ไตรบุญ, และมาร์ค นิวแมน. (2019). ความสัมพันธ์ ทางพันธุกรรมระหว่าง Globba expansa (Zingiberaceae) และแท็กซ่าที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดในประเทศไทยโดยใช้การวิเคราะห์เครื่องหมาย HAT-RAPD. Chiang Mai Journal of Science, 46(5), 896-906.

ธัญญะ เตชะศีลพิทักษ์. (2559). การพัฒนาพืชสกุลหงส์เหินเพื่อการค้า (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พวงเพ็ญ ศิริรักษ์. (2008). การศึกษาพืชวงศ์ขิง (Zingiberaceae) ในประเทศไทย. NU International journal of Science, 5(2), 119–128.

วันเพ็ญ มานะกุล. (2562). โฆษณาคำขอให้ออกหนังสือรับรองพันธุ์พืชขึ้นทะเบียนตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518. (ประกาศกรมวิชาการเกษตร) กรมวิชาการเกษตร, สระบุรี.

วรรณวิภา ไชยสงคราม. (2559). ความหลากหลายของพืชวงศ์ขิงและพืชวงศ์ถั่ว ในศูนย์การศึกษาสามพร้าว มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. อุดรธานี: ศักดิ์ศรีอักษรการพิมพ์.

ศุภฤกษ์ บวรภิญโญ. (2563). ประสิทธิภาพของกระชายขาวต้าน COVID-19. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.

สุชาดา สุขหร่อง. (2553). ลายพิมพ์ดีเอ็นเอของพืชสมุนไพร: วิธีวิเคราะห์ การใช้ประโยชน์ตัวอย่างจากงานวิจัยและเทคนิคพื้นฐานทางชีววิทยาโมเลกุล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

สุรินทร์ ปิยะโชคนากุล. (2545). จีโนมและเครื่องหมายดีเอ็นเอ ปฏิบัติการอาร์เอพีดีและเอเอฟแอลพี.กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุรินทร์ ปิยะโชคนากุล. (2552). เครื่องหมายดีเอ็นเอ:จากพื้นฐานสู่การประยุกต์. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สิริพร แจ้งสุทธิวรวัฒน์. (2544). การจำแนกปอสาโดยเทคนิคพันธุศาสตร์โมเลกุล. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุรพล แสนสุข, ปิยะพร แสนสุข, และณชยุต จันท์โชติกุล. (2017). ความหลากหลายและการใช้ประโยชน์พื้นบ้าน ของพืชวงศ์ขิง ในจังหวัดหนองคาย ประเทศไทย. วารสารวิทยาศาสตร์ มข., 45(3), 574-594.

Doyle, J.J,& Doyle, J.L. (1987).A rapid DNA isolation procedure for small quantities of fresh leaf tissue. Phytochemical bulletin, 19(1), 11-15.

Larsen, K., & Larsen, S.S. (2006). Gingers of Thailand. Chiamg Mai: Queen Sirikit Botanic Garden (QSBG).

Nei, M.,& Li, W.H. (1979). Mathematical models for studying genetic variation in term of restriction endonucleases. Proc. Natl. Acad. Sci, 76, 5268-5273.

Williams, K.J., Kress W.J., Manos P.S., & Am. J. (2004). The phylogeny, evolution and classification of

the genus Globba and tribe Globbeae (Zingiberaceae). Bot., 91(1), 100-114.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-24

How to Cite

ปัญจันทร์สิงห์ ท., มงคลสวัสดิ์ ว., บุญรักษา ส. ., & เป็นสุข ว. . (2022). ความหลากหลายทางพันธุกรรมของพืชบางชนิดในสกุลหงส์เหิน ที่พบในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ศูนย์การศึกษาสามพร้าวโดยการใช้เครื่องหมายโมเลกุลอาร์เอพีดี. PSRU Journal of Science and Technology, 7(2), 30–41. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/Scipsru/article/view/247928

ฉบับ

บท

บทความวิจัย